วารสารปี-40-ฉบับที่-3-resize

การประเมิ นขณะเรี ยนรู้ 172 The Journal of the Royal Society of Thailand Vol. 40 No. 3 Jul-Sep 2015 จากตัวอย่างที่กล่าวข้างต้นจะเห็นได้ว่า การส่งเสริมให้นักเรียนจัดท� ำรูบริกส์การประเมิน และ ใช้รูบริกส์ในการประเมินผลงานของตนเองและของเพื่อน เป็นเทคนิคหนึ่งในการประเมินขณะเรียนรู้ ซึ่งครูได้บูรณาการเข้าไปในการสอนอย่างกลมกลืนเป็นเนื้อเดียวกันกับกิจกรรมการเรียนรู้สาระที่ก� ำหนด ๙. บทสรุป การประเมินขณะเรียนรู้เป็นการประเมินที่จัดอยู่ในประเภทของการประเมินเพื่อพัฒนา (formative assessment) ซึ่งเป็นการประเมินระหว่างการเรียนรู้ เพื่อช่วยให้ผู้เรียนตระหนักรู้ในกระบวนการเรียนรู้ และความก้าวหน้าในการเรียนรู้ของตน โดยผู้เรียนเป็นผู้ประเมินตนเองและประเมินเพื่อน และใช้ผล การประเมินในการก� ำหนดเป้าหมายการเรียนรู้ของตน วางแผนการพัฒนา เลือกกลยุทธ์ในการพัฒนา ด� ำเนินการพัฒนา และควบคุมก� ำกับตนเองในการเรียนรู้ให้ก้าวหน้าไปสู่เป้าหมายที่ต้องการ การประเมิน ขณะเรียนรู้ได้รับความส� ำคัญเพิ่มขึ้นมากจากอดีต เนื่องจากมีงานวิจัยสนับสนุนว่า การตระหนักรู้ใน กระบวนการเรียนรู้ และความก้าวหน้าในการเรียนรู้ของตนเป็นแรงจูงใจที่มีอิทธิพลต่อผู้เรียนในการเรียนรู้ มากกว่าผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ในการประเมินขณะเรียนรู้ ผู้เรียนมีบทบาทในการตรวจสอบกระบวนการเรียนรู้ คิดสะท้อน ประสบการณ์การเรียนรู้ของตน และประเมินตนเองรวมทั้งเพื่อน แล้วน� ำผลการประเมินไปใช้ในการก� ำหนด เป้าหมาย วางแผนการเรียนรู้ และควบคุมก� ำกับการเรียนรู้ของตนในขั้นต่อไป จนกระทั่งบรรลุเป้าหมาย การเรียนรู้ ส่วนผู้สอนมีบทบาทในการกระตุ้นการคิดของผู้เรียน สร้างความรู้ความเข้าใจให้แก่ผู้เรียน เกี่ยวกับการตระหนักรู้ในการคิด กลยุทธ์ในการเรียนรู้ การควบคุมก� ำกับตนเอง วิธีการประเมินตนเอง วิธีการประเมินเพื่อน การให้และรับข้อมูลย้อนกลับ รวมทั้งช่วยเหลือผู้เรียนในการก� ำหนดเป้าหมาย วางแผนและพัฒนาการเรียนรู้ ติดตามการควบคุมก� ำกับตนเองในการเรียนรู้และเก็บข้อมูลหลักฐาน การเรียนรู้ของผู้เรียน กลยุทธ์ วิธีการ และเทคนิคในการประเมินตนเองและประเมินเพื่อนมีหลากหลาย เช่น การตั้ง ค� ำถามตรวจสอบการเรียนรู้ของตน การเขียนข้อความสั้น ๆ สะท้อนความคิดความรู้สึก การสร้างและ ใช้รูบริกส์ในการประเมิน การเขียนบันทึกการเรียนรู้ การประเมินตนเองจากแฟ้มสะสมงาน การให้ข้อมูล ย้อนกลับแบบแซนด์วิช เทคนิคถามเอง-ตอบเอง เทคนิค ICE เทคนิคสัญญาณไฟจราจร เทคนิคการใช้ผัง กราฟิกแบบต่าง ๆ เทคนิค feedback strips เทคนิค feedback buddy และเทคนิค peer feedback protocols การประเมินที่ดีจะต้องบูรณาการไปกับการสอนให้ประสานกลมกลืนเป็นเนื้อเดียวกัน ดังนั้น ครู จึงควรออกแบบกิจกรรมการประเมินให้เป็นส่วนหนึ่งของกิจกรรมการเรียนการสอน ให้ผู้เรียนมีการประเมิน ตนเองระหว่างเรียน ขณะท� ำกิจกรรมการเรียนการสอน กลยุทธ์ วิธีการ และเทคนิคต่าง ๆ ดังกล่าวข้างต้น

RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=