วารสารปี-40-ฉบับที่-3-resize

171 รองศาสตราจารย์ ดร.ทิ ศนา แขมมณี วารสารราชบัณฑิตยสภา ปีที่ ๔๐ ฉบับที่ ๓ ก.ค.-ก.ย. ๒๕๕๘ ๘. การบูรณาการประเมินขณะเรียนรู้ในกิจกรรมการเรียนการสอน จากสาระที่กล่าวไว้ในหัวข้อ ๖ และ ๗ จะเห็นได้ว่า มีกลยุทธ์ วิธีการ และเทคนิคหลากหลาย ที่ครู/ผู้สอนสามารถน� ำมาใช้ในการประเมินขณะเรียนรู้ ซึ่งลักษณะของการประเมินที่ดี ก็คือ การบูรณาการ การประเมินและการสอนให้ประสานกลมกลืนเป็นเรื่องหรือเป็นเนื้อเดียวกัน ครู/ผู้สอนที่มีความเข้าใจใน วัตถุประสงค์และคุณสมบัติหรือลักษณะของการประเมินขณะเรียนรู้สามารถเพิ่มการประเมินขณะเรียนรู้ เข้าไปในวัตถุประสงค์ของการเรียนการสอน และออกแบบการเรียนการสอนให้ครอบคลุมวัตถุประสงค์ ซึ่งจะช่วยให้การประเมินขณะเรียนรู้รวมเป็นเนื้อเดียวกันกับกิจกรรมการเรียนการสอน เพื่อช่วยให้ครู/ผู้สอนมีความเข้าใจในค� ำอธิบายข้างต้นชัดเจนขึ้น และเห็นแนวทางในการบูรณาการ การประเมินกับการสอน จึงจะขอยกตัวอย่างให้เห็นเป็นรูปธรรม ดังนี้ ในการสอนภาษาไทยในหัวข้อ “การเขียนเรียงความ” ให้แก่นักเรียนชั้นมัธยมศึกษา ครูต้องการ ให้นักเรียนเขียนเรียงความให้น่าสนใจ และมีคุณสมบัติตามหลักการเขียนเรียงความที่ดี โดยครูต้องการ ส่งเสริมให้นักเรียนใช้ความคิดให้มากขึ้น เพื่อให้เกิดความเข้าใจและจดจ� ำได้มากขึ้น ดังนั้นแทนที่ครูจะ บอกหลักการเขียนเรียงความให้แก่นักเรียนตรง ๆ ครูเลือกใช้วิธีสอนแบบอุปนัย โดยให้นักเรียนวิเคราะห์ ตัวอย่างเรียงความทั้งที่ดีและไม่ดี และสรุปหลักการเขียนเรียงความที่ดีจากตัวอย่างนั้นได้ด้วยตนเอง การ ที่นักเรียนได้วิเคราะห์หาจุดดี จุดด้อยของตัวอย่างที่ให้ และสรุปได้ด้วยตนเองนี้ ย่อมช่วยให้นักเรียนเกิด ความเข้าใจในเรื่องนั้นมากขึ้น หลังจากได้ข้อสรุปหลักการเขียนเรียงความที่ดีแล้ว ครูจึงให้นักเรียนฝึกปฏิบัติ การเขียนเรียงความในหัวข้อใดหัวข้อหนึ่งให้มีคุณสมบัติตามหลักการที่สรุปได้ ซึ่งโดยทั่วไปครูจะเป็นผู้ตรวจ ให้คะแนน และให้ข้อเสนอแนะแก่นักเรียน แต่ในกรณีนี้ครูเห็นว่า ควรส่งเสริมให้นักเรียนได้ประเมินตนเอง เพราะจะช่วยให้นักเรียนค้นพบข้อบกพร่องของตนด้วยตัวเอง ซึ่งจะเป็นแรงจูงใจให้นักเรียนมีการตั้งเป้า หมายและด� ำเนินการปรับปรุงและพัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่อง ดังนั้น หลังจากนักเรียนสรุปหลักการเขียน เรียงความได้แล้ว ครูจึงเพิ่มกิจกรรมให้นักเรียนร่วมกันจัดท� ำรูบริกส์ในการประเมินเรียงความ โดยอาศัย หลักการเขียนเรียงความที่สรุปได้ การได้จัดท� ำรูบริกส์ประเมินเรียงความนี้ จะช่วยให้นักเรียนตระหนัก รู้ความคาดหวังหรือเกณฑ์ประเมินความส� ำเร็จ ท� ำให้สามารถก� ำหนดเป้าหมายการเรียนรู้ของตน และ หาวิธีการที่จะบรรลุเป้าหมายนั้น เช่น ถ้าต้องการจะเขียนเรียงความให้มีคุณภาพดีมากจะต้องท� ำอะไรบ้าง อย่างไร จึงจะไปถึงเป้าหมายนั้น หลังจากนักเรียนจัดท� ำรูบริกส์ได้แล้ว (โดยครูอาจต้องสอนวิธีการท� ำและคอยให้ค� ำแนะน� ำ) จึงให้ นักเรียนลงมือเขียนเรียงความ แล้วใช้รูบริกส์ที่จัดท� ำไว้แล้วประเมินเรียงความของตนเอง ต่อไปจึงให้จับคู่ กับเพื่อนแลกเปลี่ยนเรียงความกันอ่าน แล้วประเมินเรียงความของเพื่อน หลังจากนั้นให้นักเรียนน� ำผลการ ประเมินทั้งของตนเองและของเพื่อนมาใช้ในการปรับปรุงและพัฒนาการเขียนเรียงความต่อไป

RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=