วารสารปี-40-ฉบับที่-3-resize

169 รองศาสตราจารย์ ดร.ทิ ศนา แขมมณี วารสารราชบัณฑิตยสภา ปีที่ ๔๐ ฉบับที่ ๓ ก.ค.-ก.ย. ๒๕๕๘ ๒) ไม่ติโดยใช้อารมณ์ หรือขณะที่ก� ำลังมีอารมณ์โกรธ ไม่พอใจ ไม่ใช้การติเป็นการ ระบายอารมณ์ ๓) ในการติ ไม่ควรใช้ค� ำพูดในเชิงตัดสินบุคคล (judgmental) ควรระบุหรือบอก พฤติกรรมที่บุคคลนั้นแสดงออก โดยอธิบายว่า เป็นปัญหาอย่างไร และเสนอแนะพฤติกรรมที่ต้องการให้ เกิดขึ้น รวมทั้งผลดีที่จะได้รับหากมีปรับพฤติกรรม ๔) ในการติ ผู้ติอาจให้ค� ำแนะน� ำในการปรับปรุงพฤติกรรมได้ แต่ควรให้ในลักษณะ เสนอแนะ ไม่ใช่การบังคับ ๕) ควรตรวจสอบความเข้าใจของผู้รับข้อมูลย้อนกลับว่า เข้าใจตรงตามความหมาย และเจตนาของผู้ให้หรือไม่ หากไม่ตรง ควรปรับความเข้าใจให้ตรงกัน ๖) เมื่อให้ข้อมูลย้อนกลับและค� ำแนะน� ำแล้ว ผู้ให้ควรให้อิสระแก่ผู้รับ ในการ พิจารณาที่จะท� ำหรือไม่ท� ำตามค� ำแนะน� ำ ไม่ควรโกรธหรือไม่พอใจหากผู้รับไม่ท� ำตามค� ำแนะน� ำ ๗.๓ หลักการรับข้อมูลย้อนกลับ การให้ข้อมูลย้อนกลับจะได้ผลดีหากให้อย่างเหมาะสม การรับข้อมูลย้อนกลับก็เช่นเดียวกัน ควรรับอย่างเหมาะสมจึงจะเกิดผลดี หลักทั่วไปในการรับข้อมูลย้อนกลับทั้งทางบวกและทางลบ มีดังนี้ ๗.๓.๑ ควรเปิดใจกว้าง รับฟังข้อมูลด้วยใจเป็นกลาง ไม่โกรธหรือไม่พอใจผู้ให้ข้อมูลย้อนกลับ ๗.๓.๒ ไม่ปฏิเสธหรือป้องกันตัวเอง ควรรับฟังให้จบความ ๗.๓.๓ ตระหนักว่า “คนเรามีทั้งส่วนดีส่วนเสียเป็นธรรมดา” และ “คนทุกคนมีจุดบอด ที่ตนมองไม่เห็น แต่คนอื่นเห็น” การที่คนอื่นให้ข้อมูลย้อนกลับแก่เรา ช่วยให้เราเห็นจุดบอดของเรา ถ้าเป็น ส่วนดีเราควรภูมิใจและรักษาความดีนั้นไว้ ถ้าเป็นส่วนเสียก็จะเป็นโอกาสให้เราได้ปรับปรุงพัฒนาตนเอง ให้ดีขึ้น ข้อมูลย้อนกลับจึงเป็นประโยชน์ต่อเรามาก ๗.๓.๔ เมื่อรับฟังข้อมูลย้อนกลับแล้ว มีความสงสัยไม่เข้าใจอะไร ควรซักถามให้เข้าใจชัดเจน ๗.๓.๕ น� ำข้อมูลที่ได้รับมาพิจารณาด้วยใจเป็นกลาง คิดไตร่ตรองโดยอาจจ� ำเป็นต้องหา ข้อมูลเพิ่มเติมและตัดสินใจว่า จะใช้ประโยชน์จากข้อมูลย้อนกลับหรือไม่ อย่างไร ๗.๔ วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูล และเครื่องมือในการเก็บข้อมูล วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูลมีหลายวิธี เช่น การสังเกต การสัมภาษณ์ การอภิปราย การร่วมกิจกรรม การศึกษาผลงาน/ชิ้นงาน การอ่านบันทึกสะท้อนความคิด ซึ่งการจะเลือกใช้วิธีการใดนั้น ควรเลือกให้เหมาะสมกับวัตถุประสงค์และสถานการณ์

RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=