วารสารปี-40-ฉบับที่-3-resize

7 ศาสตราจารย์กิ ตติ คุณ ดร.ปิยนาถ บุนนาค วารสารราชบัณฑิตยสภา ปีที่ ๔๐ ฉบับที่ ๓ ก.ค.-ก.ย. ๒๕๕๘ ในเรื่องการพัฒนาของชุมชน นางสาวเงิน ตุลีศรี สมาชิกโครงการศิลปาชีพ อ� ำเภอปลาปาก จังหวัดนครพนม กล่าวว่า ...มีถนน ชาวบ้านก็พอมีพอกิน มีความภูมิใจให้ชาวบ้าน ชาวบ้านก็ท� ำงาน ร่วมกันได้… ๗ นางล� ำไพ สมาชิกศูนย์ศิลปาชีพบ้านจาร อ� ำเภอบ้านม่วง จังหวัดสกลนคร มีความเห็นว่า ศูนย์ศิลปาชีพนั้น “ช่วยเหลือเยาวชนบ้านนอกให้มีงานท� ำ” ๘ (๒) ส่งเสริมภูมิปัญญาท้องถิ่น ชาวบ้านในภาคอีสานมีฝีมือด้านศิลปะการทอผ้ามาช้านาน การทอผ้าไหมมัดหมี่ ผ้าไหมหางกระรอก ผ้าไหมขิด และผ้าไหมแพรวา นับว่าเป็นศิลปะชั้นสูง เพราะมีกรรมวิธีสลับซับซ้อน การทอผ้าแต่ละผืนต้องใช้เวลาและความประณีต จัดเรียงเส้นไหมให้สม�่ ำเสมอคงที่ ในการทอต้องเรียงล� ำดับ ก่อนหลังเพื่อให้เกิดลวดลายสวยงาม นอกจากนี้ยังมีความสามารถในการออกแบบและจดจ� ำลวดลายได้ อย่างแม่นย� ำ โดยไม่ต้องอาศัยเครื่องมือคิดค� ำนวณใด ๆ ดังนั้น การที่สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถทรงส่งเสริมศิลปะการทอผ้าไหม ในภาคอีสาน เท่ากับได้ทรงเชิดชูภูมิปัญญาอันน่าภูมิใจของชาวอีสานให้เป็นที่รับรู้กันทั่วไป นอกจากจะ โปรดเกล้าฯ ให้ทอผ้าไหมด้วยลวดลายดั้งเดิมอันเป็นเอกลักษณ์ของท้องถิ่นแล้ว ยังโปรดให้เจ้าหน้าที่ ศิลปาชีพกระตุ้นให้ชาวบ้านเสาะหาลายเก่า ๆ น� ำมาใช้เป็นแม่แบบในการทอ เช่น ราษฎรที่บ้านน้อย วัดถ�้ ำกลองเพล จังหวัดอุดรธานี เมื่อทราบพระราชด� ำริเรื่องนี้ ก็ได้ไปศึกษาลวดลายเก่า ๆ จากหมอนขิด ที่ถวายวัดไปแล้ว หมอนขิดเป็นแหล่งสะสมลายเก่าหลากหลาย เนื่องจากค่านิยมดั้งเดิมที่ว่า การทอผ้า ลายขิดต้องทอหลายลายในผืนเดียวกันเพื่อแสดงฝีมือของผู้ทอ และการท� ำหมอนขิดถวายวัดก็จะต้องท� ำ อย่างประณีตบรรจงเพื่อผลบุญของผู้ถวาย ๙ นอกจากนี้ การที่สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ โปรดเกล้าฯ ให้ราษฎรในโครงการส่งเสริมศิลปาชีพใช้ไหมพื้นเมืองด้วยเหตุผล ๒ ข้อ คือ ข้อแรกการใช้ไหม พื้นเมืองในการทอท� ำให้ผ้าไหมของไทยมีเอกลักษณ์ กล่าวคือ ไหมพื้นเมืองมีคุณสมบัติเป็นเงามันเลื่อม มีปุ่มปม ย้อมติดสีได้ดี มีความยืดหยุ่น หากต้องการผ้าทอที่ยังคงเอกลักษณ์ของไหมไทยแต่ไม่ต้องการให้ มีปุ่มปมมากเกินไป อาจทอด้วยเส้นไหมส่วนที่สาวจากรังไหมข้างในสุด หรือที่เรียกว่า “ไหมน้อย” ก็จะ ๗ สัมภาษณ์นางสาวสายเงิน ตุลีศรี สมาชิกโครงการศิลปาชีพ ณ อ� ำเภอปลาปาก จังหวัดนครพนม ๑๐ พฤษภาคม ๒๕๓๕. ๘ สัมภาษณ์นางล� ำไพ สมาชิกโครงการศิลปาชีพบ้านจาร จังหวัดสกลนคร ๑๐ เมษายน ๒๕๓๕. ๙ สัมภาษณ์นางหนูพัน ครูฝึกไหมขิด บ้านน้อยวัดถ�้ ำกลองเพล อ� ำเภอหนองบัวล� ำภู จังหวัดอุดรธานี ๙ พฤษภาคม ๒๕๓๕.

RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=