วารสารปี-40-ฉบับที่-3-resize
การประเมิ นขณะเรี ยนรู้ 168 The Journal of the Royal Society of Thailand Vol. 40 No. 3 Jul-Sep 2015 ๗. หลักการ วิธีการ และเทคนิคในการประเมินเพื่อนขณะเรียนรู้ การประเมินขณะเรียนรู้เป็นการประเมินที่เน้นการให้ผู้เรียนประเมินตนเอง เพื่อให้เกิดการตระหนัก รู้ในกระบวนการคิดและกระบวนการเรียนรู้ของตนเอง ท� ำให้ผู้เรียนเห็นจุดที่เป็นปัญหาอุปสรรคในการ เรียนรู้ของตน อย่างไรก็ตาม การประเมินตนเองตามการรับรู้ของตนอาจไม่สมบูรณ์ เพราะทุกคนมีจุดบอด ที่ตนอาจมองไม่เห็นหรือตระหนักรู้ แต่คนอื่นกลับมองเห็น การได้รับข้อมูลย้อนกลับตามการรับรู้ของผู้อื่น จึงมีความส� ำคัญเช่นกัน หากผู้เรียนได้รับข้อมูลจากทั้ง ๒ แหล่ง คือทั้งจากการรับรู้ของตนเองและผู้อื่น ก็จะช่วยให้ผู้เรียนได้รับข้อมูลที่สมบูรณ์ขึ้น การประเมินตนเองก็จะมีความถูกต้องตามความเป็นจริงมากขึ้น ด้วยเหตุนี้ ในการประเมินขณะเรียนรู้ ครู/ผู้สอนจึงควรส่งเสริมให้ผู้เรียนมีการประเมินตนเองและ ประเมินเพื่อน เพื่อที่ผู้เรียนแต่ละคนจะได้รับข้อมูลย้อนกลับจากผู้อื่น ซึ่งสามารถน� ำมาพิจารณาประกอบ กับการประเมินตนเอง อย่างไรก็ตาม ในการประเมินเพื่อน ครู/ผู้สอนจ� ำเป็นต้องให้ความรู้ ความเข้าใจ และ ฝึกทักษะการให้ข้อมูลย้อนกลับ (feedback) อย่างเหมาะสม เพราะหากไม่เหมาะสมอาจเกิดผลข้างเคียง ในทางลบตามมา ผู้เรียนจึงควรมีความเข้าใจในหลักการและวิธีการประเมินเพื่อนอย่างเหมาะสม ดังนี้ ๗.๑ หลักการในการประเมินเพื่อน ๗.๑.๑ การประเมินจ� ำเป็นต้องมีเกณฑ์ที่เหมาะสมในการประเมิน และเกณฑ์ที่ใช้ควรเป็น เกณฑ์ที่ผู้ประเมินและผู้รับการประเมินยอมรับ ๗.๑.๒ ควรมีการรวบรวมข้อมูลเพื่อใช้ในการประเมิน โดยใช้วิธีการและเครื่องมือที่เหมาะสม ๗.๑.๓ เมื่อมีการประเมินควรประเมินตามเกณฑ์ที่ตั้งไว้ โดยมีหลักฐาน ข้อมูลสนับสนุน อนึ่ง มีข้อสังเกตที่พบจากงานวิจัยว่า ผู้เรียนเพศชายมักประเมินเพื่อนรุนแรงกว่าประเมิน ตนเอง ส่วนผู้เรียนเพศหญิงมักประเมินตนเองรุนแรงกว่าประเมินเพื่อน ๗.๒ หลักการให้ข้อมูลย้อนกลับ (feedback) การให้ข้อมูลย้อนกลับ โดยทั่วไปมีทั้งทางลบและทางบวกซึ่งจะให้ผลดี หากมีลักษณะดังนี้ ๗.๒.๑ การให้ข้อมูลย้อนกลับทางบวก หรือการชม หรือการเสริมแรง มีหลักดังนี้ ๑) ชมตรงตามความจริง ระบุพฤติกรรมหรือการกระท� ำที่เกิดขึ้นจริง ๒) ชมด้วยความจริงใจ ไม่ใช่แสร้งชมหรือชมเพื่อผลประโยชน์บางอย่าง ๓) ชมให้พอดี ไม่มากจนเกินไป ไม่น้อยจนเกินไป และไม่บ่อยจนเกินไป ๔) ชมให้เหมาะกับกาลเทศะ ชมให้ดูกาลเทศะต้องไม่ก่อให้เกิดผลเสียแก่ผู้รับค� ำชม ๗.๒.๒ การให้ข้อมูลย้อนกลับทางลบหรือการติ มีหลักดังนี้ ๑) ติด้วยความหวังดี เพื่อให้เกิดประโยชน์แก่ผู้รับค� ำติ
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=