วารสารปี-40-ฉบับที่-3-resize
การประเมิ นขณะเรี ยนรู้ 164 The Journal of the Royal Society of Thailand Vol. 40 No. 3 Jul-Sep 2015 หรือมาตรฐานนั้น และเมื่อสร้างรูบริกส์แล้วผู้เรียนควรได้ใช้รูบริกส์นั้นในการประเมินตนเองและเพื่อน รูบริกส์จึงเป็นเครื่องมือที่ช่วยทั้งในด้านกระบวนการเรียนรู้และด้านการประเมินการเรียนรู้ของผู้เรียน ๖.๔ การเขียนบันทึกการเรียนรู้ (learning logs, learning journals) การเขียนบันทึกการเรียนรู้เป็นกลยุทธ์หนึ่งที่สามารถช่วยให้ผู้เรียนได้ทบทวน และเกิด การตระหนักรู้ในกระบวนการเรียนรู้ของตน ท� ำให้มองเห็นประเด็นที่ควรปรับปรุงพัฒนา น� ำไปสู่การ วางแผนการพัฒนา แสวงหากลยุทธ์มาใช้ในการพัฒนา และด� ำเนินการพัฒนาต่อไป ครู/ผู้สอนสามารถใช้กลยุทธ์นี้ได้โดยการมอบหมายให้ผู้เรียนเขียนบันทึกการเรียนรู้ หลังจากการเรียนรู้บทเรียน หลังจากการท� ำงานชิ้นใดชิ้นหนึ่ง หลังจากการท� ำงานกลุ่มร่วมกับเพื่อน หรือ หลังจากท� ำกิจกรรมใด ๆ โดยการคิดสะท้อน (reflect) ประสบการณ์และการเรียนรู้ต่าง ๆ ที่ได้รับ วิเคราะห์ ประเด็นที่ต้องการท� ำความเข้าใจ วิเคราะห์กระบวนการคิดและประเมินการเรียนรู้ของตน แล้วจึงก� ำหนด ประเด็น เป้าหมาย และกลยุทธ์ที่จะใช้ในการพัฒนาต่อไป ๖.๕ การประเมินตนเองจากแฟ้มสะสมผลงาน (portfolio) ในกระบวนการที่ผู้เรียนเลือกผลงานของตนเพื่อบรรจุในแฟ้มสะสมผลงานของตน ผู้เรียน สามารถประเมินตนเองได้โดยใช้ค� ำถาม เช่น ๑) ชิ้นงานที่เลือกดีกว่าชิ้นงานอื่นอย่างไร? ๒) ฉันท� ำงานชิ้นนี้อย่างไร? ๓) ฉันได้พบอุปสรรคหรือปัญหาอะไรในการท� ำงานชิ้นนี้? ๔) ฉันได้แก้ปัญหานั้นอย่างไร? ๕) ฉันตั้งใจจะท� ำอะไรต่อไป? ๖) ฉันจะท� ำสิ่งนั้นอย่างไร? ฯลฯ ๖.๖ การประเมินตนเองโดยใช้เทคนิคให้ข้อมูลย้อนกลับแบบแซนด์วิช (feedback sandwich) การให้ข้อมูลย้อนกลับแก่ตนเองโดยใช้เทคนิคแซนด์วิช ก็คือ การให้ข้อมูลทางบวกก่อน เพื่อช่วยให้เกิดความรู้สึกที่ดี แล้วจึงให้ข้อมูลทางลบซึ่งอาจจะท� ำให้ใจเสียไปบ้าง แต่สุดท้ายก็ให้สิ่งดี ๆ ที่จะช่วยให้เกิดก� ำลังใจที่ดีต่อไป ดังตัวอย่าง ข่าวดี (good news) เรื่องที่ฉันท� ำได้ดี คือ..... ข่าวร้าย (bad news) แต่สิ่งที่ฉันคิดว่า น่าจะปรับเปลี่ยนหรือท� ำให้ดีกว่านี้ คือ..... ข่าวดี (good news) ฉันสามารถปรับปรุงหรือท� ำให้ดีกว่านี้ได้ โดยใช้วิธี.....
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=