วารสารปี-40-ฉบับที่-3-resize
161 รองศาสตราจารย์ ดร.ทิ ศนา แขมมณี วารสารราชบัณฑิตยสภา ปีที่ ๔๐ ฉบับที่ ๓ ก.ค.-ก.ย. ๒๕๕๘ ๔.๒ ผู้เรียนรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับการเรียนรู้ของตนเองและเพื่อน และประเมินการเรียนรู้ของ ตนเองและเพื่อน โดยใช้กลยุทธ์และวิธีการต่าง ๆ เช่น การตั้งค� ำถามตรวจสอบการเรียนรู้ของตน การตอบ ค� ำถามด้วยตนเอง การคิดสะท้อนประสบการณ์การเรียนรู้ รวมทั้งการพัฒนาเครื่องมือและใช้เครื่องมือ ในการตรวจสอบการเรียนรู้ของตน ๔.๓ ผู้เรียนใช้ผลการประเมินในการก� ำหนดเป้าหมาย และเกณฑ์การประเมินความส� ำเร็จ ในการเรียนรู้ขั้นต่อไปร่วมกับครู/ผู้สอน ๔.๔ ผู้เรียนวางแผนการเรียนรู้ เลือกกลยุทธ์ และวิธีการที่จะน� ำไปสู่เป้าหมาย ๔.๕ ผู้เรียนติดตามก� ำกับการเรียนรู้ของตนเองให้เป็นไปตามแผน การที่ผู้เรียนได้ประเมินกระบวนการเรียนรู้ของตนเอง และควบคุมก� ำกับการเรียนรู้ของตนเองนี้ สามารถช่วยพัฒนาผู้เรียนให้มีความรับผิดชอบในการเรียนรู้และน� ำตนเองในการเรียนรู้ได้ นอกจากนั้น ยังเพิ่มความสามารถในการคิดสะท้อน (reflective thinking) และเพิ่มระดับความเข้าใจในสาระที่เรียน ได้ด้วย ๕. บทบาทครู/ผู้สอนในการประเมินขณะเรียนรู้ บทบาทส� ำคัญของครู/ผู้สอนในการประเมินขณะเรียนรู้ มีดังนี้ ๕.๑ ให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในการก� ำหนดเป้าหมาย (learning goals) และเกณฑ์การประเมิน ความส� ำเร็จในการเรียนรู้ (success criteria) ๕.๒ ออกแบบการสอนให้ผู้เรียนมีการประเมินตนเอง และประเมินเพื่อนขณะเรียนรู้ โดยใช้เทคนิค และเครื่องมือต่างๆ ๕.๓ สร้างความรู้ความเข้าใจให้แก่ผู้เรียนเกี่ยวกับการรู้คิด (knowledge of cognition) เช่น ความรู้เกี่ยวกับกลยุทธ์ในการเรียนรู้ และการใช้กลยุทธ์ต่าง ๆ อย่างเหมาะสม ความรู้เกี่ยวกับการวิเคราะห์ ตนเองและปัจจัยต่าง ๆ ที่มีผลต่อพฤติกรรมและการกระท� ำของตน ๕.๔ สร้างความรู้ความเข้าใจให้แก่ผู้เรียนเกี่ยวกับการคิดเชิงอภิมานและกลยุทธ์ในการติดตาม ก� ำกับตนเอง รวมทั้งวิธีการประเมินตนเอง วิธีการประเมินเพื่อน วิธีการให้ การรับ การใช้ข้อมูลย้อนกลับ และวิธีการให้ข้อเสนอแนะ ๕.๕ กระตุ้นให้ผู้เรียนตรวจสอบการเรียนรู้และประเมินการเรียนรู้ของตน โดยใช้เทคนิคและ วิธีการต่าง ๆ เช่น การใช้ค� ำถามชี้แนะทางปัญญา (cognitive guided questions) การสร้างและการใช้ เครื่องมือตรวจสอบการเรียนรู้ และการสร้างเกณฑ์การประเมินร่วมกัน
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=