วารสารปี-40-ฉบับที่-3-resize
159 รองศาสตราจารย์ ดร.ทิ ศนา แขมมณี วารสารราชบัณฑิตยสภา ปีที่ ๔๐ ฉบับที่ ๓ ก.ค.-ก.ย. ๒๕๕๘ ให้ผู้เรียนสามารถน� ำตนเองในการเรียนรู้และรับผิดชอบการเรียนรู้ของตนเองได้ ข้อค้นพบนี้ได้รับการ สนับสนุนจากผลงานวิจัยจ� ำนวนมาก ซึ่งได้ข้อสรุปที่สอดคล้องกันว่า ผู้เรียนเกิดแรงจูงใจในการเรียนรู้ จากการเห็นช่องทางความก้าวหน้าของตนในการเรียนรู้มากกว่าการรู้คะแนนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ๒.๒ การประเมินขณะเรียนรู้เป็นแนวคิดที่ได้รับอิทธิพลจากทฤษฎีการคิดเกี่ยวกับการรู้คิด หรือ การคิดเชิงอภิมาน (metacognition) ซึ่งกล่าวว่า บุคคลที่สามารถตระหนักรู้ถึงการคิดของตนและมีการ คิดเกี่ยวกับการคิดของตน จะสามารถประเมินตนเอง และน� ำผลการประเมินไปใช้ในการปรับเปลี่ยน และพัฒนาการเรียนรู้ของตนได้ รวมทั้งจะเกิดแรงจูงใจในการควบคุมก� ำกับตนเองให้พัฒนาก้าวหน้าไป จนกระทั่งบรรลุเป้าหมายที่ก� ำหนดไว้ บุคคลที่มีความสามารถในการคิดและการควบคุมก� ำกับตนเอง ดังกล่าว จึงมักประสบความส� ำเร็จในการเรียนรู้และการท� ำงานต่าง ๆ การคิดเชิงอภิมานมีองค์ประกอบส� ำคัญ ๓ ประการ คือ ๒.๒.๑ ความรู้เกี่ยวกับการคิดเชิงอภิมาน (metacognitive knowledge or awareness) มี ๓ ด้าน คือ ๑) ความรู้ด้านข้อมูล ข้อเท็จจริง (factual or declarative knowledge) คือ รู้ว่า มีข้อมูล ข้อเท็จจริงอะไร (what) ที่ควรน� ำมาใช้ในการคิดพิจารณา ๒) ความรู้ด้านกระบวนการหรือวิธีการ (procedural knowledge) เป็นความรู้ เชิงกลยุทธ์และวิธีการในการท� ำงาน คือรู้ว่า ควรจะท� ำอย่างไร (how) ๓) ความรู้ด้านเงื่อนไข (conditional knowledge) เป็นความรู้เกี่ยวกับเงื่อนไข การใช้ความรู้ในการท� ำงานต่าง ๆ เช่น ควรใช้ความรู้ใดกับใคร (who) ที่ไหน (where) เมื่อไหร่ (when) ท� ำไม (why) จึงจะช่วยให้การคิดการท� ำงานนั้น ๆ ประสบความส� ำเร็จ ๒.๒.๒ ความสามารถในการวางแผนควบคุมก� ำกับและประเมินการคิดเชิงอภิมานของตน (metacognitive regulation) ประกอบด้วย ๑) การวางแผน (planning) หมายถึง การคิดวางแผนงานว่า ควรจะต้องท� ำอะไร อย่างไร ท� ำไม เพื่อให้บรรลุเป้าหมายที่ก� ำหนด โดยในกระบวนการวางแผนจ� ำเป็นต้องใช้การคิดเชิงกลยุทธ์ การจัดเตรียมปัจจัยที่จ� ำเป็น และการแสวงหาทรัพยากร เทคโนโลยี เครื่องมือและวัสดุอุปกรณ์ที่เหมาะสม มาใช้ในการท� ำงาน ๒) การก� ำกับติดตาม (monitoring) หมายถึง การติดตาม ตรวจสอบการด� ำเนินงาน รวมทั้งแก้ปัญหาและอุปสรรคต่าง ๆ เพื่อให้งานเป็นไปตามแผนและบรรลุเป้าหมายที่ก� ำหนดให้ ๓) การประเมิน (evaluation) หมายถึง การตัดสินประสิทธิผลและประสิทธิภาพ ของการท� ำงานตามเกณฑ์ที่ก� ำหนด รวมทั้งกลยุทธ์และวิธีการที่ใช้ในการท� ำงาน
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=