วารสารปี-40-ฉบับที่-3-resize

การประเมิ นขณะเรี ยนรู้ 158 The Journal of the Royal Society of Thailand Vol. 40 No. 3 Jul-Sep 2015 การประเมินผลการเรียนรู้ รวบยอดช่วยให้รู้ว่า ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ได้ตามมาตรฐานที่ก� ำหนดหรือไม่ ดังนั้นจึงเป็นความจ� ำเป็นที่ครู/ผู้สอนจะต้องมีการประเมินทั้ง ๓ ประเภท เพื่อให้ได้ผลการประเมินที่สมบูรณ์ ทั้งนี้ได้มีแนวคิดใหม่ในการปรับสัดส่วนของการประเมินทั้ง ๓ ประเภท ให้เกิดความสมดุลในการประเมิน การเรียนรู้ของผู้เรียน ดังแสดงในแผนภาพที่ ๑ ต่อไปนี้ จากแผนภาพข้างต้นแสดงให้เห็นถึงแนวคิดดั้งเดิมของการประเมินทั้ง ๓ ประเภท ที่ให้ความ ส� ำคัญกับการประเมินผลการเรียนรู้ (AoL) มากที่สุด รองลงมาคือ การประเมินเพื่อการเรียนรู้ (AfL) และ น้อยที่สุดคือ การประเมินขณะเรียนรู้ (AaL) แต่แนวคิดใหม่ได้ปรับเปลี่ยนให้ความส� ำคัญกับ การประเมิน ขณะเรียนรู้ มากที่สุด ส่วน การประเมินผลการเรียนรู้ ให้ไปแทนที่ในต� ำแหน่งน้อยที่สุด ทั้งนี้เพราะมีงาน วิจัยที่สนับสนุนอย่างชัดเจนว่า การตระหนักรู้ถึงความก้าวหน้าของตนในการเรียนรู้จากการประเมินขณะ เรียนรู้เป็นแรงจูงใจภายในที่มีอิทธิพลต่อการเรียนรู้ของผู้เรียนมากกว่าผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน (Black, P. and Wiliam, D., 1998) ด้วยเหตุที่แนวคิดทาง การประเมินการเรียนรู้ ได้ปรับเปลี่ยนไป ให้ความส� ำคัญกับ การประเมิน ขณะเรียนรู้ มากขึ้น ครู/ผู้สอนจึงจ� ำเป็นต้องศึกษาและสร้างความเข้าใจในเรื่องนี้ให้มากขึ้น บทความนี้ จึงเน้นการให้หลักการ แนวปฏิบัติ และเทคนิคต่าง ๆ ในการประเมินขณะเรียนรู้ ซึ่งครู/ผู้สอนสามารถ น� ำไปใช้หรือบูรณาการในการจัดการเรียนการสอนของตน ๒. แนวคิดพื้นฐานของการประเมินขณะเรียนรู้ (Assessment as Learning: AaL) ๒.๑ การประเมินขณะเรียนรู้มีรากฐานแนวคิดมาจากทฤษฎีและงานวิจัยเกี่ยวกับการเรียนรู้ ของมนุษย์ที่ว่า การเรียนรู้ไม่ได้เป็นเพียงกระบวนการรับความรู้จากผู้รู้ตามความเชื่อเดิมเท่านั้น แต่เป็น กระบวนการทางปัญญาหรือกระบวนการทางสมองที่ผู้เรียนต้องเป็นผู้ด� ำเนินการเอง โดยน� ำความรู้หรือ ข้อมูลที่รับเข้ามา ไปเชื่อมโยงกับความรู้เดิมหรือไปจัดกระท� ำและสร้างความหมายให้เกิดขึ้น โดยอาศัย ทักษะกระบวนการทางปัญญาหรือทักษะกระบวนการคิดของตน จนเกิดเป็นความเข้าใจที่มีความหมาย ต่อตนเอง ทั้งนี้ผู้เรียนแต่ละคนสามารถสร้างความรู้ ความเข้าใจดังกล่าวได้ ด้วยวิธีการที่หลากหลาย แตกต่างกันไปตามความรู้ ประสบการณ์ ความสนใจ และวิธีการเรียนรู้ที่ตนถนัด โดยในกระบวนการสร้าง ความรู้ ความเข้าใจ หรือกระบวนการเรียนรู้นั้น หากผู้เรียนมีการตระหนักรู้ในกระบวนการคิดของตนและ ประเมินตนเองได้ ก็จะสามารถปรับเปลี่ยนวิธีการเรียนรู้และพัฒนาการเรียนรู้ของตนให้ไปสู่เป้าหมาย ที่ต้องการ การตระหนักรู้ในกระบวนการคิดของตน และความสามารถในการประเมินตนเอง จึงเป็นกุญแจ ส� ำคัญของการเรียนรู้ ท� ำให้ผู้เรียนเกิดแรงจูงใจในการเรียนรู้ มีการปรับเปลี่ยนและพัฒนาการเรียนรู้ รวมทั้งควบคุมก� ำกับตนเองให้ก้าวหน้าไปอย่างต่อเนื่อง การประเมินตนเองจึงเป็นยุทธวิธีที่ส่งเสริม

RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=