วารสารปี-40-ฉบับที่-3-resize

157 รองศาสตราจารย์ ดร.ทิ ศนา แขมมณี วารสารราชบัณฑิตยสภา ปีที่ ๔๐ ฉบับที่ ๓ ก.ค.-ก.ย. ๒๕๕๘ ๒) การประเมินขณะเรียนรู้ (Assessment as Learning: AaL) เป็นการประเมินโดยผู้เรียน ขณะด� ำเนินการเรียนรู้ เพื่อช่วยให้เกิดความตระหนักรู้ในกระบวนการคิดและกระบวนการเรียนรู้ของตน และสามารถวางแผนพัฒนาการเรียนรู้ของตนให้ก้าวหน้าไปสู่จุดมุ่งหมายที่ต้องการ เป็นการประเมินที่เน้น การให้ผู้เรียนประเมินตนเอง (self assessment) และประเมินเพื่อน (peer assessment) โดยการ ใช้เทคนิคต่าง ๆ เช่น การตั้งค� ำถามตรวจสอบการเรียนรู้ของตน และใช้ผลการประเมินในการก� ำหนด เป้าหมายและวางแผนการเรียนรู้ ครู/ผู้สอนท� ำหน้าที่กระตุ้นการคิดของผู้เรียนในการตรวจสอบการเรียนรู้ การก� ำหนดเป้าหมายการเรียนรู้ รวมทั้งการแสวงหากลยุทธ์และวิธีการในการพัฒนาการเรียนรู้ของตน ๓) การประเมินผลการเรียนรู้ (Assessment of Learning: AoL) เป็นการประเมินเพื่อ การตัดสินผลการเรียนรู้ของผู้เรียนเมื่อสิ้นสุดการเรียน เพื่อดูว่าผู้เรียนบรรลุจุดมุ่งหมายการเรียนรู้ที่ก� ำหนด มีความรู้ ความเข้าใจ สมรรถนะและคุณลักษณะที่พึงประสงค์ตามมาตรฐานที่ก� ำหนดหรือไม่ โดยครู/ ผู้สอนเป็นผู้มีบทบาทหลักในการประเมิน การประเมินมีลักษณะเป็นการประเมินรวบยอด (summa - tive assessment) ที่ใช้จุดมุ่งหมายหรือผลลัพธ์การเรียนรู้เป็นมาตรฐานการประเมิน โดยใช้วิธีการและ เครื่องมือประเมินที่มีคุณภาพเชื่อถือได้ ผลของการประเมิน นอกจากจะใช้ตัดสินความสามารถในการเรียนรู้ ของผู้เรียนแล้ว ยังสามารถน� ำไปใช้ในการปรับปรุงและพัฒนาการเรียนการสอนได้ด้วย ครู/ผู้สอนสามารถใช้ข้อมูลจากการประเมินทั้ง ๓ ประเภทดังกล่าวในการกระตุ้นการเรียนรู้ของ ผู้เรียน (feed up) การให้ข้อมูลย้อนกลับเกี่ยวกับพฤติกรรมและผลการเรียนรู้แก่ผู้เรียน (feedback) และการกระตุ้นเพื่อต่อยอดการเรียนรู้ของผู้เรียน (feed forward) การประเมินทั้ง ๓ ประเภท ล้วนมีความส� ำคัญต่อการจัดการเรียนการสอนและการเรียนรู้ ของผู้เรียน การประเมินเพื่อการเรียนรู้ ช่วยให้ครู/ผู้สอนจัดกิจกรรมการเรียนรู้ให้เหมาะสมกับผู้เรียน การประเมินขณะเรียนรู้ช่วยให้ผู้เรียนตระหนักรู้ในกระบวนการเรียนรู้ของตน รู้จุดอ่อน จุดแข็ง และ จุดบกพร่องต่าง ๆ ท� ำให้สามารถปรับปรุงพัฒนาการเรียนรู้ของตนให้ก้าวหน้าไปสู่เป้าหมายได้ และ แผนภาพที่ ๑ แนวคิดความสมดุลในการประเมินทั้ง ๓ ประเภท (Earl, L., 2003) พีระมิดการประเมินดั้งเดิม (Traditional Assessment Pyramid) พีระมิดการประเมินที่ปรับใหม่ (Reconfigured Assessment Pyramid)

RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=