วารสารปี-40-ฉบับที่-3-resize

การประเมิ นขณะเรี ยนรู้ 156 The Journal of the Royal Society of Thailand Vol. 40 No. 3 Jul-Sep 2015 ความต้องการ วิธีการเรียนรู้ ความพร้อม ตลอดจนพื้นฐานความรู้ของผู้เรียน ข้อมูลจากการประเมินนี้ มีประโยชน์ต่อการจัดการเรียนการสอนให้เหมาะสมกับผู้เรียน ๒) การประเมินผลเพื่อพัฒนา (formative evaluation) เป็นการประเมินผลการเรียนรู้ ระหว่างทาง เพื่อให้ได้ข้อมูลย้อนกลับที่จะน� ำไปใช้ในการปรับปรุงและพัฒนากระบวนการเรียนรู้ของผู้เรียน และการปรับเปลี่ยนกลยุทธ์ในการสอนของครู/ผู้สอน ๓) การประเมินผลรวบยอดเพื่อตัดสินผล (summative evaluation) เป็นการประเมินผล การเรียนรู้ปลายทาง เพื่อตัดสินว่าหลังจากการเรียนรู้แล้วผู้เรียนสามารถบรรลุจุดมุ่งหมายของการเรียน การสอนหรือไม่ มากน้อยเพียงใด อย่างไรก็ตาม แม้ว่าทฤษฎีหรือหลักการทางการประเมินได้ระบุไว้อย่างชัดเจนแล้วว่า ครู/ผู้สอน ควรมีการประเมินอะไรและอย่างไร แต่ในทางปฏิบัติมักพบว่า การประเมินผลการเรียนรู้รวบยอด เป็นการประเมินที่มีการปฏิบัติกันมากที่สุด ในขณะที่การประเมินอีก ๒ ประเภท คือ การประเมินก่อน การเรียน และ การประเมินระหว่างทาง ยังมีการปฏิบัติจริงค่อนข้างน้อย สาเหตุที่การประเมินหลังจบบท เรียนได้รับความส� ำคัญและมีการปฏิบัติมากที่สุดก็อาจเนื่องมาจากความจ� ำเป็นที่ครู/ผู้สอนต้องรายงาน ผลการเรียนรู้ให้ผู้เรียนและผู้เกี่ยวข้องทราบ รวมทั้งผลการเรียนรู้ของผู้เรียนเป็นหลักฐานเชิงประจักษ์ ที่แสดงถึงการปฏิบัติงานของครู/ผู้สอน และคุณภาพของการจัดการศึกษาของโรงเรียน/สถานศึกษา ส่วนการประเมินก่อนเรียนและการประเมินระหว่างทางนั้นเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับตัวครู/ผู้สอนโดยเฉพาะ จึงขึ้นอยู่กับความรับผิดชอบของครูแต่ละคนที่จะตัดสินใจ ความเคลื่อนไหวทางการประเมินมีความก้าวหน้ามาตามล� ำดับ จวบจนปัจจุบัน การทบทวน กระบวนทัศน์ในการประเมิน รวมทั้งความก้าวหน้าของทฤษฎีและการวิจัยทางการเรียนการสอน ส่งผลให้ เกิดการปรับและเพิ่มเติมแนวคิดและแนวทางในการประเมินการเรียนรู้ให้มีความชัดเจนขึ้นและสมบูรณ์ขึ้น โดยมีการจัดจ� ำแนกประเภทของการประเมินการเรียนรู้ไว้ ๓ ประเภท ดังนี้ ๑) การประเมินเพื่อการเรียนรู้ (Assessment for Learning: AfL) เป็นการประเมินเพื่อ ให้ได้ข้อมูลเกี่ยวกับผู้เรียน ที่ครู/ผู้สอนสามารถน� ำไปใช้ประโยชน์ในการวางแผนจัดกิจกรรมการเรียนรู้ การปรับเปลี่ยนกลยุทธ์ในการสอน หรือการปรับเปลี่ยนกลยุทธ์ในการเรียนของผู้เรียน ประกอบด้วย (๑) การประเมินก่อนเรียน (pre-assessment) หรือการประเมินเพื่อวินิจฉัย (diagnostic assessment) ซึ่งเป็นการประเมินจากข้อมูลพื้นฐานต่าง  ๆ ของผู้เรียน เช่น ความรู้พื้นฐาน ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ลีลาการเรียนรู้ของผู้เรียน ความถนัด ความสนใจ ปัญหาและความต้องการต่าง ๆ และ (๒) การประเมิน เพื่อพัฒนา (formative assessment) ซึ่งครู/ผู้สอนสามารถท� ำได้ตั้งแต่ผู้เรียนเริ่มต้นการเรียนรู้ไปจนจบ การเรียนรู้

RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=