วารสารปี-40-ฉบับที่-3-resize
วารสารราชบัณฑิตยสภา ปีที่ ๔๐ ฉบับที่ ๓ ก.ค.-ก.ย. ๒๕๕๘ การประเมินขณะเรียนรู้ รองศาสตราจารย์ ดร.ทิศนา แขมมณี ภาคีสมาชิก ส� ำนักธรรมศาสตร์และการเมือง ราชบัณฑิตยสภา ๑. ความส� ำคัญและแนวคิดในการประเมินการเรียนรู้ ในวงการศึกษา เป็นที่ทราบกันโดยทั่วไปแล้วว่า การประเมินผลการเรียนรู้เป็นขั้นตอนส� ำคัญ ขั้นสุดท้ายของการจัดการเรียนการสอน เป็นขั้นตอนที่ช่วยให้ครู/ผู้สอนรู้ว่า การสอนของตนบรรลุ จุดมุ่งหมายที่ก� ำหนดไว้หรือไม่ มากน้อยเพียงใด การประเมินผลการเรียนรู้เป็นกระบวนการประเมินและ ตัดสินผู้เรียนว่า มีความสามารถตามที่ต้องการหรือไม่ ผลของการประเมินจึงมีความส� ำคัญมาก เพราะ เป็นการชี้เป็นชี้ตายคุณภาพและอนาคตของผู้เรียน และบ่งบอกถึงคุณภาพของโรงเรียนและสถานศึกษา เป็นกระบวนการที่มีอิทธิพลต่อการจัดการเรียนการสอนของครู/ผู้สอน และการจัดการศึกษาของโรงเรียน และสถานศึกษาเป็นอย่างมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อรัฐมีการก� ำหนดให้มีการประเมินคุณภาพและประกัน คุณภาพทางการศึกษาขึ้นในทศวรรษที่ผ่านมา หากจ� ำแนกตามจุดประสงค์ของการประเมินแล้ว การประเมินผลการเรียนรู้ของผู้เรียนครอบคลุม การประเมิน ๓ ประเภท คือ ๑) การประเมินผลเพื่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ (pre-evaluation) เป็นการประเมินผลก่อน การเรียน เพื่อให้ได้ข้อมูลที่ส� ำคัญและจ� ำเป็นต่อการวางแผนจัดกิจกรรมการเรียนรู้ เช่น ลักษณะปัญหา บทคัดย่อ จากทฤษฎีและงานวิจัยเกี่ยวกับการคิดเชิงอภิมาน พบว่าผู้เรียนเกิดแรงจูงใจในการเรียนรู้ และเรียนรู้ได้ดีขึ้นเมื่อมีโอกาสได้คิดทบทวนและประเมินกระบวนการเรียนรู้ของตน เพราะท� ำให้ได้ข้อมูล ที่เป็นประโยชน์ต่อการปรับปรุงและพัฒนาการเรียนรู้ของตนในขั้นต่อไป การประเมินขณะเรียนรู้เป็นการ ประเมินกระบวนการเรียนรู้และความก้าวหน้าในการเรียนรู้ของตนเองโดยผู้เรียน รวมทั้งการประเมิน จากเพื่อนในระหว่างการเรียนรู้ โดยได้มีการคิดค้นกลยุทธ์และเทคนิควิธีต่าง ๆ ขึ้นอย่างหลากหลายเพื่อ อ� ำนวยความสะดวกแก่ครู/ผู้สอนในการน� ำไปใช้เป็นเครื่องมือกระตุ้นการคิดของผู้เรียน ทั้งนี้ ผู้สอนควร พยายามบูรณาการการประเมินขณะเรียนรู้ให้เป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการเรียนการสอน เพื่อช่วยให้ ผู้เรียนสามารถน� ำตนเองในการเรียนรู้ได้มากขึ้น ค� ำส� ำคัญ : การประเมินขณะเรียนรู้, การประเมินการเรียนรู้, การประเมินตนเอง, การประเมินโดยเพื่อน
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=