วารสารปี-40-ฉบับที่-3-resize

151 รองศาสตราจารย์ ดร.ภั ทรพร สิ ริ กาญจน วารสารราชบัณฑิตยสภา ปีที่ ๔๐ ฉบับที่ ๓ ก.ค.-ก.ย. ๒๕๕๘ เมื่อสมาชิกของสังคมแต่ละคนมีการพัฒนาทางปัญญาและจริยธรรมแล้ว แม้จะมีกรณี “แม่อุ้มบุญ” เพราะความเจริญก้าวหน้าทางเทคโนโลยี แต่ก็ไม่สร้างปัญหาและไม่ท� ำลายวัฒนธรรมของคนไทยและสังคม ไทยเพราะ “แม่อุ้มบุญ” ก็จะมีความส� ำนึกและมีความรับผิดชอบต่อหน้าที่ของความเป็นแม่ และลูกที่เกิด จากแม่อุ้มบุญก็มีความผูกพันกับแม่อุ้มบุญในฐานะที่เป็นแม่ มีความกตัญญูกตเวที และมีความรับผิดชอบ ต่อหน้าที่ของความเป็นลูก ครอบครัวและสังคมไทยโดยรวมก็สามารถด� ำรงอยู่ได้ด้วยความร่มเย็นเป็นสุข ๕. สรุป สังคมไทยเคยมีวัฒนธรรมครอบครัวที่อบอุ่น แต่ในปัจจุบันสถาบันครอบครัวได้รับผลกระทบอย่าง หนักจากการพัฒนาทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีตลอดจนการสังสรรค์วัฒนธรรม (acculturation) ที่คนไทยจ� ำนวนมากรับวัฒนธรรมตะวันตกเข้ามาอย่างขาดสติปัญญา ท� ำให้บรรทัดฐานทางสังคม (social norm) ในหลายเรื่องของสังคมไทยเกิดความสั่นคลอน ในกรณีของ “แม่อุ้มบุญ” เป็นตัวอย่างหนึ่ง ที่ท� ำให้สมาชิกของสังคมหลายฝ่ายต้องตระหนักถึงปัญหาที่กระทบต่อค่านิยมทางสังคม (social value) ของคนไทย ท� ำให้ต้องทบทวนพฤติกรรมเพื่อให้ถูกต้องเหมาะสมและสอดคล้องกับหลักจริยธรรม ของสังคม ซึ่งถ้าไม่เป็นไปตามค่านิยมและวัฒนธรรมไทย ก็ต้องด� ำเนินการให้มีการควบคุมทางสังคม (social control) เพื่อให้สมาชิกทุกคนของสังคมยอมรับและปฏิบัติตามบรรทัดฐานของสังคม เช่น กฎหมาย ระเบียบทางจารีตประเพณี นอกจากนี้ พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต) เมื่อครั้งด� ำรงสมณศักดิ์ ที่พระเทพเวที ได้เตือนสติชาวไทยไว้อย่างน่าคิดว่า เทคโนโลยีไม่ได้ให้ตัวคุณภาพชีวิตโดยตรง เทคโนโลยีไม่ได้ให้ความสุข โดยตรง แต่เทคโนโลยีอ� ำนวยโอกาสที่มนุษย์จะมีคุณภาพชีวิตและมีความสุข เพราะ ฉะนั้น เราก็ต้องใช้โอกาสจากเทคโนโลยี การที่จะใช้โอกาสได้ผล มนุษย์จะต้อง เป็นผู้มีความสามารถในการที่จะใช้โอกาสนั้น ก็คือการพัฒนาตนเอง [พระเทพเวที (ประยุทธ์ ปยุตฺโต), ๒๕๓๑ ข : ๘๕]

RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=