วารสารปี-40-ฉบับที่-3-resize
แม่อุ้มบุญ : การประเมิ นคุณค่าทางพุทธจริ ยศาสตร์และวั ฒนธรรมไทย 148 The Journal of the Royal Society of Thailand Vol. 40 No. 3 Jul-Sep 2015 วัฒนธรรมไทยแบ่งออกเป็น ๔ สาขา คือ ๑) คติธรรม (moral culture) คือวัฒนธรรมเกี่ยวกับหลักการด� ำเนินชีวิตในสังคมซึ่งได้มาจาก พระพุทธศาสนา เช่น ความเมตตากรุณา ความซื่อสัตย์สุจริต ๒) เนติธรรม (legal culture) คือ วัฒนธรรมทางกฎหมาย รวมถึงขนบธรรมเนียมประเพณี ซึ่งอาศัยหลักปฏิบัติตามพระพุทธศาสนา เช่น เรื่องศีล ผู้ที่มีศีลย่อมมีการกระท� ำและวาจาเรียบร้อย ไม่ละเมิดกฎหมายและขนบธรรมเนียมอันดีงาม ๓) วัตถุธรรม (material culture) คือ วัฒนธรรมทางวัตถุ หมายถึง สิ่งสร้างสรรค์เพื่อช่วยเหลือ ตนเองและสังคมให้มีความสุขความเจริญ อยู่ดี กินดี เช่น การทอผ้า การจักสาน ซึ่งอาศัยหลักพระพุทธ ศาสนาที่สอนให้คนเราพึ่งตนเองและขยันหมั่นเพียรเพื่อประโยชน์ของตนเองและส่วนรวม ๔) สหธรรม (social culture) คือ วัฒนธรรมทางสังคมที่เน้นเรื่องหน้าที่ตามหลักค� ำสอน ทางพระพุทธศาสนา เช่น หน้าที่ระหว่างบิดามารดากับบุตรธิดา สามีกับภรรยา ครูกับศิษย์ (จ� ำนงค์ ทองประเสริฐ, ๒๕๔๗ : ๓๗-๓๘) จะเห็นได้ว่า หลักธรรมเรื่องทิศ ๖ ใน สิงคาลกสูตร เป็นการสอนให้บุคคลในฐานะสมาชิกของ สังคมได้ตระหนักในหน้าที่ของตน หากแต่ละคนปฏิบัติหน้าที่ของตนได้ครบถ้วน สังคมก็จะมีความสุข หน้าที่เป็นเรื่องส� ำคัญมากกว่าสิทธิ นับตั้งแต่คนไทยรับอารยธรรมตะวันตกเข้ามาหลังสงครามโลกครั้งที่ ๒ เราได้เรียกร้องสิทธิของตนเองอย่างกว้างขวางจนลืมการท� ำหน้าที่ของตน วัฒนธรรมไทยจ� ำเป็นต้องอิงอาศัย พระพุทธศาสนา ไม่อาจแยกออกจากพระพุทธศาสนาได้ และต้องปฏิบัติตามด้วยปัญญาเพื่อให้ได้ผลอย่าง สร้างสรรค์ และไม่เกิดความเสียหาย แม้จะประยุกต์กับวัฒนธรรมอื่นบ้างก็ตาม ในเรื่อง “แม่อุ้มบุญ” ก็เช่นกัน สังคมไทยควรด� ำเนินการให้สอดคล้องกับวัฒนธรรมไทยและแนวคิด แนวปฏิบัติทางพระพุทธศาสนา ไม่ควรปล่อยให้กรณี “แม่อุ้มบุญ” เป็นเรื่องวัตถุนิยมและบริโภคนิยม ซึ่ง เป็นไปในเชิงพาณิชย์ ความสัมพันธ์ระหว่างพ่อ แม่ ลูก ควรเป็นไปด้วยความรัก ความเมตตา และความ กตัญญูกตเวที ไม่ใช่ความสัมพันธ์ระหว่างพ่อค้า แม่ค้ากับสินค้า ศาสตราจารย์สุมน อมรวิวัฒน์ ได้สะท้อน ภาพของความรักที่พ่อแม่ควรมีต่อลูกและงดงามตามวัฒนธรรมไทยและวัฒนธรรมทางพระพุทธศาสนาว่า หัวใจของพ่อแม่นั้น แน่น หนา หนัก และบางครั้งเหน็ดเหนื่อย รองรับ ชีวิตลูก ที่ก่อเกิดมาทุกชีวิต ถนอมกล่อมเกลี้ยง อบรมเลี้ยงดู รักษาและห่วงใยลูกจากเด็กอ่อน สู่ความเป็นทารก วัยเด็ก วัยรุ่น วัยเรียน จากเด็กน้อย สู่ความเป็นผู้ใหญ่ จนแก่เฒ่า พ่อ-แม่ จะโอบอุ้มลูกไว้ในอ้อมกอดด้วยรักและอาทร ความรักของพ่อแม่ ไม่หวั่นไหว มั่นคงเสมอ (ศาสตราจารย์ สุมน อมรวิวัฒน์, ๒๕๕๖ : ๒๒)
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=