วารสารปี-40-ฉบับที่-3-resize
147 รองศาสตราจารย์ ดร.ภั ทรพร สิ ริ กาญจน วารสารราชบัณฑิตยสภา ปีที่ ๔๐ ฉบับที่ ๓ ก.ค.-ก.ย. ๒๕๕๘ ตั้งครรภ์และการคลอด ในพุทธจริยศาสตร์ ผู้เป็นมารดาต้องปกป้องและเลี้ยงดูบุตรให้เจริญเติบโตและ ให้การศึกษาจนบุตรสามารถช่วยเหลือตนเองหรือพึ่งตนเองได้ “แม่อุ้มบุญ” ผู้ตั้งครรภ์และคลอดบุตรนั้น ย่อมต้องถือว่า อยู่ในฐานะของ “มารดา” มีหน้าที่ที่ต้องเลี้ยงดูบุตร ต้องเอื้อประโยชน์ต่อบุตรตามหลักการ แบบประโยชน์นิยม มนุษยธรรมนิยม และปรัตถนิยม ตามที่ได้กล่าวมาแล้ว เช่นเดียวกับบุตรก็ต้องให้ความ เคารพนับถือ “แม่อุ้มบุญ” ในฐานะ “มารดา” ของตน นอกเหนือไปจาก “มารดา” ผู้เป็นเจ้าของไข่ เพราะเป็น ผู้อุ้มครรภ์และคลอดตนออกมา นอกจากนี้ ผู้ที่เกี่ยวข้องในเรื่องปฏิบัติการ “แม่อุ้มบุญ” ทุกฝ่าย เช่น แพทย์ผู้จัดท� ำการอุ้มบุญ หญิงเจ้าของไข่ ชายเจ้าของน�้ ำเชื้อ และหญิงผู้เป็นแม่อุ้มบุญ ต้องมีความเข้าใจ โลกและชีวิตแบบธรรมชาตินิยมและปัญญานิยมให้มากขึ้น มองเห็นคุณค่าของการมีชีวิตที่สอดคล้องกับ กฎของธรรมชาติ ไม่พยายามดัดแปลงธรรมชาติด้วยความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีจน เกิดปัญหาต่อการอยู่รอดของมนุษย์และการด� ำรงชีวิตอย่างเป็นสุข การใช้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีให้ เป็นประโยชน์สูงสุดต่อมนุษย์ได้นั้น จ� ำเป็นต้องอาศัยปัญญาในการเข้าใจโลกและชีวิตตามความเป็นจริง และไม่ตกเป็นทาสของวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ดังที่พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต) เมื่อครั้งด� ำรง สมณศักดิ์ที่พระเทพเวที ได้กล่าวไว้ตอนหนึ่งว่า เทคโนโลยีไม่ได้ให้ตัวคุณภาพชีวิตโดยตรง เทคโนโลยีไม่ได้ให้ความสุขโดยตรง แต่ เทคโนโลยีอ� ำนวยโอกาสที่มนุษย์จะมีคุณภาพชีวิตและมีความสุข เพราะฉะนั้น เราก็ต้อง ใช้โอกาสจากเทคโนโลยี การที่จะใช้โอกาสได้ผล มนุษย์จะต้องเป็นผู้มีความสามารถ การที่จะใช้โอกาสนั้น ก็คือการพัฒนาตนเอง [พระเทพเวที (ประยุทธ์ ปยุตฺโต), ๒๕๓๑ : ๘๕] ๓. ผลกระทบของ “แม่อุ้มบุญ” ต่อวัฒนธรรมไทย ค� ำว่า “วัฒนธรรม” เป็นค� ำที่พลตรี พระเจ้าวรวงศ์เธอ กรมหมื่นนราธิปพงศ์ประพันธ์ ได้ทรง บัญญัติขึ้นส� ำหรับค� ำว่า culture ในภาษาอังกฤษ (จ� ำนงค์ ทองประเสริฐ, ๒๕๔๗ : ๑) พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต) เมื่อครั้งด� ำรงสมณศักดิ์ที่พระธรรมปิฎกได้นิยาม “วัฒนธรรม” ว่าคือ “การสั่งสมประสบการณ์ ความรู้ ความสามารถ ภูมิธรรม ภูมิปัญญาทั้งหมดที่ช่วยให้มนุษย์ในสังคมนั้น ๆ อยู่รอดและเจริญ สืบต่อมาได้ และเป็นอยู่อย่างที่เป็นในบัดนี้” (กองทุนส่งเสริมงานวัฒนธรรม, ๒๕๓๙ : ๕๓) วัฒนธรรมไทย ได้วางรากฐานอยู่บนค� ำสอนและวิถีปฏิบัติทางพระพุทธศาสนานับตั้งแต่การก่อตั้งอาณาจักรสุโขทัยเป็นต้น มา กล่าวคือคนไทยนับถือพระพุทธศาสนามาตั้งแต่ประมาณพุทธศตวรรษที่ ๑๘ จนหลักธรรมทางพระพุทธ ศาสนาได้ซึมซาบเข้าไปในจิตใจของคนไทยจนแยกจากความเป็นคนไทยไม่ได้ (จ� ำนงค์ ทองประเสริฐ, ๒๕๔๗ : ๑๘)
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=