วารสารปี-40-ฉบับที่-3-resize

แม่อุ้มบุญ : การประเมิ นคุณค่าทางพุทธจริ ยศาสตร์และวั ฒนธรรมไทย 146 The Journal of the Royal Society of Thailand Vol. 40 No. 3 Jul-Sep 2015 บัณฑิตทั้งหลาย มีพระพุทธเจ้าเป็นต้น ยกบิดามารดาขึ้นเป็นบุคคลแรกใน เรื่องนี้ ก็เพราะเป็นบุคคลแรกในการให้ก� ำเนิด ให้ปัจจัยเป็นเครื่องยังชีวิต ให้วิชาความรู้ ให้การอบรมอุปนิสัยที่ดี และอื่น ๆ ที่เป็นผลดีอีกมากมาย-----การซึมซาบในพระคุณของ บิดามารดาจึงเป็นความกตัญญูหมายเลขหนึ่งของคนทุกชาติทุกภาษาในโลกนี้และโลก อื่นทุก ๆ โลก ผู้ไม่รู้คุณบิดามารดา ย่อมถูกจัดไว้ในฐานะเป็นบุคคลที่ใคร ๆ ไม่ควรไว้ใจ ในโลก (พุทธทาสภิกขุ, ๒๕๒๗ : ๘-๙) พระคุณของพ่อแม่ตามที่ปรากฏในพระพุทธศาสนาอาจสรุปพอสังเขปได้ ๘ ประการคือ ก) ความปรารถนาที่จะมีลูก เห็นได้จากการบนบานขอลูกจากสิ่งศักดิ์สิทธิ์ ข) เป็นผู้ให้ก� ำเนิด เห็นได้จากค� ำศัพท์ที่เรียก “พ่อ” ว่า “ชนก” และเรียก “แม่” ว่า “ชนนี” ซึ่งแปลว่า “ผู้ให้ก� ำเนิด” หรือ “ผู้บังเกิดเกล้า” ค) เป็นผู้เลี้ยงดู เห็นได้จากหน้าที่และเจตนารมณ์ของพ่อแม่ตามที่ปรากฏในพระไตรปิฎก ง) เป็นผู้ชี้โลกนี้ให้แก่ลูก กล่าวคือ เป็นผู้สอนลูกให้รู้จักโลกและชีวิตเพื่อให้ลูกช่วยตนเองได้ จ) เป็นพระพรหมของลูก เพราะมีคุณธรรมคือ พรหมวิหาร ๔ กล่าวคือ มีความเมตตากรุณา ยินดีในความส� ำเร็จของลูก (มุทิตา) และปล่อยวางไม่เรียกร้องสิ่งตอบแทนจากลูก (อุเบกขา) ฉ) เป็นบุพเทพ เพราะเป็นเทวดาองค์แรกของลูก คอยช่วยเหลือปกป้องคุ้มครองและ ดูแลลูกอยู่เสมอ ช) เป็นบุพพาจารย์ เพราะเป็นครูอาจารย์คนแรกของลูก คอยสั่งสอนอบรมลูกให้ช่วยตนเอง ได้ และให้เป็นคนดี ซ) เป็นอาหุเนยยบุคคล เพราะเป็นบุคคลที่ลูกควรเคารพบูชาเป็นเสมือนพระอรหันต์ ของลูก การบ� ำรุงเลี้ยงดูพ่อแม่จึงถือได้ว่าท� ำให้ลูกได้รับอานิสงส์ (ผลของกรรมดี, ผลอันน่าปรารถนา) อย่างยิ่ง [พระเทพวิสุทธิกวี (พิจิตร ฐิตวณฺโณ), ๒๕๔๐, พิมพ์ครั้งที่ ๘ : ๒๓-๒๙] การบ� ำรุงเลี้ยงพ่อแม่ ท� ำได้ ๒ ระดับ ในระดับต�่ ำคือการบ� ำรุงเลี้ยงด้วยปัจจัย ๔ กล่าวคือ ให้อาหาร ที่อยู่อาศัย เครื่องนุ่งห่ม และยารักษาโรค ในระดับสูง คือการส่งเสริมให้พ่อแม่ได้ปฏิบัติธรรม คือ ทาน ศีล ภาวนา จนเกิดปัญญา สามารถช่วยตนเองให้พ้นทุกข์ได้ [พระครูศิริปัญญามุนี (อ่อน เทวนิภเถระ), ๒๕๑๑ : ๑๗๓] ในกระบวนการท� ำหน้าที่ทั้งของลูกต่อพ่อแม่ และพ่อแม่ต่อลูกนั้น จะถูกต้องดีงามหรือไม่ อาจพิจารณาได้ในกรอบของประโยชน์นิยม มนุษยธรรมนิยม ปรัตถนิยม และธรรมชาตินิยม เช่น ใน กรณีของ “แม่อุ้มบุญ” “แม่” หรือ “มารดา” ต้องตระหนักในบทบาทของความเป็นแม่ซึ่งมีมากกว่าการ

RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=