วารสารปี-40-ฉบับที่-3-resize

145 รองศาสตราจารย์ ดร.ภั ทรพร สิ ริ กาญจน วารสารราชบัณฑิตยสภา ปีที่ ๔๐ ฉบับที่ ๓ ก.ค.-ก.ย. ๒๕๕๘ การพิจารณาเรื่องการท� ำดีท� ำชั่วในลัทธิเจตจ� ำนงเป็นการพิจารณาด้านเจตนาของการกระท� ำ และความส� ำนึกเรื่องหน้าที่ความเป็นพ่อแม่เริ่มต้นตั้งแต่ความมีเจตนาจะมีลูกหรือจะให้ลูกเกิดและตั้งใจที่ จะเลี้ยงลูกด้วยความรักความเมตตา ดังที่ใน มหาตัณหาสังขยสูตร ได้แสดงไว้ว่า แต่เมื่อใด มารดาบิดาอยู่ร่วมกัน มารดามีระดู และคันธัพพะ (ปฏิสนธิวิญญาณ) ก็ปรากฏ เมื่อนั้น เพราะปัจจัย ๓ ประการประชุมพร้อมกันอย่างนี้ การถือก� ำเนิดในครรภ์ จึงมีได้ มารดาย่อมรักษาทารกในครรภ์นั้น ๙ เดือนบ้าง ๑๐ เดือนบ้าง จึงคลอดทารกผู้เป็น ภาระหนักนั้นด้วยความกังวลใจมากและเลี้ยงทารกผู้เป็นภาระหนักนั้น ซึ่งเกิดแล้วด้วย โลหิตของตนด้วยความห่วงใยมาก (มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, ๒๕๓๙, ๑๒ : ๔๔๔) ในกรณีนี้ กระบวนการเกิดจะเป็นไปได้เมื่ออาศัยความสัมพันธ์ทางเพศระหว่างบิดากับมารดา การอุ้มบุญจึงเป็นเพียงการฝากท้อง ฝากเลี้ยง ไม่ใช่แม่ที่แท้จริงซึ่งเป็นเจ้าของไข่ (เพราะมีระดู) แต่ถ้าแม่อุ้ม บุญเป็นเจ้าของไข่ด้วยก็ต้องถือว่าเป็นแม่ที่แท้จริง ซึ่งต้องพิจารณาว่าท� ำดีหรือท� ำชั่วตามเกณฑ์จริยธรรม ของความเป็นแม่ต่อไป ค� ำสอนทางพระพุทธศาสนาได้วางแนวการท� ำหน้าที่หรือการท� ำดีของบิดามารดาและบุตรไว้ กล่าวคือ สิงคาลกสูตร ในพระไตรปิฎกได้กล่าวถึงหน้าที่ของบุตรที่มีต่อบิดามารดา อันได้แก่ ก) ท่านเลี้ยงเรามา เราจักเลี้ยงท่านตอบ ข) จักท� ำกิจของท่าน ค) จักด� ำรงวงศ์ตระกูล ง) จักประพฤติตนให้เหมาะสมที่จะเป็นทายาท จ) เมื่อท่านล่วงลับไปแล้ว ท� ำบุญอุทิศให้ท่าน ส่วนบิดามารดามีหน้าที่ต่อบุตร คือ ก) ห้ามไม่ให้ท� ำความชั่ว ข) ให้ตั้งอยู่ในความดี ค) ให้ศึกษาศิลปวิทยา ง) หาภรรยา (สามี) ที่สมควรให้ จ) มอบทรัพย์สมบัติให้ในเวลาอันควร (มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, ๒๕๓๙, เล่มที่ ๑๑ : ๒๑๒- ๒๑๓) พระธรรมโกศาจารย์ (พุทธทาส อินฺทปญฺโญ) หรือพุทธทาสภิกขุได้เน้นคุณธรรมความกตัญญู กตเวทีที่ลูกควรมีต่อพ่อแม่ด้วยคุณความดีและหน้าที่พ่อแม่มีต่อลูกดังกล่าวว่า

RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=