วารสารปี-40-ฉบับที่-3-resize

แม่อุ้มบุญ : การประเมิ นคุณค่าทางพุทธจริ ยศาสตร์และวั ฒนธรรมไทย 144 The Journal of the Royal Society of Thailand Vol. 40 No. 3 Jul-Sep 2015 จุดหมายของพระพุทธศาสนาคือความพ้นทุกข์หรือที่เรียกกันในปัจจุบันว่า อิสรภาพ คือเป็น อิสระจากกิเลสและความทุกข์โดยเข้าใจความจริงของโลกและชีวิตอย่างถ่องแท้และรู้เท่าทันกฎธรรมชาติ ปัญญาท� ำให้เราเข้าถึงความจริง มีสัมมาทิฏฐิ (ความเห็นชอบ ความเห็นถูกต้อง) และไม่หลงผิด เช่น ไม่เห็นว่าการพนันเป็นสิ่งที่ดีที่น� ำความร�่ ำรวยมาให้ ไม่หลงยึดติดในรูปลักษณ์ของตนเองจนต้องท� ำศัลยกรรม เสริมสวยตลอดเวลาจนเป็นอันตรายต่อชีวิต ปัญญาจึงส่งเสริมจริยธรรมของบุคคลและสังคมท� ำให้เราอยู่ ร่วมกันอย่างสงบสุข ๒.๒ “แม่อุ้มบุญ” : ปฏิบัติการเพื่อความดีหรือความชั่ว ประเด็นเรื่อง “แม่อุ้มบุญ” ในสังคมไทยอาจจ� ำแนกออกได้ ๒ แนวคือ ๑) “แม่อุ้มบุญ” ที่เป็นเครือญาติ อุ้มบุญให้คู่สามีภรรยาโดยปราศจากการว่าจ้างและร่วมเลี้ยงดูบุตรที่เกิดมาเสมือนเป็น บุตรของตนเองด้วยความรักและเมตตา ๒) “แม่อุ้มบุญ” ที่เป็นหญิงรับจ้างตั้งครรภ์แทนหรือที่เรียกกัน อย่างไม่เป็นทางการว่า “ธุรกิจการให้เช่ามดลูก” ซึ่งเป็นไปเพื่อค่าตอบแทน ไม่มุ่งเรื่องความรักและ ความสัมพันธ์ระหว่างแม่-ลูก ในการพิจารณาประเด็นเรื่อง “แม่อุ้มบุญ” นี้จะเน้น “แม่อุ้มบุญ” ประเภท หลังเท่านั้นเพราะเป็นเรื่องที่เกี่ยวกับวัฒนธรรมไทย พระพุทธศาสนา และปัญหาของสังคมไทยปัจจุบัน “แม่อุ้มบุญ” เป็นปรากฏการณ์ที่ตอบสนองความต้องการสืบทอดทายาทของมนุษย์โดยอาศัย ความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี นายแพทย์ประเวศ วะสี ได้กล่าวถึงภัยจากวิทยาศาสตร์และ เทคโนโลยีไว้ตอนหนึ่งว่า วิทยาศาสตร์ถูกน� ำไปเชื่อมต่อกับการสร้างเทคโนโลยีมากกว่าจะใช้เพื่อการสร้าง ปัญญาของคนทั้งหมดในเรื่องทั้งหมด แม้วิทยาศาสตร์น� ำไปสู่การสร้างเทคโนโลยีที่เป็น ประโยชน์เป็นอันมาก แต่ทิศทางใหญ่กว่าก็คือเทคโนโลยีน� ำไปสู่การเปลี่ยนแปลงทาง สังคมอย่างรวดเร็ว เกิดโลภจริตขนาดใหญ่ ท� ำให้เกิดลัทธิวัตถุนิยมบริโภคนิยมกระจายไป ทั่วโลก และเกิดโครงสร้างทางสังคมที่สนับสนุนการด� ำรงอยู่ของลัทธิวัตถุนิยมบริโภคนิยม (กองทุนส่งเสริมงานวัฒนธรรม, ๒๕๓๙ : ๑๕๕) ความเจริญของวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีท� ำให้คู่สามีภรรยาที่มีบุตรยากหรือไม่สามารถ มีบุตรได้ตามธรรมชาติไม่จ� ำเป็นต้องบนบานอ้อนวอนสิ่งศักดิ์สิทธิ์เพื่อขอบุตร แต่สามารถใช้บริการทางการ แพทย์เพื่อให้ผู้อื่นตั้งครรภ์แทนได้ ท� ำให้เกิดอาชีพการอุ้มครรภ์เพื่อเงินหรือ “แม่อุ้มบุญ” เชิงพาณิชย์ เกิดปัญหาความสัมพันธ์ระหว่างพ่อ-แม่-ลูก และเกิดปัญหาเรื่องคุณค่าของมนุษย์ หากพิจารณาในเชิงพุทธจริยศาสตร์ “แม่อุ้มบุญ” ท� ำให้เกิดค� ำถามเกี่ยวกับความดีและ ความชั่วในแนวคิดแนวปฏิบัติดังนี้

RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=