วารสารปี-40-ฉบับที่-3-resize
143 รองศาสตราจารย์ ดร.ภั ทรพร สิ ริ กาญจน วารสารราชบัณฑิตยสภา ปีที่ ๔๐ ฉบับที่ ๓ ก.ค.-ก.ย. ๒๕๕๘ ใครเป็นผู้มีอินทรีย์แก่กล้า เราควรจะไปชุมชนไหน กลุ่มไหน คนไหน พระพุทธเจ้า พิจารณาแล้ว ก็เสด็จไปหา ไปโปรดเขา [พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต), ๒๕๔๗, พิมพ์ครั้งที่ ๗๐ : ๓๙] อาจกล่าวได้ว่า โดยทั่วไป พระพุทธศาสนาส่งเสริมปรัตถนิยมทั้งในด้านค� ำสอนและการปฏิบัติตน ของชาวพุทธทั้งบรรพชิตและฆราวาส ๖) พุทธจริยศาสตร์แบบปัญญานิยม (Intellectualism) ปัญญานิยม (intellectualism) คือ ทรรศนะที่ถือว่าปัญญามีความส� ำคัญเหนือสิ่งอื่นใด ใน ทางจริยศาสตร์ ปัญญานิยม หมายถึง คติชีวิตที่ถือว่าสิ่งมีค่าสูงสุดในชีวิตคือการได้ใช้ปัญญาเพื่อแสวงหา ความจริง ไม่ใช่เพื่อแสวงหาความสุขทางกาย ในกรณีที่เป็นเรื่องเกี่ยวกับการตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า จะใช้ ค� ำว่า “พุทธิปัญญา” แทนค� ำว่า “ปัญญา” (ราชบัณฑิตยสถาน, ๒๕๔๘ : ๕๐) ในค� ำสอนทางพระพุทธศาสนา ปัญญาคือการรู้ความจริง เมื่อรู้ความจริงถึงที่สุดแล้วจะเกิด ความเป็นอิสระในจิตใจ ปลอดพ้นจากสิ่งบีบคั้น หลุดพ้นจากสิ่งเศร้าหมองทั้งปวง เช่น ปราศจากความโลภ ความโกรธและความหลง เรียกว่า บรรลุภาวะวิมุตติ คือความพ้นทุกข์ [พระธรรมปิฎก (ป.อ. ปยุตฺโต), ๒๕๔๐ ก, พิมพ์ครั้งที่ ๒ : ๘๗] ปัญญามีความหมายกว้างขวางและหลากหลาย ในทางพุทธจริยศาสตร์ ปัญญา หมายถึง ความรู้ ความเข้าใจ ความสามารถแยกดี ชั่ว คุณ หรือโทษได้ด้วยเหตุผล จนในที่สุดสามารถก� ำจัดอวิชชา (ความไม่รู้จริง) เช่น ความไม่รู้จริงในเรื่องอริยสัจ ๔ (ความจริงอันประเสริฐ ๔ ประการ ได้แก่ ความจริง เรื่องทุกข์เหตุแห่งทุกข์ ความดับทุกข์ และทางไปสู่ความดับทุกข์) และปฏิจจสมุปบาท (การเกิดขึ้น โดยการอิงอาศัยกันของเหตุกับผล) เกิดปัญญาวิมุตติ (ความหลุดพ้นด้วยปัญญา) ส� ำเร็จเป็นพระอรหันต์ และพ้นทุกข์อย่างสิ้นเชิง [พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต), ๒๕๕๑, พิมพ์ครั้งที่ ๑๑ : ๒๓๑-๒๓๒] ลักษณะของปัญญา คือรู้ เข้าใจ รู้จักคิด รู้วิธีวินิจฉัย รู้วิธีแก้ปัญหา และรู้วิธีสร้างสรรค์หรือ ด� ำเนินงานให้ส� ำเร็จ ปัญญาที่สมบูรณ์จะมีองค์ประกอบอื่นด้วยคือความดีงามและความสุข ปัญญาเป็นตัว ชี้น� ำเราให้เห็นทางออกของปัญหาและสามารถพัฒนาตนเองได้ วิธีการแก้ปัญหาด้วยปัญญาของมนุษย์ก็คือ ก) การพิจารณาทุกข์ว่าคือปัญหา ต้องรู้ปัญหาก่อนว่าคืออะไร ข) การหาสมุทัย สืบสาวสาเหตุของปัญหา ค) การมีนิโรธ คือความดับทุกข์หรือความสิ้นปัญหาเป็นเป้าหมาย ง) ปฏิบัติตามมรรค คือวิธีการให้สามารถก� ำจัดปัญหาได้ [พระเทพเวที (ประยุทธ์ ปยุตฺโต), ๒๕๓๕ : ๙๕-๙๖]
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=