วารสารปี-40-ฉบับที่-3-resize

แม่อุ้มบุญ : การประเมิ นคุณค่าทางพุทธจริ ยศาสตร์และวั ฒนธรรมไทย 142 The Journal of the Royal Society of Thailand Vol. 40 No. 3 Jul-Sep 2015 พุทธจริยศาสตร์แบบมนุษยธรรมนิยมเป็นแนวคิดและแนวปฏิบัติที่ส� ำคัญยิ่งส� ำหรับการใช้ชีวิตอยู่ ร่วมกันอย่างสันติสุขในสังคมไทย ๕) พุทธจริยศาสตร์แบบปรัตถนิยม (Altruism) ปรัตถนิยม (altruism) คือทรรศนะทางจริยศาสตร์ที่ส่งเสริมการเห็นแก่ประโยชน์ของผู้อื่น โดยการควบคุมและก� ำจัดความอยากมีอยากเป็น (self-centered desire) ส่งเสริมการมีชีวิตอยู่ เพื่อประโยชน์ของผู้อื่น โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การมีความรักที่ปราศจากความเห็นแก่ตัวและการอุทิศตน เพื่อสังคม ค� ำว่า “ปรัตถนิยม” ในปัจจุบัน มีความหมายรวมถึงการพยายามกระท� ำเพื่อประโยชน์สุขของ ผู้อื่น เอาใจใส่ผู้อื่น และการท� ำหน้าที่โดยไม่ค� ำนึงถึงผลประโยชน์ที่ตนจะได้ (Runes, 1961 : 10) พุทธจริยศาสตร์ก็ให้ความส� ำคัญต่อทรรศนะแบบปรัตถนิยมเช่นกัน โดยเน้นหลักค� ำสอนเรื่อง ความเมตตากรุณา กล่าวคือ ความเมตตาเป็นความรักที่บริสุทธิ์ที่มีต่อเพื่อนมนุษย์และสัตว์ทั้งหลายในฐานะ ที่เป็นเพื่อนร่วมโลกหรือเพื่อนร่วมทุกข์ ร่วมสังสารวัฏ เป็นความรักอย่างเป็นกลาง เผื่อแผ่ มีใจกว้าง และ ผ่องใสเบิกบาน ไม่จ� ำกัดเฉพาะต่อมนุษย์ด้วยกัน แต่แผ่ขยายรวมไปถึงสัตว์ทั้งหลายด้วย นอกจากความเมตตาแล้ว ความกรุณาก็เป็นธรรมที่ส� ำคัญในพุทธจริยศาสตร์แบบปรัตถ นิยม เพราะท� ำให้เรามีความปรารถนาดีต่อผู้อื่นและเอื้อประโยชน์ต่อผู้อื่น แม้ว่าผู้นั้นจะเป็นศัตรูของเรา ความกรุณาเกิดขึ้นได้เมื่อเราประสบเหตุการณ์ที่ผู้อื่นก� ำลังมีปัญหาหรือมีความทุกข์ ถ้าขณะนั้น ใจของเรา ปลอดโปร่งปราศจากความทุกข์และเป็นอิสระ เราจะรับรู้ปัญหา/ความทุกข์ของผู้อื่นได้เต็มที่ ตลอดจน มีความเข้าใจและเห็นใจผู้อื่นได้ แต่ถ้าจิตใจของเราขุ่นมัวด้วยความโกรธหรือความทุกข์อื่นๆ เราก็ไม่สามารถ มองเห็นทุกข์ของผู้อื่น อาจกล่าวได้ว่า พระอรหันต์เป็นบุคคลที่มีความเมตตากรุณาสูงสุดและแผ่ขยายไปมากกว่า ปุถุชนทั่วไปเพราะจิตใจของท่านไม่มีความทุกข์ ไม่มีกิเลสตัณหา สามารถรับรู้ความรู้สึกนึกคิด ความสุข ความทุกข์ของผู้อื่นได้อย่างเต็มที่ กล่าวคือ คนที่หมดกิเลสนั้น ท่านไม่มีกิเลส แม้แต่ความขี้เกียจที่จะเหนี่ยวรั้งให้ท� ำเพื่อ ตนเอง ท่านจึงท� ำเพื่อผู้อื่นได้เต็มที่ เพราะฉะนั้น พระอรหันต์จึงเป็นตัวอย่างของคนที่ บ� ำเพ็ญประโยชน์แก่ผู้อื่น.... พระพุทธจึงเป็นผู้น� ำ เป็นโลกนาถ (ที่พึ่งของชาวโลก) เป็น ผู้บ� ำเพ็ญโลกัตถจริยา (ประพฤติประโยชน์ต่อชาวโลก) เป็นผู้ไม่อยู่นิ่งเฉย ทรงบ� ำเพ็ญพุทธ กิจแต่ละวัน ไม่อยู่เฉยเลย ท� ำงานตลอดวัน เดินไปปฏิบัติหน้าที่แต่ละวัน ตื่นเช้าขึ้นมา ก็นึกถึงคนอื่นก่อน พอตื่นขึ้นมา พระพุทธเจ้าท� ำอะไร พุทธกิจประการแรกคือ พิจารณา ว่า วันนี้จะไปโปรดใคร คือใครมีความพร้อม สมควรไปแนะน� ำสั่งสอน ใครเป็นผู้มีปัญหา

RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=