วารสารปี-40-ฉบับที่-3-resize
141 รองศาสตราจารย์ ดร.ภั ทรพร สิ ริ กาญจน วารสารราชบัณฑิตยสภา ปีที่ ๔๐ ฉบับที่ ๓ ก.ค.-ก.ย. ๒๕๕๘ ๔) พุทธจริยศาสตร์แบบมนุษยธรรมนิยม (Humanitarianism) แนวคิดแบบมนุษยธรรมนิยม (humanitarianism) คือระบบความคิดที่มุ่งส่งเสริมหรือ ยกระดับคุณธรรมในหมู่มนุษย์ เพื่อให้สังคมมนุษย์พ้นจากความทุกข์และให้มีความสุขสมบูรณ์ยิ่งขึ้น (ราชบัณฑิตยสถาน, ๒๕๔๘ : ๔๔) มนุษยธรรมนิยมให้ความสนใจแก่คุณค่าของมนุษย์เป็นหลัก เช่น ความมีเมตตากรุณา ความอยู่ดีกินดี ความยุติธรรม เสรีภาพ จึงส่งเสริมโครงการทางสังคมหรือ ทางจริยธรรมที่มุ่งลดความทุกข์และเพิ่มสวัสดิการของมนุษย์ มุ่งปฏิรูปสังคมเพื่อส่งเสริมการกินดีอยู่ดี และอาจเผื่อแผ่ไปถึงการป้องกันการทารุณสัตว์ การปกป้องสิทธิเด็ก ตลอดจนมีแนวคิดในการเอื้อเฟื้อ เจือจานผู้อื่นและเสียสละเพื่อผู้อื่น (Runes, 1961 : 132) มนุษยธรรมนิยมมีแนวคิดในการแก้ปัญหาเฉพาะหน้าที่บุคคลและ/หรือสังคมประสบ อยู่ในขณะนั้น โดยอาศัยหลักเมตตาธรรมคือความปรารถนาให้ผู้อื่นมีความสุขและกรุณาธรรมคือ ความปรารถนาให้ผู้อื่นพ้นทุกข์ ซึ่งคล้ายกับแนวคิดของพระพุทธศาสนาแบบพัฒนาสังคม (socially engaged Buddhism) แต่ต่างกันตรงที่มนุษยธรรมนิยมเน้นความมีคุณธรรมของมนุษย์ในตัวผู้ ที่ช่วยเหลือผู้อื่น แต่พระพุทธศาสนาเพื่อพัฒนาสังคมเน้นการเอื้อประโยชน์ต่อผู้อื่นทั้งด้านการแก้ไขปัญหา และการพัฒนาให้ก้าวหน้า (ภัทรพร สิริกาญจน, ๒๕๕๗ : ๑๗๖-๑๗๗) หากพิจารณาในทางพุทธจริยศาสตร์ แนวคิดแบบมนุษยธรรมนิยมส่งเสริมการเอื้อประโยชน์ แก่ผู้อื่นและการสังคมสงเคราะห์ซึ่งเป็นการช่วยเหลือผู้ยากไร้และประสบทุกข์ โดยค� ำนึงถึงประโยชน์ ทั้ง ๓ ด้าน ได้แก่ ก) อัตตัตถะ (ประโยชน์ตน) คือการบรรลุจุดหมายแห่งชีวิตของตนเน้นการพึ่งตนเอง ได้ในทุกระดับ ไม่เป็นภาระของผู้อื่นและพร้อมที่จะช่วยเหลือผู้อื่นได้ คุณธรรมที่เป็นแกนน� ำเพื่อบรรลุ ประโยชน์ตนดังกล่าว คือ ปัญญา ส่วนหลักธรรมในการปฏิบัติให้บรรลุผลคือไตรสิกขา (ศีล สมาธิ และ ปัญญา) เป็นต้น ข) ปรัตถะ (ประโยชน์ผู้อื่น) คือ การช่วยเหลือเกื้อกูล สนับสนุนผู้อื่นให้บรรลุประโยชน์ หรือเข้าถึงจุดหมายในชีวิตของเขาในระดับต่าง ๆ ช่วยประคับประคองให้เขาสามารถพึ่งตนเองได้ คุณธรรม ที่เป็นแกนน� ำเพื่อบรรลุผลข้อนี้ คือ กรุณา และหลักธรรมในการปฏิบัติ คือ สังคหวัตถุ ๔ (ทาน ปิยวาจา- ค� ำพูดไพเราะ อัตถจริยา-ประพฤติตนให้เป็นประโยชน์และสมานัตตตา-วางตนเสมอต้นเสมอปลาย) เป็นต้น ค) อุภยัตถะ (ประโยชน์ทั้งสองฝ่าย) คือการได้รับประโยชน์ทั้งต่อตนเองและผู้อื่น ตนเอง ก็มีความสุข ผู้อื่นและสังคมส่วนรวมก็มีความสุข คุณธรรมที่เป็นแกนน� ำให้บรรลุจุดหมาย คือ วินัย และ ความสามัคคี โดยเน้นการเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ต่อกัน (มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, ๒๕๓๙, เล่มที่ ๑๖ : ๔๐)
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=