วารสารปี-40-ฉบับที่-3-resize

แม่อุ้มบุญ : การประเมิ นคุณค่าทางพุทธจริ ยศาสตร์และวั ฒนธรรมไทย 140 The Journal of the Royal Society of Thailand Vol. 40 No. 3 Jul-Sep 2015 ความส� ำคัญแก่ประโยชน์สุขและความดีงามของสังคมเป็นอย่างยิ่ง แม้แต่ในเรื่องปัจเจกบุคคลในชีวิต ประจ� ำวันพุทธบัญญัติต่าง ๆ ก็แสดงเจตนารมณ์เพื่อประโยชน์สุขและความดีงามของทั้งภิกษุและฆราวาส เห็นได้จากการแสดงความเคารพที่ฆราวาสมีต่อพระภิกษุสงฆ์และพระภิกษุสงฆ์มีต่อกัน “ประโยชน์” ในทางพระพุทธศาสนา หมายถึง จุดหมายหรือเป้าหมายในการปฏิบัติธรรม ตรงกับศัพท์คือ “อัตถะ” หรือ “อรรถ” หมายถึง ประโยชน์ทางจิตใจหรือคุณธรรม ไม่ใช่ประโยชน์ ทางวัตถุ จ� ำแนกได้เป็น ๓ ระดับ คือ ก) ทิฏฐธัมมิกัตถะ หมายถึง ประโยชน์ในชีวิตนี้ หรือประโยชน์ในปัจจุบัน หมายถึง ประโยชน์ ที่มุ่งหมายกันในโลกนี้ เช่น ทรัพย์สิน เกียรติยศชื่อเสียง ข) สัมปรายิกัตถะ หมายถึง ประโยชน์เบื้องหน้า เป็นประโยชน์ด้านคุณค่าของชีวิต เป็น หลักประกันเมื่อละโลกนี้ไปแล้ว เป็นเรื่องของบุญกุศลและความเจริญทางจิตใจ ค) ปรมัตถะ หมายถึง ประโยชน์ยิ่งยวด เป็นจุดหมายสุดท้ายของชีวิต เป็นจุดหมายสูงสุด ได้แก่ การรู้แจ้งในความจริง มีจิตอิสระจากกิเลส อยู่อย่างไร้ทุกข์ เข้าถึงนิพพาน [พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต), ๒๕๕๕ : ๕๓๗-๕๓๘] ประโยชน์ดังกล่าวนี้ หมายความรวมทั้งประโยชน์ส่วนบุคคลและประโยชน์ส่วนรวม ประโยชน์ ในชีวิตนี้ หมายถึง ประโยชน์ในปัจจุบัน ประโยชน์เบื้องหน้า หมายถึง ประโยชน์ในอนาคต ส่วนประโยชน์ ยิ่งยวดหรือประโยชน์สูงสุด หมายถึง นิพพาน ซึ่งจะเป็นไปได้ในปัจจุบันหรือในภพหน้าก็ได้ แม้เกณฑ์การตัดสินทางจริยธรรมโดยทั่วไปตามหลักพระพุทธศาสนาจะพิจารณาตามเจตจ� ำนง ของการกระท� ำ แต่ก็ไม่ละเสียการค� ำนึงถึงผลที่จะเกิดขึ้นด้วย เช่น การบริจาคเงินแก่ขอทานด้วยความ เมตตาและเจตนาให้เขาพ้นทุกข์ เป็นการกระท� ำที่ดี เพราะมีเจตนาดี แต่ถ้าเรารู้ว่า ขอทานเป็นขบวนการ หาเงินเป็นอาชีพ ไม่ยากไร้อย่างแท้จริง และการบริจาคของเราอาจเป็นการส่งเสริมให้เกิดการประกอบ อาชีพหลอกลวงดังกล่าวอย่างกว้างขวาง เราก็อาจพิจารณาว่าผลที่เกิดขึ้นจะชั่วมากกว่าดีและงดการให้ ทานนั้นได้ ในการประเมินดังกล่าว เราต้องอาศัยปัญญาเป็นเครื่องมือ ด้วยเหตุนี้ เราจึงต้องคิดให้รอบคอบ ทั้งกระบวนการทุกขั้นตอนก่อนลงมือท� ำสิ่งใด [พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต), ๒๕๕๕ : ๖๖๓] อย่างไรก็ตาม พุทธจริยศาสตร์แบบประโยชน์นิยมไม่ถือว่าความสุขเป็นเป้าหมายสูงสุด ในการแสวงหาเพราะความสุขเป็นสิ่งสัมพัทธ์ เมื่อมีสุขได้ก็มีทุกข์ได้ พระพุทธศาสนาจึงมีเป้าหมายสูงสุดคือ ความพ้นทุกข์ เพราะชีวิตของคนเรามีความทุกข์เป็นพื้นฐาน พระพุทธศาสนามิได้ปฏิเสธความสุข เพียงแต่ ชี้ให้เห็นว่า ความสุขที่แท้จริงจะเป็นไปได้ด้วยความเข้าใจโลกและชีวิตตามความเป็นจริงโดยอาศัยปัญญา และจิตที่เป็นอิสระจากกิเลสตัณหา

RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=