วารสารปี-40-ฉบับที่-3-resize
139 รองศาสตราจารย์ ดร.ภั ทรพร สิ ริ กาญจน วารสารราชบัณฑิตยสภา ปีที่ ๔๐ ฉบับที่ ๓ ก.ค.-ก.ย. ๒๕๕๘ ปัญญาเชื่อมโยงเหตุและผลอย่างถูกวิธีและเป็นล� ำดับขั้น) ท� ำให้มนุษย์มีชีวิตอยู่อย่างกลมกลืนกับธรรมชาติ [พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต), ๒๕๕๕ : ๑๓๔] ความเป็นไปของธรรมชาตินั้น บางครั้งก็อ่อนโยน เอื้อประโยชน์สุขต่อมนุษย์ บางครั้งก็รุนแรง สร้างความวิบัติและความทุกข์ยากให้แก่มนุษย์ แต่จะเป็นไป ในด้านใดก็ตาม มันก็ด� ำเนินไปตามเหตุปัจจัยของมันเท่านั้น และมนุษย์ก็ยังจ� ำเป็นต้องพึ่งพิงธรรมชาติ มนุษย์จึงต้องมีความรักและความเมตตาตลอดจนปฏิบัติต่อธรรมชาติด้วยความรู้ความเข้าใจตามเหตุปัจจัย ของมัน พุทธจริยศาสตร์แบบธรรมชาตินิยมส่งเสริมแนวคิดที่ว่า มนุษย์เป็นส่วนหนึ่งของธรรมชาติและ ใกล้ชิดกับสิ่งธรรมชาติอื่น ๆ เช่น สัตว์ ต้นไม้ ภูเขา ล� ำธาร เราเวียนว่ายตายเกิดตามกฎธรรมชาติ โดยอาจก้าวข้ามภพของมนุษย์ไปสู่ภพของสัตว์โลกประเภทอื่น ๆ หมุนเวียนกันไปไม่สิ้นสุดจนกว่าจะบรรลุ นิพพาน นอกจากนั้น เรายังต้องพึ่งพิงสิ่งธรรมชาติในลักษณะของปัจจัย ๔ เป็นอาหาร เครื่องนุ่งห่ม ที่อยู่อาศัย และยารักษาโรค มนุษย์ไม่ได้ยิ่งใหญ่และเป็นศูนย์กลางของจักรวาลจนสามารถด� ำรงอยู่ได้โดย ไม่ต้องพึ่งพิงสิ่งต่าง ๆ ในโลกธรรมชาติ หากปราศจาก พืช สัตว์ แม่น�้ ำ และสิ่งธรรมชาติอื่น ๆ มนุษย์ก็ไม่ อาจอยู่รอดได้ แม้จะมีความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีก็ตาม ๓) พุทธจริยศาสตร์แบบประโยชน์นิยม (Utilitarianism) ประโยชน์นิยม (utilitarianism) คือทรรศนะทางจริยศาสตร์ที่ถือเอาประโยชน์สุขเป็นเกณฑ์ ตัดสินความผิดถูกชั่วดี กล่าวคือ การกระท� ำที่ก่อให้เกิดประโยชน์สุขมากที่สุดแก่คนจ� ำนวนมากที่สุด ถือว่า เป็นการกระท� ำที่ดีที่สุด เป็นลัทธิค� ำสอนและแนวคิดปรัชญาที่ถือหลักมหสุข (the principle of greatest happiness) หรือหลักประโยชน์สุขสูงสุด (the principle of greatest utility) เป็นเกณฑ์ในการพิจารณา เรื่องต่าง ๆ ทางจริยศาสตร์ โดยเกณฑ์นี้ถือเอาผลที่เกิดจากการพิจารณาทางจริยธรรมเป็นตัวตัดสิน (ราชบัณฑิตยสถาน, ๒๕๔๘ : ๑๐๑) พุทธจริยศาสตร์ก็มีทรรศนะแบบประโยชน์นิยมเพราะส่งเสริมประโยชน์สุขของมหาชน (มวลชนหรือคนส่วนใหญ่) ดังที่ปรากฏในพระวินัยว่าพระพุทธเจ้าทรงชี้แจงก่อนการบัญญัติสิกขาบทแต่ละ ข้อ และใน ๑๐ ข้อที่พระองค์บัญญัตินั้นมีอยู่ ๒ ข้อที่เป็นไปเพื่อประโยชน์สุขของสงฆ์คือ ก) เพื่อความสุขแห่งสงฆ์ ข) เพื่อความอยู่ผาสุกแห่งเหล่าภิกษุผู้มีศีลดีงาม (มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, ๒๕๓๙, เล่มที่ ๑ : ๒๘) นอกจากนี้ ในอังคุตตรนิกาย พระพุทธเจ้ายังได้แสดงวัตถุประสงค์ของการบัญญัติ สิกขาบทเพิ่มเติมอีกว่า “เพื่อเกื้อกูลแก่คนหมู่มาก เพื่อสุขแก่คนหมู่มาก เพื่อประโยชน์แก่คนหมู่มาก” (มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, ๒๕๓๙, เล่มที่ ๒๐ : ๒๑) วัตถุประสงค์ดังกล่าวนี้ แสดงเจตนารมณ์ที่ให้
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=