วารสารปี-40-ฉบับที่-3-resize

สมเด็ จพระนางเจ้าสิ ริ กิ ติ์ พระบรมราชิ นี นาถ กั บการส่งเสริ มหั ตถกรรมทอผ้าอี สาน 4 The Journal of the Royal Society of Thailand Vol. 40 No. 3 Jul-Sep 2015 แต่เดิมชาวบ้านใช้วิธีต้มเส้นไหมพร้อมกาบกล้วย ใบกล้วย หรืองวงตาล เจ้าหน้าที่ได้แนะน� ำให้ใช้ด่างและ สบู่ผสมน�้ ำแล้วต้ม ซึ่งจะท� ำให้ฟอกสีไหมดิบพันธุ์พื้นเมืองซึ่งมีสีเหลืองออกได้โดยสะดวก สามารถย้อมไหม เป็นสีต่าง ๆ ได้ดีขึ้น ส� ำหรับวัสดุย้อมสีแต่เดิมชาวบ้านส่วนใหญ่ใช้สีธรรมชาติจากเปลือกไม้ ลูกไม้ และดอกไม้ เช่น เข แก่นขนุน และก้านดอกกรรณิการ์ให้สีเหลือง ครั่งให้สีแดง มะนาวโห่ให้สีม่วง เปลือกมะพร้าวให้สีกากี สมอและหญ้านางให้สีเขียว อย่างไรก็ตาม การเตรียมสีจากธรรมชาติดังกล่าวต้องใช้เวลานาน ด้วยเหตุนี้ ในระยะหลังสงครามโลกครั้งที่ ๒ เมื่อผลิตผลจากระบบอุตสาหกรรมเข้ามาในตลาดของภาคอีสานมากขึ้น ชาวบ้านจึงมักนิยมใช้สีวิทยาศาสตร์ที่ซื้อหาจากตลาด ซึ่งชาวบ้านเรียกว่า “สีตลาด” หรือ “สีเจ๊ก” เพราะ สะดวกกว่าการย้อมด้วยสีธรรมชาติ สีวิทยาศาสตร์เหล่านี้มักมีราคาถูก แต่คุณภาพไม่ดี ไม่ติดทนนานและ สีตก เจ้าหน้าที่จึงแนะน� ำให้ใช้สีวิทยาศาสตร์ที่มีคุณภาพ การย้อมสีจึงได้มาตรฐานและมีความสวยงาม มากขึ้น ยิ่งกว่านั้น สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ มีพระราชประสงค์ที่จะให้ผ้าไหม ของโครงการส่งเสริมศิลปาชีพมีเนื้อแน่นสม�่ ำเสมอ ไม่โปร่งบาง มีความสวยงาม และมีคุณภาพคงทน เจ้าหน้าที่มูลนิธิส่งเสริมศิลปาชีพจึงแนะน� ำให้สมาชิกทอผ้าไหมมัดหมี่ปรับปรุงฟืม อันเป็นส่วนประกอบ ส� ำคัญอย่างหนึ่งของหูกทอผ้า ในการทอผ้านั้น เมื่อกระแทกฟืมเข้าสู้เส้นไหมที่ก� ำลังทออยู่ จะช่วยให้ เส้นพุ่งและเส้นยืนกระชับเข้าที่ ผ้าทอได้ถี่กว่าและสม�่ ำเสมอกว่าฟืมไม้ที่ชาวบ้านใช้มาแต่เดิมซึ่งมีซี่ฟืม ค่อนข้างห่าง ฟืมใหม่จึงช่วยให้สามารถร้อยเส้นไหมที่เป็นเส้นยืนเข้ากับฟืมได้จ� ำนวนมากเส้น ท� ำให้ผ้าที่ทอมี เนื้อแน่นขึ้น นอกจากนั้นมีการให้ขยายฟืมให้กว้างขึ้น ท� ำให้ได้ผ้าทอที่มีหน้ากว้างขึ้นด้วย ทั้งยังโปรดเกล้าฯ ให้ทอผ้าให้มีความยาวเป็นเมตร ๆ เพื่อประโยชน์ในการใช้สอยอเนกประสงค์ในปัจจุบัน มิใช่มีความยาว เฉพาะที่จะน� ำมาท� ำผ้าซิ่นได้อย่างเดียวดังในอดีตเท่านั้น ศิลปะการทอผ้าไหมลายขิด สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ โปรดเกล้าฯ ให้ส่งเสริมการทอผ้าไหมลายขิด ในท้องที่ต่าง ๆ คือ บ้านน้อยวัดถ�้ ำกลองเพล ต� ำบลโนนทัน อ� ำเภอหนองบัวล� ำภู บ้านห้วยเดื่อ ต� ำบลโนนทัน อ� ำเภอหนองบัวล� ำภู บ้านหมู่ที่ ๒ และหมู่ที่ ๓ ต� ำบลหนองอ้อ อ� ำเภอหนองวัวซอ จังหวัดอุดรธานี และ ศูนย์ศิลปาชีพบ้านกุดนาขาม ต� ำบลเจริญศิลป์ กิ่งอ� ำเภอเจริญศิลป์ จังหวัดสกลนคร การทอผ้าไหมลายขิดของสมาชิกศิลปาชีพยังคงกรรมวิธีเดิม แต่ได้มีการเพิ่มเติมเส้นด้ายพุ่งพิเศษ เข้าไปให้เกิดลวดลายบนผืนผ้า โดยอาศัย “เขาเก็บขิด” พิเศษเพิ่มเติมจากไม้ค�้ ำธรรมดาที่ท� ำให้เกิดการ ขัดกันของเส้นยืนและเส้นพุ่งในการทอผ้าในขั้นตอนพื้นฐาน

RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=