วารสารปี-40-ฉบับที่-3-resize

แม่อุ้มบุญ : การประเมิ นคุณค่าทางพุทธจริ ยศาสตร์และวั ฒนธรรมไทย 138 The Journal of the Royal Society of Thailand Vol. 40 No. 3 Jul-Sep 2015 ดังพุทธพจน์ที่ว่า “เจตนาหํ ภิกฺขเว กมฺมํ วทามิ” เป็นต้น แปลความว่า ภิกษุทั้งหลาย เจตนานั่นเอง เราเรียกว่า กรรม บุคคลจงใจแล้วจึงกระท� ำด้วยกาย ด้วยวาจา ด้วยใจ [พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต), ๒๕๕๕ : ๒๔๐] เจตจ� ำนงหรือกรรมย่อมน� ำผู้กระท� ำให้ได้รับวิบาก (ผลของกรรม) อย่างเหมาะสมและ สอดคล้องต้องกัน การท� ำกรรมหรือการท� ำด้วยเจตจ� ำนงจะมีเจตจ� ำนงรุนแรงหรืออ่อนเบาก็ตามย่อม สร้างวิบาก (ผลของกรรม) ให้ผู้กระท� ำทั้งสิ้น ไม่สามารถยกเลิกวิบากได้ แต่อาจท� ำให้ผลกรรมเลื่อนเวลา ออกไปหรืออ่อนก� ำลังในการให้ผลได้ ในพุทธจริยศาสตร์ แม้เจตนาจะเป็นตัวก� ำหนดว่ากรรมนั้นดีหรือชั่ว บุญหรือบาป แต่ในการวินิจฉัยว่าดีมากหรือชั่วมาก บุญมากหรือบาปมากนั้น ต้องพิจารณาคุณภาพทางจิตและ ผลกระทบต่อสังคมด้วย ๒) พุทธจริยศาสตร์แบบธรรมชาตินิยม (Naturalism) ธรรมชาตินิยมถือว่า ค� ำอธิบายทุกเรื่องในที่สุดก็ต้องอ้างอิงถึงวัตถุหรือเหตุการณ์ในกาลเวลา (time) และสถานที่ (place) เท่านั้นไม่สามารถอ้างอิงถึงระบบที่อยู่นอกเหนือธรรมชาติได้ ท่าทีดังกล่าว แตกต่างกับวัตถุนิยม (materialism) ตรงที่วัตถุนิยมถือว่าความสุขทางกายเป็นสิ่งที่มีค่าสูงสุดส� ำหรับชีวิต มนุษย์และสสารเท่านั้นที่เป็นจริง ปรากฏการณ์ในรูปอื่น ๆ สามารถทอนได้เป็นเพียงปรากฏการณ์ของสสาร (ราชบัณฑิตยสถาน, ๒๕๔๘ : ๖๑) ส่วนธรรมชาตินิยมไม่ยอมรับว่า ปรากฏการณ์ทั้งปวงสามารถทอนลงมา เป็นเพียงวัตถุที่เคลื่อนที่และเปลี่ยนแปลงได้เท่านั้น (Reese, 1980 : 379) พุทธจริยศาสตร์มีแนวคิดแบบธรรมชาตินิยมตรงที่มองสรรพสิ่งว่าเป็นเรื่องของธรรมชาติและ กฎธรรมชาติ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเรื่อง กรรมนิยาม ที่หมายถึงกฎธรรมชาติเกี่ยวกับพฤติกรรมของมนุษย์ ซึ่งเป็นกระบวนการแห่งเจตจ� ำนงของการกระท� ำ ตัวการกระท� ำและผลของการกระท� ำจนเกิดเป็นกฎเกณฑ์ คือ ท� ำดีได้ดี ท� ำชั่วได้ชั่ว และในเรื่อง ธรรมนิยาม ที่หมายถึงกฎธรรมชาติของความสัมพันธ์และความเป็น เหตุเป็นผลของสิ่งทั้งหลาย เช่น การเกิดขึ้น ด� ำรงอยู่ และเสื่อมสลายไปของสรรพสิ่ง ตลอดจนการเกิดแก่ เจ็บตายของสิ่งมีชีวิตซึ่งไม่อาจหลีกเลี่ยงได้ มนุษย์ควรเป็นอยู่โดยสอดคล้องกับธรรมชาติ มิใช่พิชิตธรรมชาติและบิดเบือนธรรมชาติ เพื่อประโยชน์ของตนเอง มนุษย์ควรตระหนักว่าตนเองเป็นธรรมชาติส่วนหนึ่งของระบบธรรมชาติทั้งหมด มิใช่เป็นศูนย์กลางของจักรวาลและเป็นนายของธรรมชาติ ในปัจจุบัน มนุษย์ต้องเผชิญกับภัยธรรมชาติ หลายรูปแบบเพราะมนุษย์ไม่เข้าใจธรรมชาติที่แท้จริงของตนเองว่าตนเองเป็นส่วนหนึ่งของธรรมชาติ มนุษย์ทุกยุคทุกสมัยและทุกสถานที่มีธรรมชาติทางจิตเหมือนกัน คือ มีโลภ โกรธ หลง มีปัญญา และ มีเสรีภาพที่จะก้าวข้ามกิเลสตัณหาของตนได้ กิเลสตัณหาท� ำให้มนุษย์ท� ำร้ายธรรมชาติ ส่วนปัญญา (ความสามารถในการมองเห็นโลกและชีวิตตามความเป็นจริง) และโยนิโสมนสิการ (การใช้ความคิดด้วย

RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=