วารสารปี-40-ฉบับที่-3-resize

137 รองศาสตราจารย์ ดร.ภั ทรพร สิ ริ กาญจน วารสารราชบัณฑิตยสภา ปีที่ ๔๐ ฉบับที่ ๓ ก.ค.-ก.ย. ๒๕๕๘ ๓) พิจารณาจากประโยชน์หรือโทษที่เกิดขึ้น ถ้าการกระท� ำนั้นเกิดประโยชน์ต่อตนเองหรือผู้อื่น การกระท� ำดังกล่าวก็เป็นการท� ำดี แต่ถ้าสร้างความเดือดร้อนแก่ตนเองหรือผู้อื่น ก็เป็นการท� ำชั่ว ๔) พิจารณาจากการได้รับความชื่นชมหรือถูกติเตียน การกระท� ำใดถ้าบัณฑิตหรือปราชญ์ชื่นชม การกระท� ำนั้นถือว่าดี ถ้าบัณฑิตติเตียน ก็ถือว่าการกระท� ำนั้นชั่ว ส่วนการชื่นชมหรือติเตียนจากคนพาล และคนชั่ว ไม่น� ำมาพิจารณาเพราะไม่มีคุณค่าในการประเมินความดีความชั่ว (ภัทรพร สิริกาญจน, ๒๕๕๒ :  ๓๔-๓๕) ในการพิจารณากรณี “การอุ้มบุญ” และ “แม่อุ้มบุญ” ทางพุทธจริยศาสตร์มีเกณฑ์ที่อาจใช้ประเมิน ได้ ๖ แบบ คือ ๑) แบบลัทธิเจตจ� ำนง ๒) แบบธรรมชาตินิยม ๓) แบบประโยชน์นิยม ๔) แบบมนุษยธรรม นิยม ๕) แบบปรัตถนิยม และ ๖) แบบปัญญานิยม ๑) พุทธจริยศาสตร์แบบลัทธิเจตจ� ำนง (Voluntarism) ค� ำว่า “ลัทธิเจตจ� ำนง” เป็นศัพท์บัญญัติส� ำหรับค� ำว่า voluntarism ซึ่งหมายถึง ทรรศนะ ที่ถือว่า เจตจ� ำนง (will) ของมนุษย์เป็นมาตรการสูงสุดในการตัดสินการกระท� ำทางศีลธรรมว่า ดีหรือชั่ว ถูกหรือผิด บุญหรือบาป นอกจากนั้น เจตจ� ำนงยังเป็นสิ่งส� ำคัญในการท� ำให้มนุษย์บรรลุคุณค่าทางศีลธรรม เช่น ความเมตตากรุณา ความยุติธรรม ความซื่อสัตย์สุจริต หากปราศจากเจตจ� ำนง คุณค่าทางศีลธรรม ก็ไร้ความหมาย (ราชบัณฑิตยสถาน, ๒๕๔๘ : ๑๐๕) แนวคิดแบบลัทธิเจตจ� ำนงปรากฏชัดเจนในค� ำสอนเรื่องกรรมและกฎแห่งกรรมทางพุทธ จริยศาสตร์ กล่าวคือ การท� ำดีหรือท� ำชั่วเริ่มต้นจากเจตจ� ำนงหรือเจตนา เจตนาที่เป็นมิจฉาทิฏฐิ (ความ เห็นผิดหรือเห็นผิดเป็นชอบ) ท� ำให้เกิดอกุศลกรรม (การท� ำชั่ว) เจตนาที่เป็นสัมมาทิฏฐิ (ความเห็นถูก ความเห็นชอบ หรือความเห็นถูกต้องตามความเป็นจริง) ท� ำให้เกิดกุศลกรรม (การท� ำดี) คุณธรรมต่าง ๆ ต้องประกอบด้วยกุศลเจตนาหรือสัมมาทิฏฐิ มิฉะนั้น จะน� ำไปสู่ความล� ำเอียงและขาดความยุติธรรม มี พุทธพจน์ที่กล่าวถึงความส� ำคัญของเจตนาดังที่บันทึกไว้ในพระไตรปิฎกว่า “ภิกษุทั้งหลาย เพราะอาศัย เหตุนี้ว่า เรากล่าวเจตนาว่าเป็นตัวกรรม บุคคลคิดแล้ว จึงกระท� ำด้วยกาย วาจา ใจ” (มหาจุฬาลงกรณ ราชวิทยาลัย, ๒๕๓๙, เล่มที่ ๒๒ : ๕๗๗) และพระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต) ได้กล่าวยืนยันว่า เมื่อมองให้ถึงตัวแท้จริงของกรรม หรือมองให้ถึงต้นตอ เป็นการมองตรงตัว หรือเฉพาะตัว กรรมก็คือ “เจตนา” อันได้แก่ เจตจ� ำนง ความจงใจ การเลือกคัดตัดสิน มุ่งหมายที่จะกระท� ำ หรือพลังน� ำที่เป็นตัวกระท� ำนั่นเอง เจตนาหรือเจตจ� ำนงนี้เป็นตัวน� ำ บ่งชี้ความมุ่งหมาย และก� ำหนดทิศทางแห่งการกระท� ำทั้งหมดของมนุษย์ เป็นตัวการ หรือเป็นแกนน� ำในการริเริ่ม ปรุงแต่ง สร้างสรรค์ทุกอย่าง จึงเป็นตัวแท้ของกรรม

RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=