วารสารปี-40-ฉบับที่-3-resize
แม่อุ้มบุญ : การประเมิ นคุณค่าทางพุทธจริ ยศาสตร์และวั ฒนธรรมไทย 136 The Journal of the Royal Society of Thailand Vol. 40 No. 3 Jul-Sep 2015 ค� ำสอนในพระพุทธศาสนาที่แพร่หลายอยู่ในสังคมไทยและเป็นพื้นฐานของวัฒนธรรมไทยก็มี คุณค่าและความส� ำคัญทางจริยศาสตร์เช่นกัน หลักธรรมทางพระพุทธศาสนามีกรอบความคิดที่ชัดเจน ตายตัว คุณธรรมต่าง ๆ มีคุณค่าในตัวเองและเป็นปรนัย (objective) ไม่ขึ้นอยู่กับรสนิยม ค่านิยม และ ความพอใจของบุคคลหรือสังคม เช่น ความเมตตากรุณาเป็นคุณธรรมที่ดีในตัวเองไม่ว่าจะอยู่ในยุคสมัยใด หรือในสังคมใด ก็เป็นคุณธรรมที่เราควรพัฒนาให้เกิดขึ้นในตนเองและในสังคมของเรา ส่วนการฆ่า หรือท� ำลายชีวิตของตนเองและผู้อื่นถือเป็นการท� ำชั่วตามพุทธจริยศาสตร์หรือจริยศาสตร์แนวพุทธใน ทุกกาลเวลาและทุกสถานที่ นอกจากนี้ กฎของการกระท� ำคือกฎแห่งกรรมก็เป็นกฎธรรมชาติเป็นกฎสากล ไม่มีข้อยกเว้นและใช้บังคับก� ำกับสิ่งมีชีวิตทั้งมวลอย่างเท่าเทียมกัน จึงอาจกล่าวได้ว่า พุทธจริยศาสตร์ ในภาพรวมมีลักษณะเป็นปรนัยนิยม (objectivism) โดยทั่วไป พุทธจริยศาสตร์มีเกณฑ์ในการตัดสินการกระท� ำว่าดีหรือชั่วโดยพิจารณาทั้งเจตนา และผลของการกระท� ำตามกรอบของกฎแห่งกรรม กล่าวคือ พระไตรปิฎกยืนยันว่า เราท� ำอย่างไรก็ย่อม ได้ผลอย่างนั้น เราท� ำดีย่อมได้ดี ถ้าท� ำชั่วก็ย่อมได้ชั่วตอบสนอง เป็นกฎสากล (universal law) และ เป็นกฎตายตัว (absolute law) เรียกว่า กฎแห่งกรรม ดังข้อความใน ฐานสูตร ที่พระพุทธเจ้าตรัสสอน เพื่อเตือนสติทุกคนว่า สตรี บุรุษ คฤหัสถ์ หรือบรรพชิต ควรพิจารณาเนือง ๆ ว่า “เรามีกรรมเป็นของตน เป็นผู้รับผลของกรรม มีกรรมเป็นก� ำเนิด มีกรรมเป็นเผ่าพันธุ์ มีกรรมเป็นที่พึ่งอาศัย เราท� ำกรรมใดไว้ จะเป็นกรรมดีหรือกรรมชั่วก็ตาม ย่อมเป็นผู้รับผลของกรรมนั้น” (มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, ๒๕๓๙, เล่มที่ ๒๒ : ๑๐๑) กฎแห่งกรรมบังคับใช้อย่างเท่าเทียมกันกับสิ่งมีชีวิตที่รู้คิดทุกตัวตน แต่ที่เราเห็นว่า คนท� ำชั่วได้ดี หรือคนท� ำดีได้ชั่ว เช่น คนคดโกงกลับร�่ ำรวย แต่คนซื่อสัตย์สุจริตกลับยากจนล� ำบาก ก็เพราะมีเหตุปัจจัย เงื่อนไขอื่น ๆ มาเป็นตัวแปรท� ำให้การให้ผลของกรรมล่าช้าไป หรือท� ำให้ผู้รับกรรมซึ่งเป็นผลมาจากอดีต ยังไม่ได้รับผลในปัจจุบัน โดยสรุป เกณฑ์การวินิจฉัยการท� ำดีท� ำชั่วในทางพุทธจริยศาสตร์โดยพิจารณาตามกฎแห่งกรรม มีดังนี้ ๑) พิจารณาจากมูลเหตุของการกระท� ำ ถ้ากระท� ำด้วยความโลภ (โลภะ) ความโกรธ (โทสะ) หรือ ความหลง (โมหะ) การกระท� ำนั้นถือว่าชั่ว ถ้าเป็นไปจากมูลเหตุตรงข้าม การกระท� ำนั้นก็ถือว่าดี ๒) พิจารณาจากผลของการกระท� ำ ถ้าการกระท� ำใดท� ำให้จิตใจของผู้กระท� ำมีความผ่องใสหรือ ส่งเสริมคุณความดีในจิตใจ การกระท� ำนั้นก็ประเมินได้ว่าดี แต่ถ้าเป็นไปในทางตรงข้าม การกระท� ำนั้น ก็ชั่ว
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=