วารสารปี-40-ฉบับที่-3-resize

135 รองศาสตราจารย์ ดร.ภั ทรพร สิ ริ กาญจน วารสารราชบัณฑิตยสภา ปีที่ ๔๐ ฉบับที่ ๓ ก.ค.-ก.ย. ๒๕๕๘ ๒. “แม่อุ้มบุญ” ในมุมมองทางพุทธจริยศาสตร์ “แม่อุ้มบุญ” เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นในสังคมยุคปัจจุบันที่มนุษย์พยายามเอาชนะธรรมชาติด้วยความ รู้ความสามารถทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี กระบวนการดังกล่าวท� ำให้มนุษย์ไม่จ� ำนนต่อธรรมชาติ ทะนงตน และไม่คิดอ้อนวอนงอนง้อด้วยความพากเพียรเอาใจสิ่งศักดิ์สิทธิ์ในธรรมชาติหรือเหนือธรรมชาติ อีกต่อไป เช่นเดียวกับคนยุคโบราณ ความเปลี่ยนแปลงทางทัศนคติและพฤติกรรมของมนุษย์ที่มีต่อตนเอง และโลกธรรมชาตินั้นมีทั้งข้อดีและข้อเสียต่อตัวมนุษย์เองและสิ่งที่แวดล้อมมนุษย์ ในเรื่อง “แม่อุ้มบุญ” ก็เช่นกันและเป็นตัวอย่างหนึ่งที่มีผลกระทบอย่างมากต่อมนุษย์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในด้านทัศนคติและ การด� ำรงชีวิตในมุมมองทางจริยศาสตร์แนวพุทธ ๒.๑ ความหมายและความส� ำคัญของพุทธจริยศาสตร์ จริยศาสตร์คือความรู้ที่ว่าด้วยการประเมินความดีความชั่ว เป็นสาขาหนึ่งของวิชาปรัชญาซึ่ง ก่อตัวขึ้นจากการถกเถียงวิเคราะห์ของนักคิดตะวันตก พจนานุกรมศัพท์ปรัชญาอังกฤษ-ไทย ฉบับ ราชบัณฑิตยสถาน ให้ค� ำจ� ำกัดความ “จริยศาสตร์” ว่า “ethics จริยศาสตร์ : ปรัชญาสาขาหนึ่งที่ว่าด้วย การแสวงหาความดีสูงสุดของชีวิตมนุษย์ แสวงหาเกณฑ์ในการตัดสินความประพฤติของมนุษย์ว่า อย่างไหน ถูก ไม่ถูก ดีไม่ดี ควรไม่ควร และพิจารณาปัญหาเรื่องสถานภาพของค่าทางศีลธรรม” (ราชบัณฑิตยสถาน, ๒๕๔๘ : ๓๔) นักจริยศาสตร์จึงพยายามวิเคราะห์ อธิบายพฤติกรรม และวินิจฉัยเรื่องศีลธรรม ตลอดจน ก� ำหนดความหมายและข้อความที่เกี่ยวกับศีลธรรมเพื่อวางกฎเกณฑ์หรือปทัฏฐานในการควบคุมพฤติกรรม ให้ถูกต้องและก� ำหนดแบบแผนการกระท� ำอันเป็นอุดมคติส� ำหรับมนุษย์ทุกคน (Albert, Denise, and Peterfreund, 1969 : 7) การประเมินเรื่องความดีความชั่วในทางจริยศาสตร์ที่มีอยู่หลากหลายวิธี นักคิดบางคนเสนอให้ ดูเจตนาเป็นหลัก ถ้ากระท� ำด้วยเจตนาดีก็ถือว่าท� ำดี ถ้ากระท� ำด้วยเจตนาร้ายก็ถือว่าท� ำชั่ว เช่น การ ประเมินแบบทฤษฎีกรณียธรรม (deontological theory) ซึ่งถือเอาเจตนาในการท� ำหน้าที่ทางจริยธรรม เป็นเกณฑ์ตัดสินการกระท� ำว่าดีหรือชั่ว ไม่ใช่ผลของการกระท� ำเป็นเกณฑ์ตัดสิน ไม่ว่าผลนั้นจะให้คุณ หรือโทษต่อตนเองหรือผู้อื่นก็ตาม (ราชบัณฑิตยสถาน, ๒๕๔๘ :  ๒๖) นักจริยศาสตร์ตะวันตกผู้มีทรรศนะ ดังกล่าว ได้แก่ อิมมานูเอล คานท์ (Immanuel Kant, ค.ศ. ๑๗๒๔-๑๘๐๔) ส่วนทรรศนะทางจริยศาสตร์ อีกทรรศนะหนึ่งอาจมีแนวคิดแตกต่างกันโดยถือผลของการกระท� ำเป็นเกณฑ์พิจารณาเรื่องดีชั่ว กล่าวคือ การกระท� ำที่ให้ผลดีต่อผู้กระท� ำหรือผู้อื่นใดก็ตาม ให้ถือว่าเป็นการท� ำดี ส่วนการกระท� ำที่ให้ผลในทาง ตรงข้ามก็ถือว่าเป็นการท� ำชั่ว ทรรศนะเช่นนี้เรียกว่า ประโยชน์นิยม (utilitarianism) ซึ่งปรากฏอย่าง ชัดเจนในจริยศาสตร์ของจอห์น สจวต มิลล์ (John Stuart Mill, ค.ศ. ๑๘๐๖-๑๘๗๓) นักจริยศาสตร์ชาว อังกฤษผู้ให้ความส� ำคัญแก่ประโยชน์สุข (utility) ของมหาชน เป็นต้น

RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=