วารสารปี-40-ฉบับที่-3-resize
แม่อุ้มบุญ : การประเมิ นคุณค่าทางพุทธจริ ยศาสตร์และวั ฒนธรรมไทย 134 The Journal of the Royal Society of Thailand Vol. 40 No. 3 Jul-Sep 2015 ก็จะสามารถเอาผิดผู้ที่เกี่ยวข้องกับการอุ้มบุญได้ ทั้งผู้ที่จัดการตั้งครรภ์แทน ผู้รับตั้งครรภ์แทน แพทย์ ผู้ด� ำเนินการ สถานที่ประกอบการ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ร่างพระราชบัญญัติดังกล่าวได้ก� ำหนดหลักเกณฑ์ การอุ้มบุญไว้ ๒ ประการ ซึ่งอยู่ในขั้นตอนของการส� ำรวจความคิดเห็น คือ ๑) ห้ามผู้ที่จะอุ้มบุญเป็นบุพการีหรือผู้สืบสันดานของผู้ร้องขอ ๒) ผู้ที่จะรับอุ้มบุญได้ต้องเคยมีบุตรมาก่อน เนื่องจากประเทศไทยยังไม่มีกฎหมายเกี่ยวกับการอุ้มบุญ ชาวต่างชาติจึงนิยมมาแสวงหาผู้อุ้มบุญ ในประเทศไทย ประเทศไทยมีเพียงข้อบังคับของแพทยสภา ซึ่งควบคุมเรื่องการอุ้มบุญในส่วนที่เกี่ยวกับ แพทย์และสถานที่ให้บริการทางการแพทย์เท่านั้น กล่าวคือสถานบริการทางการแพทย์ที่จะจัดการ อุ้มบุญต้องจดทะเบียนให้ถูกต้องตามกฎหมายและต้องได้รับการรับรองจากราชวิทยาลัยสูตินรีแพทย์ แห่งประเทศไทยให้ด� ำเนินการได้ ถ้าผู้ใดเปิดสถานพยาบาลเถื่อน เจ้าของสถานพยาบาลนั้นจะมีความ ผิดตามพระราชบัญญัติสถานพยาบาล พ.ศ. ๒๕๔๑ ซึ่งมีโทษจ� ำคุก ๓ ปีและปรับไม่เกิน ๖๐,๐๐๐ บาท นอกจากนี้ แพทยสภามีข้อก� ำหนดเรื่องการอุ้มบุญ คือ ๑) เจ้าของอสุจิกับเจ้าของไข่จะต้องเป็นผู้ที่ จดทะเบียนสมรสกันอย่างถูกต้องตามกฎหมาย ๒) อสุจิกับไข่ที่ผสมกันและน� ำไปฝากที่แม่อุ้มบุญนั้น แม่อุ้มบุญจะต้องเป็นญาติกับคู่สามีหรือภรรยาเท่านั้น ห้ามเป็นบุพการีหรือผู้สืบสันดานเว้นแต่จะไม่มีบุคคล ดังกล่าว ก็ให้ขออนุญาตจากแพทยสภาเป็นกรณีได้ ๓) ไม่ว่าในกรณีใด ห้ามซื้อขายอสุจิ ไข่ หรือรับจ้าง อุ้มบุญโดยได้รับค่าตอบแทน แพทย์และสถานประกอบการที่ได้จดทะเบียนไว้แล้วกับแพทยสภาเท่านั้นที่มีสิทธิ์ให้บริการท� ำการ อุ้มบุญได้ ปัจจุบันมีแพทย์ที่มีคุณสมบัติดังกล่าวเพียง ๔๕ คน แพทย์ที่ไม่มีรายชื่อในทะเบียนดังกล่าว ไม่สามารถให้บริการการอุ้มบุญแก่ผู้ใดได้ เพราะจะมีความผิดตามกฎของแพทยสภา ส่วนผู้รับอุ้มบุญยัง ไม่มีความผิดเพราะยังไม่มีกฎหมายควบคุมโดยตรง แต่อาจมีความผิดตามกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง เช่น ผิดกฎหมายการค้ามนุษย์ตามพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ พ.ศ. ๒๕๕๑ หรือ ผิดกฎหมายเกี่ยวกับการละเมิดสิทธิเด็ก (Admin, 2014) ปรากฏการณ์ “แม่อุ้มบุญ” ในสังคมไทยปัจจุบันเป็นเรื่องส� ำคัญและควรใส่ใจเพื่อแก้ไขปัญหา และปรับเปลี่ยนให้สอดคล้องกับการพัฒนาประเทศเพราะมีผลกระทบต่อจริยธรรมและวัฒนธรรมไทย ทั้งระบบ ในฐานะที่สังคมไทยโดยภาพรวมเป็นสังคมพุทธและมีจารีตประเพณีวัฒนธรรมที่อิงอาศัยค� ำสอน ทางพระพุทธศาสนาเป็นพื้นฐาน การตระหนักถึงจริยธรรมตามแนวพระพุทธศาสนาและผลกระทบต่อ วัฒนธรรมไทยจึงเป็นความจ� ำเป็นที่ไม่อาจปฏิเสธได้ในการด� ำรงชีวิตในโลกไร้พรมแดนของยุคโลกาภิวัตน์
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=