วารสารปี-40-ฉบับที่-3-resize
133 รองศาสตราจารย์ ดร.ภั ทรพร สิ ริ กาญจน วารสารราชบัณฑิตยสภา ปีที่ ๔๐ ฉบับที่ ๓ ก.ค.-ก.ย. ๒๕๕๘ “แม่อุ้มบุญ” ให้น� ำแฝดหญิงไปส่งผู้จ้างชาวออสเตรเลีย และทิ้งแฝดชายซึ่งเป็นโรคกลุ่มอาการดาวน์ และเป็นโรคหัวใจพิการให้ “แม่อุ้มบุญ” เลี้ยงเอง อย่างไรก็ตาม “การอุ้มบุญ” (surrogacy) ยังไม่ได้รับ การอนุญาตในประเทศออสเตรเลียให้ท� ำเป็นการพาณิชย์ และที่ผ่านมามีชาวออสเตรเลียได้มาใช้บริการ อุ้มบุญในประเทศไทย (ซึ่งไม่มีข้อกฎหมายห้ามที่ชัดเจน) แล้วประมาณ ๒๐๐ ราย (ไทยรัฐ, ๒๕๕๗ : ๑๕) นอกจากนี้ ในเวลาใกล้เคียงกัน ได้มีกรณี “แม่อุ้มบุญ” อีกหลายรายที่รับจ้างนายมิตซูโตกิ ชิเกตะ นักธุรกิจ ชาวญี่ปุ่น อายุ ๒๔ ปี ให้อุ้มบุญลูกของฝ่ายชายโดยได้รับค่าจ้างประมาณ ๒๐๐,๐๐๐-๖๐๐,๐๐๐ บาท “การอุ้มบุญ” เป็นเทคโนโลยีช่วยการเจริญพันธุ์ (reproductive technology) เพื่อให้ผู้ที่มีปัญหา ไม่สามารถมีบุตรตามธรรมชาติได้มีโอกาสให้หญิงอื่นตั้งครรภ์แทน หรือ “อุ้มบุญ” ให้ได้ การอุ้มบุญมี ๒ แบบ คือ ๑) การอุ้มบุญแท้ (full surrogacy หรือ traditional surrogacy) เป็นการใช้น�้ ำเชื้อจาก ฝ่ายชายของคู่ที่ต้องการมีบุตรผสมกับไข่ของ “แม่อุ้มบุญ” โดยฉีดน�้ ำเชื้อเข้าไปในมดลูกของ “แม่อุ้มบุญ” ผู้ให้ทั้งไข่และมดลูก ๒) การอุ้มบุญเทียม (partial surrogacy หรือ gestational carrier) เป็นการน� ำน�้ ำเชื้อและ ไข่จากพ่อแม่ที่แท้จริงมาผสมกัน และฝากเข้าไปในมดลูกของแม่อุ้มบุญเพื่อให้ตั้งครรภ์แทน ปัจจุบัน การอุ้มบุญเทียมได้รับความนิยมมากกว่าการอุ้มบุญแท้ (Yuanrangsan, 2014) ประเทศต่าง ๆ แต่ละประเทศมีกฎหมายเกี่ยวกับการอุ้มบุญแตกต่างกัน เช่น ประเทศแคนาดา ฟินแลนด์ ไอซ์แลนด์ ถือว่าการอุ้มบุญเป็นสิ่งที่ผิดกฎหมายไม่ว่าจะด้วยจุดประสงค์ใดก็ตาม ส่วนประเทศอื่นๆ บางประเทศ เช่น ญี่ปุ่น อังกฤษ สวีเดน ออสเตรเลีย อนุญาตให้มีการอุ้มบุญได้ แต่ห้ามการอุ้มบุญ ในเชิงพาณิชย์ ซึ่งแตกต่างกับประเทศอินเดียที่ออกกฎหมายคุ้มครองการอุ้มบุญในเชิงพาณิชย์ โดยให้ ตั้งสถานประกอบการและตั้งราคาค่ารักษาพยาบาลได้ เป็นต้น แต่ส� ำหรับประเทศไทย ไม่มีข้อกฎหมาย ที่ชัดเจน ท� ำให้เป็นจุดอ่อนให้เกิดการอุ้มบุญเชิงพาณิชย์ได้ นอกจากนี้ กฎหมายไทยยังไม่สอดคล้อง กับความเป็นจริงเพราะระบุว่า เด็กเกิดจากท้องผู้ใด ผู้นั้นก็คือแม่โดยชอบด้วยกฎหมาย จึงควร มีพระราชบัญญัติคุ้มครองเด็กที่เกิดโดยอาศัยเทคโนโลยีช่ วยการเจริญพันธุ์ ทางการแพทย์ ขึ้น เพื่อก� ำหนดสถานะความเป็นบิดามารดาที่ชอบด้วยกฎหมายให้เหมาะสมและเพื่อให้เทคโนโลยีช่วย การเจริญพันธุ์ทางการแพทย์ได้มีบทบาทช่วยเหลือสามีภรรยาที่ถูกต้องตามกฎหมายแต่มีบุตรยากได้ อย่างแท้จริง อย่างไรก็ตาม ขณะนี้ ประเทศไทยก� ำลังอยู่ในขั้นตอนการจัดท� ำ ร่างพระราชบัญญัติคุ้มครองเด็ก ที่เกิดโดยเทคโนโลยีช่วยการเจริญพันธุ์ทางการแพทย์ ซึ่งหากผ่านสภานิติบัญญัติแห่งชาติได้แล้ว
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=