วารสารปี-40-ฉบับที่-3-resize

The Journal of the Royal Society of Thailand Vol. 40 No. 3 Jul-Sep 2015 แม่อุ้มบุญ : การประเมินคุณค่าทางพุทธจริยศาสตร์ และวัฒนธรรมไทย รองศาสตราจารย์ ดร.ภัทรพร สิริกาญจน ภาคีสมาชิก ส� ำนักธรรมศาสตร์และการเมือง ราชบัณฑิตยสภา บทคัดย่อ “แม่อุ้มบุญ” คือหญิงที่ท� ำการอุ้มบุญหรือตั้งครรภ์แทนผู้ที่มีปัญหา ไม่สามารถมีบุตรได้ตาม ธรรมชาติ โดยอาศัยเทคโนโลยีช่วยการเจริญพันธุ์ “แม่อุ้มบุญ” ท� ำให้เกิดปัญหาทางพุทธจริยศาสตร์ และวัฒนธรรมไทย เพราะตั้งครรภ์แทนหญิงอื่นที่ต้องการบุตรและคลอดบุตรเพื่อให้เป็นบุตรของผู้อื่น จึงไม่ได้ท� ำหน้าที่ของมารดาตามค� ำสอนทางพระพุทธศาสนา ไม่มีความสัมพันธ์กับบุตรในลักษณะของ ความเป็นครอบครัวเดียวกัน และมีวิถีชีวิตที่ขัดแย้งกับการเป็นสมาชิกที่ดีของสังคมตามวัฒนธรรมไทย การแก้ปัญหาเรื่อง “แม่อุ้มบุญ” ไม่สามารถท� ำได้โดยการยับยั้งความเจริญก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์และ เทคโนโลยี แต่อาจจัดการได้โดยอาศัยความรอบคอบ ไม่ประมาท มีความรับผิดชอบ และมีสติปัญญา ตลอดจนพัฒนาตนเองด้วยการศึกษาที่ส่งเสริมจริยธรรมเป็นหลัก โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การส่งเสริมค่านิยม ในการเชิดชูและอนุรักษ์วัฒนธรรมไทยด้านครอบครัวและสังคม ค� ำส� ำคัญ :  แม่อุ้มบุญ, พุทธจริยศาสตร์, วัฒนธรรมไทย ๑. ค� ำน� ำ : ปรากฏการณ์ “แม่อุ้มบุญ” ในสังคมไทยปัจจุบัน ประเด็นเรื่อง “แม่อุ้มบุญ” (surrogate mother) เป็นที่สนใจในสังคมไทยอย่างกว้างขวาง เมื่อสื่อมวลชนได้เผยแพร่ข่าวในวันที่ ๒ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๕๗ ว่า หญิงไทยคนหนึ่งรับจ้างอุ้มบุญให้สามี ภรรยาชาวออสเตรเลียผ่านนายหน้าที่เป็นคนไทยโดยได้รับค่าจ้างเป็นเงิน ๔๗๐,๐๐๐ บาท ทั้งนี้เนื่องจาก ตนเองเป็นหนี้อยู่ ๓๐๐,๐๐๐ บาท และยังต้องใช้จ่ายเป็นค่าเล่าเรียนของลูกอีกด้วย ต่อมา หญิงที่รับจ้าง อุ้มบุญได้ตั้งครรภ์ลูกแฝดชาย-หญิง แฝดหญิงมีสภาพปรกติ แต่แฝดชายเป็นโรคกลุ่มอาการดาวน์ (Down’s syndrome) ซึ่งเป็นโรคทางพันธุกรรมที่ท� ำให้เด็กที่เกิดมามีระดับปัญญาต�่ ำกว่าปรกติในระดับปานกลาง ถึงรุนแรง (ราชบัณฑิตยสถาน, ๒๕๕๓ : ๗๐) ผู้จ้างจึงให้ “แม่อุ้มบุญ” ไปท� ำแท้ง แต่แม่อุ้มบุญไม่ยอมโดย อ้างว่ากลัวบาปตามหลักค� ำสอนทางพระพุทธศาสนา เมื่อคลอดทารกทั้งชายหญิงแล้ว นายหน้าจึงติดต่อ

RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=