วารสารปี-40-ฉบับที่-3-resize
พลวั ตครั วเรื อน การขยายตั วของเศรษฐกิ จทุนนิ ยม และการเปลี่ ยนแปลงเกษตรกรรมในชนบทไทย 128 The Journal of the Royal Society of Thailand Vol. 40 No. 3 Jul-Sep 2015 ทั้งประเทศ แต่กลับต้องขึ้นอยู่กับการอุดหนุนจากภาครัฐ ไม่แบบใดก็แบบหนึ่ง เช่น การประกันราคา ผลผลิต การรับจ� ำน� ำผลผลิต หรือการจ่ายเงินอุดหนุนให้โดยตรง มาตรการเหล่านี้แม้ว่าอาจจะมีส่วนดี แต่ก็มี “อาการข้างเคียง” ที่ไม่พึงประสงค์อยู่ด้วย ตราบเท่าที่ยังไม่มีมาตรการที่จะปฏิรูปในระดับโครงสร้าง อย่างแท้จริง แต่การปฏิรูประดับโครงสร้างที่เหมาะสมจะเป็นไปได้อย่างไร? ข้อเสนอเชิงนโยบายต่อไปนี้ มุ่งไปที่การปฏิรูปทางโครงสร้างเกี่ยวกับเกษตรกรรม ๒ ด้าน ซึ่งสอดคล้องกับเนื้อหาของบทความที่เสนอ มาแล้วข้างต้น และที่นักวิชาการส่วนมากเห็นว่าเป็นประเด็นส� ำคัญในการปฏิรูปเพื่อแก้ปัญหาเกษตรกรรม [ดูรายละเอียดเพิ่มเติมเรื่องนี้ในเอกสารของ คณะกรรมการปฏิรูป (๒๕๕๔)] คือ ๑. การปฏิรูปที่ดินเพื่อการเกษตร เพราะที่ดินเป็นปัจจัยพื้นฐานของการผลิตทางการเกษตร ถ้าไม่มีกฎกติกาเกี่ยวกับการกระจายและการถือครองที่ดินอย่างเหมาะสม การเกษตรก็จะมีปัญหา ใหญ่หลวง แนวทางการปฏิรูปที่ดินควรประกอบด้วยสิ่งส� ำคัญต่อไปนี้ ก) ปฏิรูประบบข้อมูลที่ดินเพื่อการเกษตร โดยมีข้อมูลที่เป็นปัจจุบัน จากแหล่งข้อมูลเพียง แหล่งเดียว และเป็นข้อมูลที่ประชาชนเข้าถึงได้ ข) ก� ำหนดเพดานการถือครองที่ดินที่เหมาะสม ด้วยมาตรการทางภาษี ค) ก� ำหนดเขตการใช้ที่ดินและแผนการใช้ที่ดินเพื่อการเกษตรพร้อมกับให้การคุ้มครองที่ดิน เพื่อการเกษตร พื้นที่ที่ถูกก� ำหนดให้เป็นพื้นที่ท� ำการเกษตรต้องได้รับการคุ้มครองตามกฎหมาย จะแปรไป เป็นพื้นที่ประเภทอื่นไม่ได้ ง) จัดตั้งกองทุนหรือธนาคารที่ดินเพื่อการเกษตร ๒. ปฏิรูปการเกษตรเพื่อความเป็นธรรม แม้ว่ารายได้จากผลผลิตการเกษตรจะคิดเป็นเพียง ร้อยละ ๑๐ ของผลิตภัณฑ์มวลรวมประชาชาติ แต่แรงงานในภาคเกษตรก็มีจ� ำนวนถึง ๑๕ ล้านคน (๑๒ ล้านท� ำงานในที่ดินของตนเอง ๓ ล้านเป็นแรงงานรับจ้างในภาคเกษตร) ส่วนใหญ่แรงงานเหล่านี้ เป็นเกษตรกรขนาดเล็ก (รายย่อย) ที่มีความอ่อนแอในทุกทาง ดังนั้น การปฏิรูปควรจะมุ่งท� ำให้เกษตรกร มีอ� ำนาจต่อรองมากขึ้น โดยการสนับสนุนให้มีการรวมกลุ่มกันทุกรูปแบบในทุกระดับ เพื่อการผลิต การตลาด และการตัดสินใจในเรื่องที่จะมีผลกระทบต่ออาชีพเกษตรกรรม จัดให้มีระบบการศึกษาเรียนรู้ ส� ำหรับเกษตรกรรายย่อยผ่านสื่อและองค์กรต่าง ๆ ส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิของเกษตรกร สร้างหลัก ประกันความเสี่ยงทางเกษตรกรรมที่ยั่งยืน จัดให้มีตลาดสินค้าเกษตรที่หลากหลายและลดบทบาทของ รัฐในการเข้าไปแทรกแซงตลาดสินค้าเกษตรลงให้น้อยที่สุด ปรับเปลี่ยนแนวคิดจากการให้เกษตรกร ต้องพึ่งบริการจากรัฐ มาเป็นพึ่งตนเองและพึ่งกันเอง และสุดท้ายควรมีมาตรการจัดการเรื่องหนี้สินและ ทุนส� ำหรับครัวเรือนเกษตรกรที่เหมาะสม
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=