วารสารปี-40-ฉบับที่-3-resize

127 รองศาสตราจารย์ ดร.ชาย โพธิ สิ ตา วารสารราชบัณฑิตยสภา ปีที่ ๔๐ ฉบับที่ ๓ ก.ค.-ก.ย. ๒๕๕๘ แต่ด้านลบของความเปลี่ยนแปลงข้างต้นก็มีและมีความส� ำคัญไม่น้อยไปกว่ากัน แม้ว่า เทคโนโลยีสมัยใหม่และรายได้ครัวเรือนเกษตรกรอาจจะเพิ่มขึ้น แต่ต้นทุนท� ำการเกษตรก็สูงขึ้นด้วย นี่เป็น ปัญหาใหญ่ที่ท� ำให้ครัวเรือนเกษตรกรส่วนมากมีหนี้สิน เกษตรกรอาจหาเงินได้มากแต่เมื่อหักค่าใช้หนี้และ รายจ่ายอื่น ๆ ที่ลงทุนไปในการท� ำเกษตรกรรมแล้ว ส่วนที่เหลือเพื่อบริโภคอาจไม่มากเท่าที่ควร ครัวเรือน จ� ำนวนไม่น้อยอาจจมอยู่กับหนี้สินอย่างถอนตัวไม่ขึ้น อีกด้านหนึ่งของผลกระทบทางลบเกิดจากการใช้ สารเคมีในการเกษตร ท� ำให้เกษตรกรจ� ำนวนมากที่ไม่มีความรู้เพียงพอเกี่ยวกับผลกระทบต่อสุขภาพของ สารเคมีและใช้ไม่ถูกวิธี ต้องเสี่ยงต่อปัญหาสุขภาพอันเนื่องจากได้รับสารเคมีเกินระดับที่ปลอดภัย ทั้งนี้ ไม่รวมถึงการที่สารเคมีตกค้างในผลผลิตและในสิ่งแวดล้อม ซึ่งมีผลกระทบทั้งต่อสุขภาพของผู้บริโภค และเป็นมลพิษต่อสิ่งแวดล้อมด้วย ๒. การเติบโตขึ้นของธุรกิจการเกษตร อาจเป็นผลดีต่อการเพิ่มปริมาณและคุณภาพของผลผลิต การเกษตร ซึ่งสัดส่วนไม่น้อยของผลผลิตเป็นสินค้าส่งออกที่สร้างรายได้ให้ประเทศ แต่ก็จะเกิดการแข่งขัน ระหว่างเกษตรกรรายเล็กรายน้อย กับกลุ่มทุนรายใหญ่ที่ท� ำการเกษตร แน่นอนว่าในการแข่งขันที่เป็นไป แบบเสรีเช่นทุกวันนี้ เกษตรกรรายย่อยซึ่งส่วนมากแล้วมีทุนน้อย มีเทคโนโลยีที่ด้อยกว่า และไม่มีอ� ำนาจที่ จะต่อรองหรือควบคุมกลไกตลาดเลย ย่อมอยู่ในสภาพที่เสียเปรียบ ในที่สุดครัวเรือนเกษตรกรจ� ำนวนหนึ่ง อาจจะถูกเบียดขับออกจากอาชีพเกษตรกรรม ผันตัวเองไปเป็นแรงงานรับจ้าง ๓. เมื่อทรัพยากรการเกษตรคือที่ดินเกิดการกระจุกตัวมากขึ้น จ� ำนวนครัวเรือนเกษตรกรไร้ที่ดิน ท� ำกิน หรือมีที่ดินไม่เพียงพอ ก็จะเพิ่มมากขึ้น นั่นหมายความว่า จ� ำนวนครัวเรือนยากจนก็จะเพิ่มมากขึ้น ขณะที่ช่องว่างทางรายได้และช่องว่างทางสังคมในชนบทก็จะยิ่งกว้างมากขึ้น เช่นเดียวกับช่องว่างระหว่าง ชนบทกับเมืองก็จะมากขึ้นด้วยเช่นกัน เว้นแต่จะมีมาตรการรองรับที่มีประสิทธิภาพ ๔. การเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นในมิติด้านการเกษตรจะมีผลต่อมิติทางสังคมในชนบทอย่าง หลีกเลี่ยงได้ยาก จะเห็นได้เช่น เมื่อมีการน� ำเทคโนโลยีสมัยใหม่มาใช้ในการท� ำเกษตรกรรมอย่างกว้างขวาง ความสัมพันธ์ของคนในชุมชนเริ่มเปลี่ยนไป หนึ่งในนั้นคือ ครัวเรือนในชนบทไม่ได้พึ่งพากันด้านแรงงาน ในรูปของการถ้อยทีถ้อยอาศัยกันอีกต่อไป ระบบการเอาแรงกันในงานเกษตรกรรมหรือที่เรียกกันทั่วไป ว่า “ลงแขก” ซึ่งเป็นระบบที่ดีในการสนับสนุนกันด้านแรงงานของครัวเรือนในชนบทที่สืบทอดมายาวนาน ปัจจุบันเกือบจะไม่เหลืออยู่แล้ว ครัวเรือนในชนบทมีแนวโน้มที่จะเป็นปัจเจกมากขึ้น นั่นหมายความว่า การสนับสนุนกันทั้งในทางเศรษฐกิจและสังคมก็จะเปลี่ยนไปด้วยเช่นกัน เพราะผลกระทบที่กล่าวมาทั้งหมด จึงไม่น่าประหลาดใจเลยที่เกษตรกรรมไม่ใช่อาชีพที่ ดึงดูดความสนใจของคนส่วนมากในชนบทอีกต่อไป อาชีพการเกษตรที่มีครัวเรือนเกษตรกรในชนบท เป็น “ผู้แสดงหลัก” กลายเป็นอาชีพที่ไม่สามารถยืนอยู่ได้ด้วยตัวเอง ทั้ง ๆ ที่เป็นผู้ผลิตอาหารเลี้ยงคน

RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=