วารสารปี-40-ฉบับที่-3-resize
พลวั ตครั วเรื อน การขยายตั วของเศรษฐกิ จทุนนิ ยม และการเปลี่ ยนแปลงเกษตรกรรมในชนบทไทย 126 The Journal of the Royal Society of Thailand Vol. 40 No. 3 Jul-Sep 2015 ร้อยละ ๘๐ ของพื้นที่ถือครองที่มีโฉนดอยู่ในมือของคนเพียงร้อยละ ๒๐ ซึ่งมีฐานะดีที่สุดในสังคม เทียบกับที่ดินเพียงร้อยละ ๐.๒๕ ซึ่งถือครองโดยคนร้อยละ ๒๐ ในกลุ่มฐานะต�่ ำสุด การเปลี่ยนแปลงเกษตรกรรมที่ก� ำลังเกิดขึ้นในมิติทั้ง ๔ ที่กล่าวมาข้างต้น เป็นจุดเปลี่ยนของ เกษตรกรรมไทย ซึ่งอาจส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางสังคมและวิถีชีวิตของคนในชนบทอย่างส� ำคัญ ตารางที่ ๑ การกระจุกตัวของการถือครองที่ดินที่มีเอกสารสิทธิ์ประเภทโฉนด จ� ำแนกตามกลุ่ม ผู้ถือครอง ทั้งประเภทบุคคลธรรมดาและประเภทนิติบุคคลซึ่งแบ่งออกเป็น ๕ กลุ่มเท่า ๆ กัน พ.ศ. ๒๕๕๕ ๕ กลุ่ม (Quintile) จ� ำนวนผู้ถือครอง (ราย) พื้นที่ถือครอง (ไร่) ร้อยละ กลุ่มที่ ๑ (ถือครองน้อยสุด) ๓,๑๘๑,๔๐๖ ๒๓๒,๗๙๐ ๐.๒๕ กลุ่มที่ ๒ ๓,๑๘๐,๐๙๔ ๘๖๐,๐๔๒ ๐.๙๑ กลุ่มที่ ๓ ๓,๑๗๘,๔๘๐ ๓,๓๕๑,๑๗๓ ๓.๕๓ กลุ่มที่ ๔ ๓,๑๘๐,๐๘๕ ๑๔,๕๙๗,๑๙๔ ๑๕.๓๙ กลุ่มที่ ๕ (ถือครองมากสุด) ๓,๑๗๙,๙๘๒ ๗๕,๘๒๗,๔๑๒ ๗๙.๙๓ รวม ๑๕,๙๐๐,๐๔๗ ๙๔,๘๖๘,๖๑๓ ๑๐๐ ๖. สรุป : มองไปในอนาคต เมื่อสถานการณ์เป็นอยู่อย่างเช่นในปัจจุบัน จะเกิดอะไรขึ้นกับเกษตรกรรมและครัวเรือนเกษตรกร ในชนบท? ปัญหานี้แม้จะซับซ้อน แต่ก็ไม่ยากเกินกว่าที่จะคาดการณ์ได้ ก่อนอื่นต้องยอมรับว่าผลกระทบ ของความเปลี่ยนแปลงดังที่กล่าวมาข้างต้นมีทั้งบวกและลบ ๑. เมื่อมีการน� ำเทคโนโลยีมาใช้ในการท� ำเกษตรมากขึ้น ผลดีอาจจะอยู่ที่ความสะดวกสบาย ในการท� ำการเกษตร เกษตรกรอาจไม่จ� ำเป็นต้องท� ำงานแบบหลังสู้ฟ้าหน้าสู้ดินเหมือนในอดีต โดยผลผลิต ก็เพิ่มขึ้นด้วย ในอนาคตหากการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีการเกษตรยังก้าวหน้าต่อไป การท� ำเกษตร ก็อาจยิ่งสะดวกสบายมากขึ้นไปอีก และการใช้ที่ดินการเกษตรก็จะมีประสิทธิภาพมากขึ้นด้วย ขณะเดียวกัน การที่ระบบเกษตรเปลี่ยนจากการผลิตเพื่อบริโภคในครัวเรือนเป็นการผลิตเพื่อตลาด ก็จะช่วยให้รายได้ ของครัวเรือนเกษตรกรเพิ่มขึ้น (ถ้าราคาผลผลิตไม่ผันผวนมากนัก และถ้าต้นทุนการผลิตไม่สูงเกินไป) ในแง่นี้คุณภาพชีวิตในภาคชนบทก็จะดีขึ้น ทั้งหมดนี้เป็นการมองในด้านบวก ที่มา : ดวงมณี เลาวกุล. ๒๕๕๗
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=