วารสารปี-40-ฉบับที่-3-resize
125 รองศาสตราจารย์ ดร.ชาย โพธิ สิ ตา วารสารราชบัณฑิตยสภา ปีที่ ๔๐ ฉบับที่ ๓ ก.ค.-ก.ย. ๒๕๕๘ ส่วนในระดับองค์กรธุรกิจก็ได้เกิดบริษัทการเกษตรจ� ำนวนมาก ตั้งแต่ขนาดเล็กไปจนถึงขนาด ยักษ์ใหญ่ระดับบรรษัทข้ามชาติ ที่ลงทุนท� ำการผลิตทางการเกษตรอย่างครบวงจร ตั้งแต่ระดับต้นน�้ ำ คือ การผลิตวัตถุดิบทางการเกษตร ไปจนถึงระดับกลางน�้ ำคือการแปรรูปผลผลิตการเกษตร และระดับปลาย น�้ ำคือการตลาดเพื่อกระจายสินค้าเกษตร ๕.๔ โครงสร้างการถือครองที่ดินเปลี่ยนไป การเปลี่ยนแปลงจากระบบการผลิตเพื่อบริโภคในครัวเรือนเป็นการผลิตเพื่อขาย และ การปรากฏขึ้นของธุรกิจการเกษตรมีผลอย่างมากต่อโครงสร้างการถือครองที่ดินท� ำการเกษตรในชนบทไทย นอกเหนือจากการที่ครัวเรือนในชนบทจ� ำนวนนับล้านไม่มีที่ดินท� ำกิน หรือมีไม่เพียงพอด้วยเหตุผลต่าง ๆ ดังกล่าวมาข้างต้นแล้ว ที่ดินท� ำการเกษตรในหลายพื้นที่ก� ำลังเปลี่ยนมือไป การเปลี่ยนแปลงนั้นเกิดจาก ๒ สาเหตุ อย่างแรกคือ การขยายตัวของภาคอุตสาหกรรมและเขตเมือง อย่างที่ ๒ คือ การกว้านซื้อ ที่ดินของนายทุนในท้องถิ่น หรือกลุ่มทุนจากภายนอกเพื่อเก็งก� ำไรหรือเพื่อวัตถุประสงค์อื่น ส่งผลให้เกิด การกระจุกตัวของการถือครองที่ดิน (land concentration) การเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นก็ล้วนสะท้อน ให้เห็นอิทธิพลของระบบทุนนิยมที่ขยายตัวเข้าสู่ภาคชนบทมากขึ้น การขยายตัวของภาคอุตสาหกรรมภายใต้แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ท� ำให้ พื้นที่ท� ำการเกษตรจ� ำนวนมากเปลี่ยนไปเป็นพื้นที่ทางอุตสาหกรรม ทั้งในรูปของนิคมอุตสาหกรรมและ ในรูปแบบอื่น ๆ ในบางจังหวัด เช่น อยุธยา สมุทรปราการ ชลบุรี ระยอง สมุทรสาคร พื้นที่ท� ำการเกษตร ลดลงอย่างมาก การสูญเสียพื้นที่ท� ำการเกษตรให้แก่อุตสาหกรรมเกิดขึ้นมากในเขตส่งเสริมอุตสาหกรรม โดยเฉพาะแถบชายฝั่งทะเล ส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจและสังคมในท้องถิ่นรอบเขต อุตสาหกรรม ขณะเดียวกัน การขยายตัวของเขตเมือง โดยเฉพาะเมืองใหญ่ๆ ในทุกภาคของประเทศ ท� ำให้ ที่ดินท� ำการเกษตรรอบ ๆ ตัวเมืองถูกจัดสรรเพื่อปลูกสร้างอาคารที่อยู่อาศัยและพื้นที่เชิงพาณิชย์มากขึ้น กระบวนการเปลี่ยนแปลงนี้โดยมากไม่ค่อยมีการวางแผนที่ดี จึงก่อให้เกิดปัญหาสิ่งแวดล้อมที่มีผลกระทบ ต่อประชากรทั้งในเมืองและในพื้นที่เกษตรกรรมใกล้เคียง การกระจุกตัวของการถือครองที่ดินเป็นอีกมิติหนึ่งของการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างการถือ ครองที่ดิน ซึ่งก� ำลังเป็นปัญหาที่ทวีความรุนแรงมากขึ้นในปัจจุบัน ไม่เฉพาะปัญหาในทางการเกษตร แต่ เป็นปัญหาสังคมด้านอื่น ๆ ด้วย เนื่องจากที่ดินถือเป็นสินค้าชนิดหนึ่ง ที่สามารถซื้อขายในตลาดได้อย่างเสรี เช่นเดียวกับสินค้าทั่วไป นอกจากนี้ ที่ดินยังเป็นสินค้าที่ไม่เสื่อมราคา ดังนั้นจึงเป็นที่คนรวยส่วนมากต้องการ มีไว้ในครอบครอง เมื่อบวกกับการที่กฎกติกาในการถือครองที่ดินก็ยังไม่ดีพอ ท� ำให้การถือครองที่ดิน โดยไม่จ� ำกัดขนาดทั้งเพื่อท� ำการเกษตรและเพื่อเก็งก� ำไรเป็นไปได้อย่างแทบไม่มีขอบเขตจ� ำกัด ผลที่ตาม มาคือเกิดการกระจุกตัวของการถือครองที่ดินอย่างรุนแรงดังข้อมูลในตารางที่ ๑ ซึ่งชี้ให้เห็นว่า ประมาณ
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=