วารสารปี-40-ฉบับที่-3-resize
พลวั ตครั วเรื อน การขยายตั วของเศรษฐกิ จทุนนิ ยม และการเปลี่ ยนแปลงเกษตรกรรมในชนบทไทย 124 The Journal of the Royal Society of Thailand Vol. 40 No. 3 Jul-Sep 2015 และการกระจายอาหารเป็นธุรกิจส� ำคัญอย่างหนึ่ง นั่นคือธุรกิจการเกษตร (agribusiness) ที่ดึงดูดกลุ่ม ทุนใหญ่ ๆ ให้เข้ามาท� ำธุรกิจนี้มากขึ้น นักธุรกิจการเกษตรมีหลายระดับ ทั้งระดับบุคคลและระดับองค์กรทางธุรกิจ ในระดับบุคคล ได้แก่ เอกชนรายย่อยในท้องถิ่นที่มีทุน อาจเป็นข้าราชการบ� ำนาญ พนักงานองค์กรในท้องถิ่น หรือบุคคลฐานะดี ในชุมชน คนเหล่านี้มักเช่าที่ดินจากเกษตรกรมาจ� ำนวนมาก ๆ เพื่อปลูกข้าว หรือพืชอย่างอื่น แล้วว่าจ้าง แรงงานในท้องถิ่นท� ำงานให้ในทุกขั้นตอน โดยตนเองท� ำหน้าที่เป็น “ผู้จัดการฟาร์ม” ที่ไม่ต้องลงมือท� ำ กิจกรรมในนาในไร่ด้วยตัวเองเลย เมื่อเก็บเกี่ยวแล้วก็ขายทั้งหมด (สุริยนต์ ธัญกิจจานุกิจ และคณะ, ๒๕๕๓) บางรายอาจเป็นคนกลางรับซื้อผลผลิตส่งให้ผู้ค้ารายใหญ่ในเมืองอีกทอดหนึ่ง หรือเป็นนายหน้าในระบบ เกษตรพันธสัญญา (contract farming) ซึ่งก� ำลังขยายตัวมากขึ้นในชนบทปัจจุบัน เป็นที่น่าสังเกตว่า ในหมู่เกษตรกรเองก็มีแนวโน้มที่จะเปลี่ยนแปลงการท� ำเกษตรของตนไปใน ทิศทางที่เป็นธุรกิจการเกษตร หรือเกษตรเชิงพาณิชย์มากขึ้น มีการส� ำรวจความเห็นของชาวนาในภาคกลาง ที่สนับสนุนข้อนี้ ในการส� ำรวจดังกล่าว ชาวนากลุ่มตัวอย่างถูกขอให้มองภาพตัวเองใน ๓ ช่วงเวลา คือในปัจจุบัน (หมายถึงในปี ๒๕๕๒-๒๕๕๓ ที่ท� ำการส� ำรวจ) ในอีก ๕ ปี และในอีก ๑๐ ปี ข้างหน้า ว่าจะยังเป็นชาวไร่ชาวนาแบบดั้งเดิม หรือเป็นเกษตรกรก้าวหน้าที่ใช้เทคโนโลยีมากขึ้นไปเรื่อย ๆ หรือ ว่าจะผันตัวเองไปสู่เกษตรเชิงพาณิชย์ ผลการส� ำรวจแสดงให้เห็นแนวโน้มไปในทางที่ส่วนใหญ่จะเป็น เกษตรกรก้าวหน้าและนักธุรกิจการเกษตรมากขึ้น ดังข้อมูลในรูปที่ ๕ ร้อยละ 100 80 60 40 20 0 ปัจจุบัน 5 ปีข้างหน้า 10 ปีข้างหน้า เกษตรกรแบบเดิม เกษตรกรก้าวหน้า นักธุรกิจการเกษตร ที่มา : สุริยนต์ ธัญกิจจานุกิจ และคณะ, ๒๕๕๓. รูปที่ ๕ ร้อยละของเกษตรกรในภาคกลางที่มองตัวเองว่าจะเป็นเกษตรกรประเภทใด ใน ๓ ช่วงเวลา
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=