วารสารปี-40-ฉบับที่-3-resize

123 รองศาสตราจารย์ ดร.ชาย โพธิ สิ ตา วารสารราชบัณฑิตยสภา ปีที่ ๔๐ ฉบับที่ ๓ ก.ค.-ก.ย. ๒๕๕๘ ๔ ปัจจุบันนี้เกษตรกรรมที่ใช้แรงงานคนและแรงงานสัตว์ ไม่ใช้เครื่องจักรและไม่พึ่งสารเคมี อาจจะมีอยู่บ้างในฐานะเป็น “เกษตรทางเลือก” หรือ “เกษตรอินทรีย์” แต่ไม่ใช่กระแสหลัก แม้เกษตรแบบนี้ก็ยังท� ำการผลิตเพื่อการขายเหมือนเกษตรกระแสหลัก ครัวเรือนเกษตรกร ที่ท� ำการผลิตแบบดั้งเดิมจริง ๆ มีน้อย ๕ ในโลกปัจจุบัน นอกจากอาหารแล้ว ที่มาของอ� ำนาจอย่างอื่น ได้แก่ เทคโนโลยี พลังงาน และอาวุธที่มีอานุภาพสูง อย่างส� ำคัญเช่นนี้ เกษตรกรรมในปัจจุบันจึงเป็นเกษตรที่ใช้ทุนสูง (capital-intensive) ไม่ใช่เกษตร ที่ใช้แรงงานมาก (labor-intensive) เหมือนในอดีตอีกต่อไป ๔ ข้อมูลจากการศึกษาครัวเรือนในชุมชน ชาวนาแห่งหนึ่งในจังหวัดสุพรรณบุรี เป็นกรณีตัวอย่างของการท� ำนาปลูกข้าวที่ใช้ทุนมาก ซึ่งเห็นได้ทั่วไป ในทุกภาคของประเทศ ค่าใช้จ่ายส่วนใหญ่ที่สุดคือค่าเช่าหรือซื้อเครื่องจักร รองลงมาเป็นค่าสารเคมี และพันธุ์พืช ดังแสดงในรูปที่ ๔ รูปที่ ๔ ร้อยละของค่าใช้จ่ายในการปลูกข้าวของชาวนาในชุมชนแห่งหนึ่งของจังหวัดสุพรรณบุรี, ๒๕๕๑ เครื่องจักรและ เชื้อเพลิง ๑๔ เช่าเครื่องจักรเพื่อไถ พ่นสารเคมี และเก็บเกี่ยว ๔๐ อินทรียวัตถุ ๑ ปุ๋ยเคมี ยาปราบ ศัตรูพืช ๓๒ เมล็ดพันธ์ุ ๑๓ ที่มา : วิฑูรย์ เลี่ยนจ� ำรูญ และคณะ, ๒๕๕๑ ๕.๓ เกิดธุรกิจการเกษตร เนื่องจากเกษตรกรรมคือที่มาของอาหาร และเนื่องจากในโลกปัจจุบันอาหารคืออ� ำนาจใคร (เอกชน องค์กร หรือประเทศ) ที่สามารถควบคุมการผลิตและการกระจายอาหารได้ คนนั้นก็จะมีอ� ำนาจ ในการต่อรองสูง ในแง่นี้อาหารก็คืออ� ำนาจอย่างหนึ่ง ๕ ภายใต้ระบบทุนนิยมในสังคมไทยปัจจุบัน การผลิต

RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=