วารสารปี-40-ฉบับที่-3-resize
พลวั ตครั วเรื อน การขยายตั วของเศรษฐกิ จทุนนิ ยม และการเปลี่ ยนแปลงเกษตรกรรมในชนบทไทย 122 The Journal of the Royal Society of Thailand Vol. 40 No. 3 Jul-Sep 2015 ขณะเดียวกัน การขยายตัวของการค้าผลผลิตการเกษตรเป็นแรงจูงใจให้เกิดเกษตรเชิงพาณิชย์ ที่มี “ผู้แสดง” ส� ำคัญคือกลุ่มทุนน้อยใหญ่ ทั้งจากภายในและภายนอกชนบท กลุ่มทุนเหล่านี้ประกอบการเกษตร เพื่อการค้าขายและท� ำเป็นอุตสาหกรรม ผลที่ตามมา คือ เกิดการเปลี่ยนแปลงทั้งในการท� ำเกษตรกรรม และในมิติทางสังคมที่เกี่ยวข้องอย่างที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อนในสังคมไทย ๕. การเปลี่ยนแปลงเกษตรกรรมในชนบทไทย การเปลี่ยนแปลงที่ส� ำคัญในช่วงเวลาประมาณ ๔๐-๕๐ ปีที่ผ่านมาอาจสรุปได้ดังนี้ ๕.๑ รูปแบบการผลิตเปลี่ยนไป อาชีพเกษตรกรรมในประเทศไทยก� ำลังเปลี่ยนจากการผลิตแบบพอยังชีพเพื่อบริโภค ในครัวเรือนเป็นการผลิตเพื่อขาย การเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นนี้เป็นการตอบสนองทั้งต่อนโยบายของรัฐ ที่ต้องการเพิ่มรายได้จากต่างประเทศ และต่อความต้องการสินค้าเกษตรของต่างประเทศด้วย ตั้งแต่ ช่วงหลัง พ.ศ. ๒๕๐๐ เป็นต้นมา พื้นที่เพาะปลูกและผลผลิตพืชเศรษฐกิจส� ำคัญ ๆ เพิ่มอย่างรวดเร็ว ไม่ว่า จะเป็น ข้าว ข้าวโพด มันส� ำปะหลัง อ้อย ยางพารา หรือปาล์มน�้ ำมัน การเพาะปลูกเพื่อขายนั้น ปัจจุบัน อาจกล่าวได้ว่าเป็นกระแสหลักของการเกษตรในแทบทุกพื้นที่ ทั้งในที่ราบและบนที่สูง และไม่เฉพาะ เกษตรกรรายใหญ่เท่านั้น แม้เกษตรกรรายเล็กทั่วไปก็ผลิตเพื่อขายด้วยเช่นกัน เช่น ในแถบที่ราบลุ่ม น�้ ำเจ้าพระยาที่เกษตรกรสามารถปลูกข้าวได้ ๒-๓ ครั้งต่อปี ครัวเรือนจ� ำนวนมากขายข้าวที่ตัวเอง ปลูกทั้งหมด แล้ วซื้อข้ าวที่คุณภาพดีกว่ าจากตลาดมาบริโภค ๓ ตลาดจึงมีความส� ำคัญต่อชีวิต ประจ� ำวันในชนบทมากอย่างที่ไม่เคยเป็นมาก่อน ทั้งในกระบวนการผลิต ขายผลผลิตและการบริโภค มีข้อมูลจากการส� ำรวจของส� ำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ แสดงให้เห็นว่า ในปีการเพาะปลูก ๒๕๔๔-๒๕๔๕ เพียงร้อยละ ๓๐ ของครัวเรือนเกษตรกรทั่วประเทศเท่านั้นที่ใช้ผลผลิต จากไร่นาของตนเพื่อการบริโภคเป็นส่วนใหญ่ ที่เหลืออีกร้อยละ ๗๐ มุ่งขายผลผลิตส่วนใหญ่ที่ผลิต จากไร่นา (ส� ำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร, ๒๕๔๖) ๕.๒ วิธีการผลิตเปลี่ยนไป การเปลี่ยนแปลงขนานใหญ่อย่างหนึ่งในเกษตรกรรมของไทย คือการที่เครื่องจักรเข้ามา มีบทบาทแทนแรงงานคนและสัตว์ ซึ่งเคยมีบทบาทส� ำคัญยิ่งในอดีต ไม่เพียงแต่เท่านั้น การเปลี่ยนแปลงนี้ ยังรวมถึงการใช้เทคโนโลยีอื่นเข้ามาช่วยในการเพาะปลูกอีกมาก เฉพาะอย่างยิ่งคือสารเคมี (ปุ๋ย ยาฆ่าแมลง) รวมถึงพันธุ์พืชพันธุ์สัตว์ที่ปรับปรุงขึ้นใหม่ด้วยเทคโนโลยีชีวภาพ เนื่องจากวิธีการผลิตเปลี่ยนแปลงไป ๓ สัมภาษณ์ชาวนาที่จังหวัดสุพรรณบุรี โดยผู้เขียน เมื่อเดือนมกราคม พ.ศ. ๒๕๕๕
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=