วารสารปี-40-ฉบับที่-3-resize
121 รองศาสตราจารย์ ดร.ชาย โพธิ สิ ตา วารสารราชบัณฑิตยสภา ปีที่ ๔๐ ฉบับที่ ๓ ก.ค.-ก.ย. ๒๕๕๘ กล่าวโดยสรุป พลวัตครัวเรือนซึ่งเป็นผลพวงของกระบวนการเปลี่ยนแปลงทางประชากร ต่อเนื่องมาหลายสิบปีท� ำให้ครัวเรือนในชนบทมีขนาดเล็กลง และในเวลาเดียวกันเนื่องจากมีการเคลื่อนย้าย แรงงานจากภาคเกษตรเข้าสู่ภาคอุตสาหกรรมและภาคบริการมากขึ้น จึงท� ำให้เกิดภาวะขาดแคลนแรงงาน ในภาคเกษตร สภาพดังกล่าวนี้ เมื่อประจวบเข้าพอดีกับการปฏิวัติเขียวที่น� ำเอาเทคโนโลยีการเกษตร ใหม่ ๆ เข้าสู่ชนบท ได้กลายเป็นเงื่อนไขที่เอื้อให้ครัวเรือนเกษตรกรจ� ำนวนมากหันไปใช้เทคโนโลยีและ เครื่องจักรแทนแรงงานคน ขณะเดียวกันพลวัตอันเป็นผลพวงจากกระบวนการแยกครัวเรือนซึ่งเกิดควบคู่ กับการแบ่งสรรทรัพยากรการเกษตร (ที่ดิน) ท� ำให้ครัวเรือนในชนบทจ� ำนวนมากมีที่ดินท� ำกินไม่เพียงพอ และ จ� ำนวนมากไร้ที่ดินท� ำกิน กลายเป็นแรงงานรับจ้างทั้งในและนอกภาคเกษตร เกษตรกรรมจึงได้รับความสนใจ จากแรงงานหนุ่มสาวน้อยลง ขณะที่แรงงานที่เหลืออยู่ในภาคเกษตรก็เป็นแรงงานที่มีอายุมากขึ้นเรื่อย ๆ หรือมิฉะนั้นก็เป็นแรงงานผู้สูงอายุ การเปลี่ยนแปลงในมิตินี้มีผลโดยตรงทั้งต่อเกษตรกรรมและต่อสังคม ชนบทโดยรวม ๔. การขยายตัวของเศรษฐกิจทุนนิยมสู่ชนบทและภาคเกษตรกรรม แม้ว่าจะมีการติดต่อค้าขายกับต่างประเทศมาอย่างน้อยก็ตั้งแต่สมัยอยุธยา แต่ไทยก็ยังไม่ได้รับ ผลพวงจากทุนนิยมโลกอย่างชัดเจนจนกระทั่งกลางคริสต์ศตวรรษที่ ๑๙ เมื่อรัฐไทยท� ำสนธิสัญญาเบาว์ริง กับสหราชอาณาจักรใน ค.ศ. ๑๘๕๕ (พ.ศ. ๒๓๙๘) ทุนนิยมจึงเริ่มหยั่งรากในเศรษฐกิจไทย อย่างไรก็ตาม ยกเว้นชาวนาในภาคกลางที่อยู่ใกล้กับเส้นทางขนส่งทางน�้ ำหลักๆ แล้ว ชาวนาในภาคอื่นๆ ของประเทศแทบ ไม่ได้ “สัมผัส” กลิ่นไอของเศรษฐกิจแบบทุนนิยมเลย จนถึงช่วงการเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ. ๒๔๗๕ แม้กระนั้นการผลิตเพื่อการบริโภคในครัวเรือน หรือเกษตรกรรมแบบพอยังชีพ (subsistence agriculture) ยังคงเป็นแกนหลักของเศรษฐกิจหมู่บ้านอยู่อย่างเหนียวแน่น (ฉัตรทิพย์ นาถสุภา และคณะ, ๒๕๕๓) แม้หลังสงครามโลกครั้งที่ ๒ ที่การผลิตข้าวเพื่อขายเริ่มขยายตัวมากขึ้น แต่การผลิตเพื่อขายก็ยังไม่ใช่ ส่วนส� ำคัญของเศรษฐกิจหมู่บ้าน จนกระทั่งหลัง พ.ศ. ๒๕๐๐ เมื่อประเทศไทยเริ่มนโยบายพัฒนาประเทศ อย่างจริงจัง และตั้งแต่นั้นมาระบบทุนนิยมที่มีตลาดเป็นกลไกส� ำคัญจึงเริ่มแผ่ขยายเข้าสู่ชนบทไทยมากขึ้น เมื่อมีแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติขึ้นใน พ.ศ. ๒๕๐๔ (ฉบับที่ ๑ พ.ศ. ๒๕๐๔-๒๕๐๙, ปัจจุบันคือฉบับที่ ๑๑ พ.ศ. ๒๕๕๕-๒๕๕๙) นโยบายส่งออกสินค้าเกษตรและสินค้าอื่น ๆ เป็นแรงจูงใจ ส� ำคัญให้ครัวเรือนเกษตรกรท� ำการผลิตเพื่อขายมากขึ้น นอกจากข้าว ซึ่งเป็นพืชหลักของเกษตรกรไทยแล้ว การปลูกพืชเศรษฐกิจอื่น ๆ เช่น ข้าวโพด มันส� ำปะหลัง อ้อย ยางพารา ก็ขยายตัวมากขึ้นด้วย นอกจากนี้ เกษตรกรยังมีการเลี้ยงสัตว์บกและสัตว์น�้ ำกันอย่างกว้างขวางด้วย ส่วนใหญ่ที่สุดมุ่งเพื่อการขาย ครัวเรือน เกษตรกรไทยใน “ยุคพัฒนา” จึงถูกดึงเข้าสู่ระบบเศรษฐกิจทุนนิยมมากขึ้นโดยล� ำดับ
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=