วารสารปี-40-ฉบับที่-3-resize

119 รองศาสตราจารย์ ดร.ชาย โพธิ สิ ตา วารสารราชบัณฑิตยสภา ปีที่ ๔๐ ฉบับที่ ๓ ก.ค.-ก.ย. ๒๕๕๘ ที่ดินที่ครัวเรือนรุ่นลูกและรุ่นต่อ ๆ ไปได้รับจากรุ่นพ่อแม่จะลดลงเร็วหรือช้าเพียงใดขึ้นอยู่ กับเงื่อนไข ๓ ประการ คือ ขนาดที่ดินที่มีอยู่ของรุ่นพ่อแม่ จ� ำนวนลูกในครัวเรือนของแต่ละรุ่น และ ความสามารถในการหาที่ดินเพิ่มขึ้นจากแหล่งอื่น (เช่น ซื้อหรือบุกเบิกที่ใหม่) อย่างไรก็ตาม แม้ว่าครัวเรือน เกษตรกรทุกวันนี้จะมีบุตรน้อยลง (โดยเฉลี่ยเพียง ๑-๒ คนเท่านั้น) แต่ก็ชะลออัตราการลดลงได้ไม่มากนัก ในหลายกรณีที่ดินท� ำการเกษตรของครัวเรือนมีขนาดเล็กลงมากจนถึงจุดที่เมื่อแบ่งกันแล้วส่วนแบ่งที่ ทุกคนได้รับจะเล็กมากจนไม่เพียงพอส� ำหรับท� ำกิน ครัวเรือนเกษตรกรจ� ำนวนไม่น้อยจึงต้องหาทางเลือกอื่น เช่น วางแผนให้ลูกบางคนหรือทุกคนได้รับการศึกษา เพื่อจะสามารถหาอาชีพนอกการเกษตรได้ หรือ มิฉะนั้นพี่น้องก็อาจตกลงกันยกที่ดินมรดกจากพ่อแม่ให้แก่คนใดคนหนึ่ง ส่วนคนที่เหลือได้เงินหรือทรัพย์สิน อย่างอื่นจากพ่อแม่หรือจากพี่หรือน้องคนที่ได้ที่ดินนั้น บางรายอาจเช่าที่ดินของคนอื่นมาเพิ่มในการท� ำการ เกษตร หรือมิฉะนั้นก็อาจจะยกที่ดินขนาดเล็กที่มีอยู่ของตนให้คนอื่นเช่า ส่วนตัวเองก็หาเลี้ยงชีพด้วย การเป็นชาวนารับจ้าง หรือท� ำอาชีพอื่น โดยนัยนี้ ครัวเรือนจ� ำนวนหนึ่งจึงกลายเป็นครัวเรือนเกษตรกร ไร้ที่ดินท� ำกิน กลุ่มนี้ถ้าไม่เป็นแรงงานรับจ้างในภาคเกษตรหรือนอกภาคเกษตร ก็จ� ำเป็นต้องหาที่ท� ำกิน ในที่ดินสาธารณะ ซึ่งปัจจุบันมีจ� ำนวนหลายแสนครัวเรือน เรื่องนี้ก� ำลังเป็นปัญหาที่รุนแรงมากขึ้น ดังจะเห็นได้จากข้อมูลที่สรุปมาในกรอบที่ ๑ กรอบที่ ๑ : เกษตรกรไร้ที่ท� ำกิน ในปี ๒๕๔๖ ครัวเรือนเกษตรกรประมาณ ๖๕๐,๐๐๐ ครัวเรือนไม่มีที่ดินท� ำกิน แต่ก็มีความ แตกต่างกันอย่างมากระหว่างภาคต่าง ๆ กล่าวคือ ภาคกลางมีสัดส่วนเกษตรกรไร้ที่ท� ำกินสูงที่สุด ภาคตะวันออกเฉียงเหนือต�่ ำที่สุด หลักฐานอีกอย่างหนึ่งที่แสดงว่า ครัวเรือนเกษตรกรไร้ที่ท� ำกิน มีจ� ำนวนมาก คือข้อมูลการขึ้นทะเบียนคนจนในปี ๒๕๔๗ ซึ่งก� ำหนดให้ขึ้นทะเบียนคนจน ๒ กลุ่ม คือ กลุ่มที่ไม่มีที่ดินท� ำกินเป็นของตัวเอง หรือมีแต่ไม่เพียงพอ และกลุ่มที่ท� ำกินในที่ดินสาธารณะ โดยไม่ถูกกฎหมาย ปรากฏว่ามีผู้มาขึ้นทะเบียนรวมทั้งสิ้น ๔.๘๔๙ ล้านราย เห็นได้ชัดว่า ปัญหาที่ท� ำกินเป็นปัญหาของเกษตรกรกลุ่มใหญ่มาก เป็นวิกฤติสังคมที่สะสม มานาน และนับวันจะพอกพูนมากขึ้น ที่มา :  โครงการสุขภาพคนไทย, ๒๕๕๕ ผลที่ตามมาอย่างหนึ่งคือ เกษตรกรรม ซึ่งในอดีตเคยเป็นอาชีพส� ำคัญของคนส่วนใหญ่ในชนบท บัดนี้ ได้สูญเสียความดึงดูดในหมู่คนหนุ่มสาวยุคปัจจุบันไปมาก ดังจะเห็นได้ว่าสัดส่วนของแรงงานวัยหนุ่มสาว (อายุ ๑๕-๓๔ ปี) ในอาชีพเกษตรกรรมในช่วงเวลาตั้งแต่ พ.ศ. ๒๕๒๘-๒๕๓๓ ลดลงจากร้อยละ ๖๐

RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=