วารสารปี-40-ฉบับที่-3-resize

สมเด็ จพระนางเจ้าสิ ริ กิ ติ์ พระบรมราชิ นี นาถ กั บการส่งเสริ มหั ตถกรรมทอผ้าอี สาน 2 The Journal of the Royal Society of Thailand Vol. 40 No. 3 Jul-Sep 2015 ๑ ปิยนาถ บุนนาคและคณะ “แพร ฝ้าย ขิด มัดหมี่ ศรีอีสาน” ใน สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถกับการพัฒนาศิลปวัฒนธรรม ของชาติ ศึกษาเฉพาะงานศิลปหัตถกรรม. (กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, ม.ป.ป.) หน้า ๖๙. ๒ เพิ่งอ้าง. ในกรุงเทพฯ และเมืองใหญ่ นับเป็นทางเลือกซึ่งเป็นที่นิยมของคนหนุ่มสาว ในชนบทภาคอีสานจึงมีเพียง ผู้สูงอายุที่ยังคงทอผ้าด้วยกรรมวิธีแบบดั้งเดิมเพียงปีละไม่กี่ผืน ด้วยเหตุนี้หัตถกรรมทอผ้าจึงซบเซาลง ซึ่งถ้ายังคงสภาพเช่นนี้อยู่ต่อไปภาคอีสานคงจะสูญเสียหัตถกรรมทอผ้าอันเป็นวัฒนธรรมหลักที่สืบทอด อย่างต่อเนื่องกันมาเป็นเวลานาน เพราะขาดเยาวชนที่จะสืบสานงานศิลปหัตถกรรมนี้ต่อไป ในสภาพ การณ์ดังกล่าวสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถได้ทรงเข้ามาส่งเสริมหัตถกรรมทอผ้าอีสานให้ ยังคงอยู่และสืบทอดเป็นมรดกทางวัฒนธรรมต่อมาจนถึงปัจจุบัน โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อช่วยแก้ปัญหา ความยากจนของราษฎรพร้อม ๆ กับการอนุรักษ์งานฝีมือผ้าทออีสาน จุดเริ่มต้นของการส่งเสริมหัตถกรรมทอผ้าอีสาน สืบเนื่องมาจากในเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๑๓ เกิดอุทกภัยขึ้นที่จังหวัดนครพนม ราษฎร ได้รับความทุกข์ยากอย่างมากทั้งในด้านที่อยู่อาศัยและการประกอบอาชีพ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถได้เสด็จพระราชด� ำเนินเยี่ยมราษฎรในท้องที่นั้น เพื่อพระราชทานเครื่องอุปโภคบริโภคเป็นการบรรเทาความทุกข์ยากเดือดร้อนของพสกนิกร ในครั้งนั้น พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวพระราชทานพระราชด� ำริแก่สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถว่า การพระราชทานสิ่งของแก่ราษฎรเป็นเพียงการแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้า หากต้องการ แก้ไขปัญหาระยะยาวจะต้องหาทางให้ราษฎรมีรายได้สามารถเลี้ยงตนเองอย่างสม�่ ำเสมอต่อไป ๑ สมเด็จ พระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ จึงทรงพิจารณาจะสนองแนวพระราชด� ำริที่จะส่งเสริมให้ราษฎร เลี้ยงตัวเองได้ จากการที่สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ทรงเอาพระราชหฤทัยใส่ในศิลป หัตถกรรมของไทย เมื่อทอดพระเนตรเห็นว่าสตรีชาวบ้านที่มารับเสด็จจากอ� ำเภอต่าง ๆ ในจังหวัดนครพนม ส่วนใหญ่นุ่งซิ่นผ้าไหมมัดหมี่ซึ่งทอขึ้นใช้เองมีสีสันสวยงาม ทรงพระราชด� ำริว่าการทอผ้าของชาวอีสานน่าจะ ได้รับการส่งเสริมให้เป็นอาชีพเสริมเพิ่มรายได้ให้แก่ครอบครัว ทั้งยังเป็นการฟื้นฟูศิลปหัตถกรรมพื้นบ้านที่ ก� ำลังสูญหายให้ด� ำรงอยู่ได้อีกด้วย จึงโปรดเกล้าฯ ให้สตรีชาวบ้านในเขตอ� ำเภอนาหว้า ทอผ้าขึ้นทูลเกล้าฯ ถวาย โดยพระราชทานเงินค่าตอบแทนอย่างคุ้มค่า ต่อมา โปรดเกล้าฯ ให้ราชเลขานุการในพระองค์และ คณะให้ค� ำแนะน� ำในการจัดตั้งกลุ่มทอผ้า ได้แก่ โครงการส่งเสริมศิลปาชีพพิเศษทอผ้าไหม อ� ำเภอนาหว้า จังหวัดนครพนม ใน พ.ศ. ๒๕๑๕ ๒

RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=