วารสารปี-40-ฉบับที่-3-resize
117 รองศาสตราจารย์ ดร.ชาย โพธิ สิ ตา วารสารราชบัณฑิตยสภา ปีที่ ๔๐ ฉบับที่ ๓ ก.ค.-ก.ย. ๒๕๕๘ ๓.๒ การแยกครัวเรือนและการจัดสรรทรัพยากร อีกด้านหนึ่งของพลวัตครัวเรือนเกิดจากการที่สมาชิกรุ่นลูกย้ายออกจากครัวเรือนพ่อแม่ ไปสร้างครัวเรือนใหม่ของตน ครัวเรือนส่วนมากจะได้ประสบกับเรื่องนี้เมื่อลูกเติบโตแต่งงาน และแยก ออกไปสร้างครัวเรือนใหม่ของแต่ละคน ในการนี้ทรัพยากรของครัวเรือน (ที่ส� ำคัญคือที่ดินท� ำการเกษตร) จะถูกจัดสรรให้แก่ลูกที่แยกครัวเรือนออกไป เพื่อเป็นทรัพยากรในการสร้างครอบครัว ธรรมเนียมปฏิบัติ ในเรื่องนี้ที่ยึดถือกันทั่วไปในสังคมไทยมีอยู่ว่า ลูกทุกคนทั้งหญิงและชายมีสิทธิและได้รับส่วนแบ่งเท่ากัน แม้ว่าอาจจะมีความแตกต่างกันระหว่างเมืองกับชนบท และระหว่างชนชั้นบ้างก็ตาม นอกจากนี้ยังมี กฎหมายครอบครัวที่เป็นหลักประกันว่าการจัดสรรทรัพยากรครัวเรือน (หรือมรดก) ให้แก่ลูกจะเป็นไป ด้วยความราบรื่น จ� ำนวน ร้อยละ 1,400,000 8 7 6 5 4 3 2 1 0 1,200,000 1,000,000 800,000 600,000 400,000 200,000 0 ที่มา : ค� ำนวณจากข้อมูลการส� ำรวจสภาวะทางสังคมและเศรษฐกิจครัวเรือน ของส� ำนักงานสถิติแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๓๑, ๒๕๔๑ และ ๒๕๕๑ 2531 2541 2551 รูปที่ ๑ จ� ำนวนและร้อยละของครัวเรือนข้ามรุ่น พ.ศ. ๒๕๓๑-๒๕๕๑
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=