วารสารปี-40-ฉบับที่-3-resize
พลวั ตครั วเรื อน การขยายตั วของเศรษฐกิ จทุนนิ ยม และการเปลี่ ยนแปลงเกษตรกรรมในชนบทไทย 114 The Journal of the Royal Society of Thailand Vol. 40 No. 3 Jul-Sep 2015 จากการเพิ่มขึ้นของจ� ำนวนประชากร ซึ่งท� ำให้มนุษย์ค้นหาวิธีการเพาะปลูกที่สามารถให้ผลผลิตเพียงพอ ส� ำหรับการบริโภคของประชากร วิวัฒนาการของเกษตรกรรมเริ่มจากวิธีการเพาะปลูกที่ใช้เทคโนโลยีไม่ซับ ซ้อนและให้ผลผลิตน้อย ไปสู่วิธีที่ใช้เทคโนโลยีซับซ้อนและให้ผลผลิตมาก ขั้นตอนหลัก ๆ ของวิวัฒนาการ เริ่มด้วยการเพาะปลูกแบบย้ายที่ไปเรื่อย (shifting cultivation) หรือที่เรียกว่าการท� ำไร่เลื่อนลอย ไปสู่ การเพาะปลูกแบบไถหว่าน (broadcasting cultivation) การเพาะปลูกแบบปักด� ำ (transplanting cultivation) และการเพาะปลูกที่เทคโนโลยีสมัยใหม่มีบทบาทส� ำคัญในการเพิ่มผลผลิต ที่รู้จักกันในนาม “การปฏิวัติเขียว” [Green Revolution – ดูข้อ (๓)] ซึ่งเริ่มขึ้นตั้งแต่หลังสงครามโลกครั้งที่ ๒ แนวคิดของโบเซรัปได้รับการยืนยันจากการศึกษาชุมชนเกษตรกรรมในประเทศไทยของ ลูเซียนต์ เอ็ม. แฮงส์ (Luciant M. Hanks) นักมานุษยวิทยาชาวอเมริกัน ซึ่งศึกษาที่หมู่บ้านบางชันในเขต ชานเมืองของกรุงเทพมหานคร (ในตอนนั้นบางชันยังเป็นชุมชนเกษตรกรรม แต่ในปัจจุบันเป็นชุมชนเมือง แล้ว) จากการศึกษาประวัติศาสตร์สังคมของบางชันย้อนหลังไปประมาณ ๑๐๐ ปี ถึงกลางคริสต์ศตวรรษ ที่ ๑๙ แฮงส์พบว่า การท� ำเกษตรกรรมของชุมชนแห่งนี้เริ่มจากการเพาะปลูกแบบย้ายที่ไปเรื่อย หรือ ที่เรียกว่าท� ำไร่เลื่อนลอย (ระหว่าง ค.ศ. ๑๘๕๐-๑๘๙๐) แล้ววิวัฒนาการไปสู่การเพาะปลูกแบบไถหว่าน (ระหว่าง ค.ศ. ๑๘๙๐-๑๙๓๕) และในที่สุดได้วิวัฒนาการเป็นวิธีปลูกข้าวแบบปักด� ำ (ระหว่าง ค.ศ. ๑๙๓๕- ๑๙๗๐) แฮงส์แสดงให้เห็นว่า วิวัฒนาการของการท� ำเกษตรกรรมที่บางชันนั้น ด้านหนึ่งเป็นการตอบสนอง ต่อสถานการณ์ทั้งจากภายในและภายนอกชุมชน ภายในชุมชนคือการเพิ่มขึ้นของประชากร ภายนอกชุมชน คือการขุดคลองเพื่อส่งเสริมการปลูกข้าวเพื่อตอบสนองการขยายตัวของการค้าข้าวซึ่งได้รับแรงกระตุ้น มาจากการท� ำสนธิสัญญาเบาว์ริงกับสหราชอาณาจักร (พ.ศ. ๒๓๙๘) แต่อีกด้านหนึ่ง การเปลี่ยนแปลง รูปแบบการท� ำเกษตรกรรมได้ท� ำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในความสัมพันธ์ระหว่างการจัดองค์กรทางสังคม กับมิติทางเกษตรกรรมของชุมชนด้วย (Hanks, 1972) (๓) การเปลี่ยนแปลงแบบปฏิวัติ (revolution) เป็นการเปลี่ยนแปลงที่เทคโนโลยีมีบทบาท ส� ำคัญการเปลี่ยนแปลงแบบปฏิวัติที่รู้จักกันดีคือ การปฏิวัติเขียว (green revolution) ซึ่งเริ่มขึ้นเนื่องจาก มีความต้องการอาหารเพื่อเลี้ยงประชากรโลกที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วตั้งแต่หลังสงครามโลกครั้งที่ ๒ การปฏิวัติเขียวเกิดขึ้นจากการน� ำเอาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีมาใช้เพื่อปรับปรุงเกษตรกรรม ด้านหนึ่ง เป็นการปฏิวัติสายพันธุ์พืชและสัตว์ที่ใช้เป็นอาหาร อีกด้านหนึ่งเป็นการปฏิวัติทางเทคโนโลยีเพื่อช่วยให้การ เกษตรได้ผลผลิตมากขึ้น เมื่อประสบความส� ำเร็จแล้วก็ถ่ายทอดความรู้และเทคโนโลยีใหม่ให้แก่เกษตรกร อย่างไรก็ตาม กว่าการปฏิวัติเขียวจะประสบความส� ำเร็จ และกว่าประเทศก� ำลังพัฒนาส่วนใหญ่ รวมทั้งไทย จะเริ่มได้รับอานิสงส์จากการปฏิวัตินี้ เวลาก็ผ่านมาจนถึงทศวรรษ ๑๙๖๐ ปัจจุบันการปฏิวัติเขียวได้แพร่ กระจายไปเกือบทั่วทุกมุมโลกแล้ว และก� ำลังเข้าสู่ยุคหลังการปฏิวัติเขียวที่การใช้เทคโนโลยีไม่ได้เพิ่มผลผลิต แต่เพียงอย่างเดียว แต่ยังก่อให้เกิดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมด้วย
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=