วารสารปี-40-ฉบับที่-3-resize

113 รองศาสตราจารย์ ดร.ชาย โพธิ สิ ตา วารสารราชบัณฑิตยสภา ปีที่ ๔๐ ฉบับที่ ๓ ก.ค.-ก.ย. ๒๕๕๘ ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทยมีรายงานการศึกษาที่แสดงให้เห็นอีก รูปแบบหนึ่งของการท� ำเกษตรกรรมอย่างเข้มข้นโดยไม่เปลี่ยนรูปแบบของเกษตรกรรมในสาระส� ำคัญ ตั้งแต่อดีตมาจนกระทั่งเมื่อไม่นานมานี้ ครัวเรือนชาวนาในภาคตะวันออกเฉียงเหนือของไทยมีระบบการ ท� ำเกษตรกรรมที่ซับซ้อน ชาวนาไม่เพียงแต่ปลูกพืชหลายชนิดในเวลาเดียวกันเท่านั้น แต่ยังใช้หลายวิธีใน การเพาะปลูกทั้งหมดเป็นการปรับตัวให้เหมาะกับสภาพที่หลากหลายทางกายภาพ (เช่น นาลุ่ม นาดอน ดินทาม ดินปนทราย ฯลฯ) และความไม่แน่นอนของปริมาณน�้ ำฝน ในบางพื้นที่วิธีการที่ชาวนาใช้อาจต่างกันไป ในแต่ละปี แต่ในภาพรวมแล้วระบบดังกล่าวนี้เป็นอยู่อย่างนั้นมาช้านานโดยไม่มีการเปลี่ยนแปลง (Grandstaff, 1988) การท� ำเกษตรกรรมแบบเข้มข้นและซับซ้อนยังมีอยู่ในปัจจุบัน ตัวอย่างที่ชัดเจนจะเห็นได้ เช่น การท� ำเกษตรแบบผสมผสาน ซึ่งเป็นเกษตรที่มุ่งผลิตเพื่อกินเพื่อใช้ในครัวเรือนเป็นหลัก ถ้ามีผลผลิต ส่วนเกินจึงขาย วิธีการหลัก ๆ ที่ใช้ในเกษตรแบบผสมผสานไม่มีอะไรใหม่หรือเปลี่ยนแปลงไปในสาระ ส� ำคัญ ครัวเรือนเกษตรกรจะท� ำหลายอย่างในเวลาเดียวกัน ทั้งปลูกพืชและเลี้ยงสัตว์ โดยให้ความส� ำคัญแก่ พืชและสัตว์ที่ใช้เป็นอาหารในครัวเรือนเป็นเบื้องต้น นอกจากนี้ยังพิถีพิถันในการจัดการไร่นาและใช้ที่ดิน ให้เต็มศักยภาพ เป้าหมายหลักของเกษตรแบบผสมผสานคือความมั่นคงทางอาหารในครัวเรือนมากกว่า การมุ่งผลิตเพื่อขาย ครัวเรือนเกษตรกรผลิตสิ่งที่ตัวเองกิน และกินสิ่งที่ตัวเองผลิตเป็นหลัก (๒) การเปลี่ยนแปลงแบบวิวัฒนาการ (evolution) นี่เป็นการเปลี่ยนแปลงในความหมาย ที่เข้าใจกันทั่วไป แต่การเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นช้า ๆ แบบค่อยเป็นค่อยไป จากวิธีการท� ำแบบหนึ่งไปสู่ อีกแบบหนึ่งที่ต่างออกไป เป็นวิวัฒนาการที่ควบคู่ไปกับการเปลี่ยนแปลงด้านอื่นของสังคม เช่น ด้านจ� ำนวนประชากรและการคิดค้นทดลองนวัตกรรมใหม่ ๆ เป็นการเปลี่ยนแปลงเมื่อมีเงื่อนไขอื่น ๆ เพียงพอแล้ว เช่น มีแรงกดดันจากภายในสังคมให้ต้องหาวิธีผลิตอาหารให้เพียงพอกับจ� ำนวนประชากร ที่เพิ่มขึ้นหรือเมื่อมีการสร้างนวัตกรรมใหม่ขึ้น เอสเตอร์ โบเซรัป (Ester Boserup, 1910-1999) นักเศรษฐศาสตร์เกษตรชาวเดนมาร์ก ชี้ให้เห็นว่า เงื่อนไขส� ำคัญของการเปลี่ยนแปลงเกษตรกรรมตลอดเวลาอันยาวนานในวิวัฒนาการของ สังคมมนุษย์ คือการที่มีประชากรเพิ่มมากขึ้นจนวิธีการท� ำเกษตรกรรมที่ใช้อยู่เดิมไม่สามารถผลิตอาหารได้ เพียงพอกับความต้องการบริโภค (Boserup, 1965) การเพิ่มประชากรจึงเป็นทั้งแรงกดดันและเป็นเงื่อนไข ให้มนุษย์หาทางท� ำให้ผลผลิตอาหารเพิ่มขึ้นให้ได้ ไม่ว่าจะด้วยการท� ำการผลิตอย่างเข้มข้นมากขึ้นกว่าเดิม (intensification) หรือด้วยการใช้เทคโนโลยีที่ได้มาจากการประดิษฐ์คิดค้นใหม่ก็ตาม โบเซรัปอธิบายการเปลี่ยนแปลงเกษตรกรรมในลักษณะของวิวัฒนาการเชิงประวัติศาสตร์ โดยชี้ให้เห็นว่า ในประวัติศาสตร์อันยาวนานของเกษตรกรรมนั้น การเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นเพราะมีแรงกดดัน

RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=