วารสารปี-40-ฉบับที่-3-resize
พลวั ตครั วเรื อน การขยายตั วของเศรษฐกิ จทุนนิ ยม และการเปลี่ ยนแปลงเกษตรกรรมในชนบทไทย 112 The Journal of the Royal Society of Thailand Vol. 40 No. 3 Jul-Sep 2015 ท� ำเกษตรรูปแบบเดิมด้วยวิธีการเดิม แต่ท� ำให้เข้มข้นและมีความซับซ้อนในกระบวนการท� ำงานมากขึ้น ทั้งในด้านการใช้ที่ดิน การเตรียมดิน แรงงาน และพืชที่ปลูก เพื่อให้ได้ผลผลิตมากขึ้น การใช้ที่ดินอย่าง เข้มข้นคือการเพาะปลูกพืชต่อเนื่องในที่ดินผืนเดียวกัน โดยไม่ปล่อยให้ที่ดินว่างอยู่นาน เป็นการใช้ที่ดินให้ เกิดประโยชน์สูงสุดและเต็มศักยภาพ เช่น เมื่อเก็บเกี่ยวพืชชนิดหนึ่งแล้ว ก็ปลูกพืชอีกชนิดหนึ่งต่อเนื่องกันไป หรือปลูกพืชชนิดหนึ่งแซมพืชอีกชนิดหนึ่ง เพื่อใช้ที่ว่างให้เต็มที่ อย่างไรก็ตาม เกษตรกรจะท� ำเช่นนั้นได้ ก็ต่อเมื่อสิ่งแวดล้อมอ� ำนวย เช่น มีน�้ ำเพื่อการเกษตรเพียงพอ ส่วนการลงแรงอย่างเข้มข้นหมายถึง การท� ำการเพาะปลูกอย่างพิถีพิถันในทุกขั้นตอน และลงแรงมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นในการเตรียมดิน การจัดการน�้ ำ ใส่ปุ๋ย หรือก� ำจัดวัชพืช ฯลฯ เพื่อให้ได้ผลผลิตมากขึ้น การเปลี่ยนแปลงแบบนี้มักจะพบ ในสังคมเกษตรกรรมแบบดั้งเดิมที่เทคโนโลยีทางการเกษตรยังไม่ก้าวหน้า แต่มีสภาพแวดล้อมที่เอื้ออ� ำนวย ภายใต้เงื่อนไขหรือความจ� ำเป็นบางอย่าง เช่น จ� ำเป็นต้องมีผลผลิตมากขึ้นเพื่อให้เพียงพอกับความต้องการ บริโภคในครัวเรือน คลิฟฟอร์ด เกียรตซ์ (Clifford Geertz, 1926-2006) นักมานุษยวิทยาชาวอเมริกัน เป็นผู้เปิดเผย รูปแบบการท� ำเกษตรกรรมแบบนี้ จากการศึกษาชาวนาในแถบที่ราบของเกาะชวา ประเทศอินโดนีเซีย สมัย ที่ยังเป็นอาณานิคมของดัตช์และหลังจากนั้น (Geertz, 1963) เกียรตซ์พบว่าภายใต้ระบบการควบคุมและ การบังคับเอาผลผลิตส่วนเกินเพิ่มขึ้นจากเจ้าอาณานิคม ชาวนาในชวาสมัยนั้นยังคงท� ำการเกษตรแบบเดิม ด้วยวิธีเดิม แต่ท� ำให้เข้มข้นและพิถีพิถันมากขึ้น ด้วยการลงแรงมากขึ้น (labor intensification) ในทุกขั้นตอนของกิจกรรม และใช้ที่ดินอย่างเต็มที่ ท� ำให้การเพาะปลูกมีความละเอียดซับซ้อนภายใน (internal elaboration) โดยไม่มีการเปลี่ยนแปลงรูปแบบของเกษตรกรรมในสาระส� ำคัญ เกียรตซ์ชี้ให้ เห็นว่า การท� ำเกษตรกรรมอย่างเข้มข้นเช่นนี้เป็นกลยุทธ์ที่ชาวนาในชวาสมัยนั้นใช้เพื่อรับมือกับระบบ การควบคุมและการบังคับเก็บผลผลิตส่วนเกินโดยรัฐเจ้าอาณานิคม และวิธีนี้เป็นไปได้เพราะมีเงื่อนไข ทางสังคมและสิ่งแวดล้อมทางธรรมชาติที่เอื้ออ� ำนวย การท� ำเกษตรกรรมแบบเข้มข้นไม่ได้จ� ำกัดอยู่เฉพาะในหมู่ชาวนาในชวาดังที่รายงานในการ ศึกษาของ คลิฟฟอร์ด เกียรตซ์ ข้างต้น การศึกษาชาวนารัสเซียในช่วงต้นคริสต์ศตวรรษที่ ๒๐ ก็พบพฤติกรรม การท� ำเกษตรกรรมคล้ายกัน กล่าวคือชาวนาในครัวเรือนที่มีอัตราส่วนผู้บริโภคต่อผู้ผลิตสูง (คือมีสมาชิกที่ไม่ ได้ท� ำการผลิตหลายคน แต่แรงงานที่ท� ำการผลิตมีน้อยคน) แรงงานในครัวเรือนจะท� ำงานหนักขึ้น คือลงแรง ในการผลิตสูงกว่าชาวนาในครัวเรือนที่มีอัตราส่วนผู้บริโภคต่อผู้ผลิตต�่ ำ ทั้งนี้ก็เพื่อให้ได้ผลผลิตเพียงพอ ที่จะเลี้ยงทุกคนในครัวเรือน (Chayanov, 1966) สภาพเช่นนี้ ถ้ากล่าวในทัศนะของคลิฟฟอร์ด เกียรตซ์ ก็คือการลงแรงอย่างเข้มข้น (labor intensification) ในทุกขั้นตอนของการท� ำเกษตรกรรม
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=