วารสารปี-40-ฉบับที่-3-resize
111 รองศาสตราจารย์ ดร.ชาย โพธิ สิ ตา วารสารราชบัณฑิตยสภา ปีที่ ๔๐ ฉบับที่ ๓ ก.ค.-ก.ย. ๒๕๕๘ เพื่อแสดงให้เห็นว่าพลวัตครัวเรือนและการขยายตัวของระบบเศรษฐกิจทุนนิยมเข้าสู่ชนบท เอื้อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงเกษตรกรรมอย่างไร ผู้เขียนจะใช้ข้อมูลทุติยภูมิจากหลายแหล่งมาวิเคราะห์ เท่าที่สามารถจะท� ำได้ อย่างไรก็ตาม บทความนี้ไม่ได้มุ่งที่จะตอบค� ำถามว่า พลวัตครัวเรือนและการขยาย ตัวของระบบเศรษฐกิจทุนนิยมเป็นปัจจัยที่ก� ำหนด (determinants) การเปลี่ยนแปลงเกษตรกรรมหรือไม่ เนื่องจากการวิเคราะห์เพื่อจะตอบค� ำถามเช่นนั้นต้องอาศัยข้อมูลที่เกี่ยวข้องอีกจ� ำนวนมากที่ยังไม่มีการ รวบรวมไว้อย่างเพียงพอ จุดประสงค์ในที่นี้จึงเพียงแต่ต้องการแสดงให้เห็นว่า ปัจจัยทั้งสอง คือพลวัต ครัวเรือนและการขยายตัวของระบบเศรษฐกิจทุนนิยมเอื้อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงเกษตรกรรมได้อย่างไร ส่วนการพิสูจน์ว่าปัจจัยทั้งสองเป็นตัวก� ำหนดการเปลี่ยนแปลงเกษตรกรรมในชนบทไทยหรือไม่ เป็นประเด็นที่ไม่อาจตอบได้ด้วยข้อมูลที่มีอยู่จ� ำกัดในขณะนี้ การเปลี่ยนแปลงเกษตรกรรมในที่นี้ หมายรวมถึงการเปลี่ยนแปลงทั้งในด้านโครงสร้าง รูปแบบ วิธีการ และเป้าหมายของการท� ำเกษตรกรรมในทุกระดับ เช่น เปลี่ยนจากการผลิตเพื่อบริโภคเป็นหลัก ไปสู่การผลิตเพื่อขายมากขึ้น หรือเปลี่ยนจากการใช้แรงงานคนเป็นหลักสู่การใช้เครื่องจักร เทคโนโลยี และทุนมากขึ้น เป็นต้น การน� ำเสนอต่อไปนี้เริ่มด้วยการส� ำรวจดูข้อค้นพบส� ำคัญจากการศึกษาที่นักสังคมศาสตร์หลาย ท่านท� ำในอดีตเกี่ยวกับแนวคิดในเรื่องการเปลี่ยนแปลงเกษตรกรรม เพื่อเป็นภูมิหลังส� ำหรับการวิเคราะห์ หลังจากนั้นจะกล่าวถึงพลวัตครัวเรือนและการขยายตัวเข้าสู่สังคมชนบทของระบบเศรษฐกิจทุนนิยม สมัยใหม่ ว่ามีส่วนเกื้อหนุนให้เกิดการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมด้านการเกษตรของครัวเรือนในสังคมชนบทไทย อย่างไร พร้อมกันนั้นก็จะแสดงให้เห็นว่ามีความเปลี่ยนแปลงในมิติที่ส� ำคัญอะไรบ้างในระบบการเกษตร บทความจะจบลงด้วยการมองไปในอนาคตว่า ภายใต้การเปลี่ยนแปลงอย่างที่เป็นอยู่นี้ครัวเรือนเกษตรกร ในชนบทของไทยจะเป็นอย่างไร ๒. แนวคิดเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงเกษตรกรรม แนวคิดที่อธิบายการเปลี่ยนแปลงเกษตรกรรมจากการศึกษาที่ผ่านมาอาจแบ่งออกเป็น ๒ กลุ่ม คือ กลุ่มที่มองการเปลี่ยนแปลงในภาพรวมหรือในระดับมหภาค กับกลุ่มที่มองการเปลี่ยนแปลงในระดับ จุลภาค โดยใช้แนวคิดเกษตรเชิงระบบ ซึ่งมีครัวเรือนเกษตรกรเป็นจุดเริ่มต้นของการเปลี่ยนแปลงที่ส� ำคัญ ๒.๑ แนวคิดการเปลี่ยนแปลงเกษตรกรรมระดับมหภาค : ในมุมมองของแนวคิดนี้การ เปลี่ยนแปลงเกษตรกรรมอาจเป็นอย่างใดอย่างหนึ่งต่อไปนี้ (๑) การท� ำเกษตรกรรมให้เข้มข้นขึ้นโดยไม่เปลี่ยนรูปแบบในสาระส� ำคัญ (involution) นี่ ไม่ใช่การเปลี่ยนแปลงเกษตรกรรมจากรูปแบบหนึ่งไปสู่อีกรูปแบบหนึ่ง อย่างที่เข้าใจกันทั่วไป แต่เป็นการ
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=