วารสารปี-40-ฉบับที่-3-resize

พลวั ตครั วเรื อน การขยายตั วของเศรษฐกิ จทุนนิ ยม และการเปลี่ ยนแปลงเกษตรกรรมในชนบทไทย 110 The Journal of the Royal Society of Thailand Vol. 40 No. 3 Jul-Sep 2015 และเป็น “ชุมทาง” หรือเป็นพื้นที่ทางวิชาการเกี่ยวกับสังคมชนบท ที่นักวิชาการและนักวิจัยหลากหลาย สาขามาพบปะแลกเปลี่ยนความรู้กัน ผ่านผลงานที่เสนอทั้งในรูปของบทความในวารสารหรือในสื่ออื่น ๆ รวมทั้งในการประชุมสัมมนาต่าง ๆ ด้วย กล่าวเฉพาะในแวดวงมานุษยวิทยา ในยุคแรก ๆ นักวิชาการส่วนใหญ่ไม่ได้สนใจสังคมชนบท แต่สนใจสังคมดั้งเดิมที่ยังล้าหลังหรือสังคมชนกลุ่มน้อย เช่น สังคมชนเผ่า (tribal society) เป็นหลัก นักมานุษยวิทยาเพิ่งเริ่มหันมาสนใจสังคมชนบทหรือสังคมชาวนาชาวไร่ (peasant society) ๑ ในราวต้น คริสต์ศตวรรษที่ ๒๐ การศึกษาที่จัดว่าเป็นงานรุ่นบุกเบิกในด้านนี้ คืองานของ รอเบิร์ต เรดฟีลด์ (Robert Redfield, 1897-1958) ซึ่งศึกษาชนบทในประเทศเม็กซิโกในช่วงทศวรรษ ๑๙๒๐ และเริ่มเผยแพร่ ผลการศึกษาตั้งแต่ ค.ศ. ๑๙๓๐ เป็นต้นมา (Redfield, 1930) หลังจากนั้น สังคมชาวนาชาวไร่ได้กลายเป็น พื้นที่ศึกษาที่ส� ำคัญอีกพื้นที่หนึ่งของนักมานุษยวิทยา ควบคู่กับการศึกษาสังคมชนกลุ่มน้อยรูปแบบต่าง ๆ การศึกษาทางมานุษยวิทยาเกี่ยวกับชนบทไทยเริ่มขึ้นอย่างจริงจังในช่วงหลังสงครามโลก ครั้งที่ ๒ เมื่อมหาวิทยาลัยคอร์แนล (Cornell) แห่งสหรัฐอเมริกาเริ่มโครงการ Cornell-Thailand Project ใน ค.ศ. ๑๙๔๗ ภายใต้การน� ำของลอริสตัน ชาร์ป (Lauriston Sharp, 1907-1993) ในทศวรรษ ต่อ ๆ มาจึงมีนักศึกษามานุษยวิทยาจากสหรัฐอเมริกา สหราชอาณาจักร ออสเตรเลีย และญี่ปุ่น รวมทั้ง นักมานุษยวิทยาไทยด้วย ท� ำการศึกษาชนบทไทยมากขึ้น แม้ว่าการศึกษาของนักมานุษยวิทยาเหล่านี้ จะมุ่งท� ำความเข้าใจสังคมและวัฒนธรรมของไทยผ่านมุมมองทางทฤษฎีต่าง ๆ แต่ส่วนส� ำคัญของการศึกษา เหล่านี้มักจะเกี่ยวกับมิติใดมิติหนึ่งของเกษตรกรรมด้วย ทั้งนี้เพราะเกษตรกรรมไม่เพียงแต่จะเป็นฐานชีวิต ทางด้านเศรษฐกิจที่ส� ำคัญของคนไทยส่วนใหญ่เท่านั้น แต่ยังเชื่อมโยงอย่างแนบแน่นอยู่กับวิถีชีวิตทางสังคม และวัฒนธรรมของคนในสังคมชนบทด้วย ที่ผ่านมา แม้ว่าการศึกษาเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงเกษตรกรรมในชนบทของไทยจะค่อนข้าง หลากหลาย ทั้งในทางเนื้อหาและระเบียบวิธี แต่การศึกษาที่อธิบายการเปลี่ยนแปลงนี้ในบริบทของ ครัวเรือนและระบบทุนนิยมยังมีจ� ำกัด บทความนี้ต้องการเสนอแนวคิดว่าปัจจัยด้านพลวัตครัวเรือนและ การขยายตัวของระบบเศรษฐกิจทุนนิยมเข้าสู่ชนบทมีส่วนส� ำคัญในการเกื้อหนุนให้เกิดการเปลี่ยนแปลง เกษตรกรรมในชนบทของไทย ๑ peasant ในค� ำว่า peasant society นี้หมายถึงชนชั้นที่มีวิถีชีวิตผูกพันอยู่กับการเพาะปลูก คือการท� ำนาท� ำไร่ ซึ่งอาจจะมีหรือไม่มีที่ดิน ของตนเองก็ได้ ในความหมายทั่วไป peasant คือชาวนาชาวไร่ขนาดเล็กที่ท� ำการเพาะปลูกเพื่อกินเพื่อใช้ในครัวเรือนเป็นหลัก ต่างจาก เกษตรกรรายใหญ่ที่ท� ำเพื่อการค้าขายหรือเป็นธุรกิจ (The American Heritage Dictionary of the English Language, 1969) เอกสาร ทางวิชาการบางชิ้นใช้ค� ำ peasant society ในความหมายคล้ายกับ agrarian society ซึ่งหมายถึงสังคมที่มีชีวิตเกี่ยวพันอยู่กับที่ดินและ การเพาะปลูก คนส่วนใหญ่ในสังคมประเภทนี้มักถูกมองว่ามีความเสมอภาคกัน อย่างน้อยก็ในวิถีการด� ำรงชีวิต

RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=