วารสารปี-40-ฉบับที่-3-resize
วารสารราชบัณฑิตยสภา ปีที่ ๔๐ ฉบับที่ ๓ ก.ค.-ก.ย. ๒๕๕๘ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ กับการส่งเสริมหัตถกรรมทอผ้าอีสาน ศาสตราจารย์กิตติคุณ ดร.ปิยนาถ บุนนาค ราชบัณฑิต ส� ำนักธรรมศาสตร์และการเมือง ราชบัณฑิตยสภา บทคัดย่อ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ได้ทรงฟื้นฟูและท� ำนุบ� ำรุงศิลปะการทอผ้า ของอีสานซึ่งเคยเลื่องชื่อมาแต่เดิม ให้กลับมารุ่งเรืองขึ้นอีกก่อนที่จะสูญหายไปจากชนบทของอีสาน พระราชกรณียกิจกอปรด้วย การทรงแนะน� ำให้มีการปรับปรุงคุณภาพของผ้าทอ การส่งเสริมด้าน ภูมิปัญญาท้องถิ่นโดยโปรดให้ชาวบ้านปรับใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่นในวิถีชีวิตของชาวอีสานเป็นการสร้าง ความผูกพันและความภาคภูมิใจในการประดิษฐ์ศิลปหัตถกรรมทอผ้ากับทั้งยังทรงส่งเสริมด้านการตลาด ตลอดจนการพระราชทานก� ำลังใจแก่ช่างฝีมือและสมาชิกของกลุ่มทอผ้าอย่างสม�่ ำเสมอด้วย ศิลปะ การทอผ้าจึงกลายเป็นอาชีพเสริมที่เพิ่มพูนรายได้ให้แก่ชาวอีสานผู้ประกอบอาชีพเกษตรกรรม ช่วยแก้ปัญหาการด� ำรงชีพของพวกเขาเหล่านั้น นับเป็นปัจจัยส� ำคัญที่ท� ำให้ชาวอีสานสามารถรักษาศิลปะ การทอผ้าอันน่าภาคภูมิใจไว้ได้ พระราชกรณียกิจของสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ในการท� ำนุบ� ำรุงศิลปหัตถกรรมทอผ้าอีสานมีลักษณะเป็นทั้งการอนุรักษ์และการพัฒนา อันส่งผลให้ศิลป หัตถกรรมทอผ้าสามารถด� ำรงอยู่ เป็นมรดกทางวัฒนธรรมของชาวอีสานและของประเทศชาติสืบต่อไป ค� ำส� ำคัญ : สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ, หัตถกรรมทอผ้าอีสาน ความน� ำ หัตถกรรมทอผ้าของภาคตะวันออกเฉียงเหนือหรือที่เรียกกันทั่วไปว่าภาคอีสานได้รับผลกระทบ อย่างมากเมื่อมีการประกาศใช้แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ ๑ (พ.ศ. ๒๕๐๔-๒๕๐๙) และแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมฯ ฉบับที่ ๒ (พ.ศ. ๒๕๑๐-๒๕๑๔) ซึ่งส่งเสริมให้เอกชนจัดตั้งโรงงาน อุตสาหกรรมทอผ้าขึ้นอย่างมากมาย โรงงานอุตสาหกรรมทอผ้าสามารถผลิตผ้าได้เป็นจ� ำนวนมาก และ มีราคาถูก คนทั่วไปสามารถซื้อหาได้ง่าย โดยไม่ต้องเสียเวลานั่งหลังขดหลังแข็งทอผ้ากว่าจะได้ผ้าทอแต่ละผืน นอกจากนี้ คนรุ่นหนุ่มสาวชาวอีสานจ� ำนวนไม่น้อย ได้เข้ามารับจ้างเป็นแรงงานในโรงงานอุตสาหกรรม
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=