วารสารปี-40-ฉบับที่-3-resize

103 รองศาสตราจารย์วุฒิ ชั ย มูลศิ ลป์ วารสารราชบัณฑิตยสภา ปีที่ ๔๐ ฉบับที่ ๓ ก.ค.-ก.ย. ๒๕๕๘ ถึงรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว มีการปรับปรุงบ้านเมืองทุกด้านและ กว้างขวางมากยิ่งขึ้น เช่น วางสายโทรเลข สร้างทางรถไฟ ตั้งสุขาภิบาล ปฏิรูปการปกครอง ทั้งในส่วนกลาง เป็นกระทรวง และมีหน้าที่ชัดเจน ไม่ซ�้ ำซ้อนกัน ปฏิรูปการปกครองส่วนภูมิภาคให้เมืองทั้งหมดขึ้นอยู่กับ กระทรวงมหาดไทยเพียงกระทรวงเดียว และมีการควบคุมอ� ำนาจโดยส่วนกลางในรูปมณฑลเทศาภิบาล เมือง (ในรัชกาลที่ ๖ เรียกเป็น จังหวัด) ยกเลิกการมีทาสและระบบไพร่ที่มีมาหลายร้อยปี จัดให้ลูกหลาน ราษฎรได้รับการศึกษาในโรงเรียนแบบใหม่ มีการลงโทษอย่างรุนแรงแก่ขุนนางที่ฉ้อราษฎร์บังหลวงและ กดขี่ข่มเหงราษฎร แนวทางใหม่ในการปกครองประเทศ คือ ดูโลกตะวันตกเป็นแบบอย่าง ซึ่งพระบาทสมเด็จ พระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงเริ่มให้มีขึ้นในบ้านเมือง และพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรง ขยายให้กว้างขวางและลุ่มลึกยิ่งขึ้น ท� ำให้บ้านเมืองเปลี่ยนแปลง เจริญรุ่งเรือง อีกทั้งสามารถรักษาเอกราช ของชาติไว้ได้อย่างน่าภาคภูมิใจ แม้แต่เหลียง ฉีเชา ผู้ช่วยของ คัง โหย่วเว่ยในการปฏิรูปร้อยวันของจีน (พ.ศ. ๒๔๔๑, ค.ศ. ๑๘๙๘) ยังได้กล่าวชื่นชมเมื่อ พ.ศ. ๒๔๓๙ ว่า “สยามตั้งอยู่ระหว่างพม่ากับอันนัม บางประดุจผ้าไหม แต่สยามก็ยังถูกปลุกเร้าให้ ด� ำเนินการ (ปฏิรูปประเทศ) และยืนหยัดอยู่ได้อย่างน่าภาคภูมิใจ” ๔๕ ส� ำหรับคนไทย พระราชกรณียกิจของทั้ง ๒ พระองค์ อยู่ในจิตส� ำนึกมิรู้เสื่อมคลาย จุดเปลี่ยนจากการไม่ไปจิ้มก้องจีน จึงมีความส� ำคัญยิ่งในประวัติศาสตร์ไทยสมัยใหม่ แต่เส้น ทางประวัติศาสตร์นั้นยอกย้อน มีจุดหักเหและเปลี่ยนแปลงได้ เมื่อคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ยึดอ� ำนาจในวันที่ ๒๒ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๕๗ สหรัฐอเมริกาและสหภาพยุโรปซึ่งสนับสนุนการปกครอง ระบอบประชาธิปไตย ได้ประกาศตัดสิทธิประโยชน์ทางการค้าที่ให้แก่ประเทศไทย ท� ำให้ไทยเสียผล ประโยชน์ทางการค้าเป็นการซ�้ ำเติมภาวะทางเศรษฐกิจของไทย ซึ่งคาดว่าจะเติบโตน้อยมาก หรือไม่ เติบโตเลย ในภาวะที่ไทยย�่ ำแย่ทางเศรษฐกิจนี้ จีนซึ่งเป็นมังกรที่อ่อนเรี่ยวแรงมานาน กลับมีก� ำลัง วังชาเป็นมังกรผงาดขึ้นมาใหม่ จากการใช้นโยบายเปิดประตูประเทศ เปิดเขตเศรษฐกิจพิเศษ และ ใช้ระบบเศรษฐกิจแบบทุนนิยมมาตั้งแต่ปลายทศวรรษ ๑๙๗๐ ส่วนระบบการปกครองเป็นสังคมนิยม ตามแบบจีน (Socialism with Chinese Characteristics) ซึ่งท� ำให้เศรษฐกิจจีนทะยานขึ้นตั้งแต่ทศวรรษ ๔๕ Ssu-yu Teng and Fairbank, John K. China’s Response to the West, A Documentary Survey 1839-1923 . p. 154 วุฒิชัย มูลศิลป์ แปล และเติมความในวงเล็บ

RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=