วารสารปี-40-ฉบับที่-3-resize
ไม่ไปจิ้ มก้อง : ไทยยุติ ความสั มพั นธ์กั บจี น สมั ยรั ชกาลที่ ๔ - รั ชกาลที่ ๕ 102 The Journal of the Royal Society of Thailand Vol. 40 No. 3 Jul-Sep 2015 ๒. เปิดตลาดการค้าที่หลากหลาย เดิมตลาดการค้ากับต่างชาติที่ส� ำคัญของไทยคือ จีน แต่การเปิด ความสัมพันธ์กับชาติตะวันตกอย่างกว้างขวาง ท� ำให้ตลาดการค้าของไทยมีมากขึ้น สินค้าส่งออกมีปริมาณ มากขึ้น ผลของการติดต่อค้าขายกับหลายชาติเห็นได้ในเวลาไม่นาน พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้า เจ้าอยู่หัวทรงกล่าวไว้ในราว พ.ศ. ๒๔๑๖ หรือ ๒๔๑๗ ว่า “ที่กรุงทุกวันนี้ ก็ไม่เหมือนกับแต่ก่อน (เมื่อ) บ้านเมืองยังไม่ได้เปิดการค้าขาย ค้าขายกันอยู่แต่กับเมืองจีน สินค้าออกก็น้อย มาบัดนี้เปิดทางค้าขายกับเมืองฝ่ายตะวันตก มีเรือไปมามาก สินค้าก็ออกมาก เงินเข้ามาในเมืองมาก บ้านเมืองจึ่งได้เจริญ มีเงินทอง บริบูรณ์ขึ้น คิดดูตั้งแต่พระบาทสมเดจพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เปิดสินค้าให้ออกต่าง ประเทศ บ้านเมืองก็รุ่งเรืองขึ้นได้เหนทันตา...” ๔๒ แน่นอนว่า ความเจริญรุ่งเรืองของบ้านเมืองดังกล่าวนั้น เป็นผลจากสินค้าขาออกชนิดหนึ่ง ที่ก� ำหนดไว้ในสนธิสัญญาเบาว์ริงเป็นต้นมา คือ ข้าว ซึ่งมีข้อก� ำหนดว่า ไทยอาจจะห้ามขายออกในกรณี ที่มีภัยธรรมชาติ ท� ำให้ปลูกข้าวได้น้อย แต่ข้าวก็ได้เป็นสินค้าออกที่ส� ำคัญอันดับหนึ่งของเมืองไทยเรื่อยมา ยกเว้นบางเวลา และมีการบุกเบิกที่ดินเพื่อเป็นที่นาจ� ำนวนมหาศาล จาก ๕.๘ ล้านไร่ ใน พ.ศ. ๒๓๙๓ เป็น ๑๑.๕ ล้านไร่ ใน พ.ศ. ๒๔๕๓ ๔๓ นอกจากข้าว ดีบุก และไม้สัก ก็เป็นสินค้าส่งออกที่ส� ำคัญด้วย ๔๔ โดยสินค้า ออกทั้งหลายเปลี่ยนจากตลาดเมืองจีนเป็นตลาดชาติตะวันตก โดยมีสิงคโปร์เป็นศูนย์รวมเพื่อการส่งต่อ ๓. เปิดแนวทางใหม่ในการปกครองประเทศ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงปรับปรุง ประเทศมากมายหลายด้าน เห็นได้จากประกาศต่าง ๆ ที่ทรงประกาศออกมาตลอดเวลาตั้งแต่ต้นรัชสมัย จวบจนสิ้นรัชกาล เป็นการเตรียมไพร่ฟ้า ขุนนาง พระบรมวงศานุวงศ์ ให้เข้ากันได้กับสิ่งใหม่ ๆ ที่จะเกิด ขึ้นจากการเปิดประเทศอย่างกว้างขวาง เช่น ราษฎรไม่ต้องตกใจกับการมีเรือรบต่างชาติเข้ามาและมีการ ยิงสลุต ราษฎรเข้าเฝ้าพระเจ้าอยู่หัวได้อย่างใกล้ชิด ราษฎรสามารถท� ำงานรับใช้ชาวต่างชาติได้ ขุนนาง ต้องสวมเสื้อเวลาเข้าเฝ้า และการเลือกผู้พิพากษาแทนต� ำแหน่งที่ว่างลง ชาวต่างชาติมีความใกล้ชิดกับ พระเจ้าแผ่นดิน มีการเรียนภาษาอังกฤษทั้งเจ้านายและขุนนาง บางคนมีโอกาสไปศึกษาต่อต่างประเทศ ในกรุงเทพฯ มีการตัดถนน ๔๒ ม.ร.ว.รุจยา อาภากร (บรรณาธิการ). พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวในความทรงจ� ำแห่งโลก . หน้า ๑๒ ความในวงเล็บเติมโดย ผู้เขียน หลักฐานนี้ไม่ปรากฏวันเดือนปี แต่สันนิษฐานได้ว่าอยู่ในราว พ.ศ. ๒๔๑๖ หรือ ๒๔๑๗ ๔๓ เจมส์ ซี. อินแกรม. การเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจในประเทศไทย . ชูศรี มณีพฤกษ์ และเฉลิมพจน์ เอี่ยมกมลา แปล. หน้า ๖๕–๖๘ ๔๔ เพิ่งอ้าง . หน้า ๑๔๒
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=